คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2533

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่จะถือ เอาข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญามาพิพากษาในคดีส่วนแพ่งได้ นั้น จะต้อง เป็นคดีที่มีมูลกรณีเดียว กันและเป็นคู่ความเดียว กัน ซึ่ง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์คู่ความในคดีส่วนแพ่งก็จะต้อง เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นด้วย จำเลยที่ 1 เคยถูก พนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดขับรถยนต์ โดย ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้ รับอันตรายสาหัสทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย และไม่หยุดรถขณะมีสัญญาณไฟแดง ตาม ป.อ. มาตรา 300390 พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 2243152157ศาลแขวงธนบุรี พิพากษา ยกฟ้อง คดีถึงที่สุดคดีสำหรับความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตาม กฎหมาย ส่วนข้อหาขับรถโดย ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้ รับอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 300390 โจทก์ไม่ใช่ผู้ได้รับบาดเจ็บก็ไม่ใช่ผู้เสียหายเมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีแพ่ง ดังนี้ ในการพิพากษา คดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องถือ ข้อเท็จจริงตาม ที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2526เวลาประมาณ 16 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2ได้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางเพื่อรับส่งคนโดยสารในทางการจ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความเร็วสูงแล่นฝ่าสัญญาณไฟสีแดงผ่านสี่แยกพุ่งเข้าชนรถยนต์โดยสารของกองทัพบกคันหมายเลขทะเบียน 5275 ซึ่งกำลังวิ่งผ่านสี่แยกจากช่องเดินรถซึ่งมีสัญญาณไฟสีเขียว ทำให้รถคันดังกล่าวเสียหลักวิ่งชนรถยนต์เก๋งของบุคคลอื่นคันแรกที่จอดรอในช่องเดินรถที่มีสัญญาณไฟสีแดงตรงข้างกับช่องเดินรถของจำเลยที่ 1 และรถคันอื่น ๆรวมทั้งรถยนต์เก๋งของโจทก์คันหมายเลขทะเบียน ก 4804 นนทบุรี ที่จอดต่อท้ายกันอยู่ต้องเลื่อนไถลไปทางด้านหลังปะทะกันเป็นทอด ๆเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายต้องเสียค่าซ่อมแซมและเสียค่าโดยสารรถแท็กซี่ไปทำงาน รวมเป็นเงิน 34,585 บาท ขอให้พิพากษาบังคับจำเลยร่วมกันใช้เงินจำนวน 34,585 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นลูกจ้าง และได้กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งคันหมายเลขทะเบียน ก 4804 นนทบุรี เหตุที่รถชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากความประมาทของสิบเอกอัมพรคลี่แก้ว ผู้ขับรถยนต์โดยสารของกองทัพบกที่ขับรถฝ่าสัญญาณไฟสีแดงด้วยความเร็วสูง เป็นเหตุให้รถของจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาในช่องทางที่มีสัญญาณไฟสีเขียวแล่นเข้าชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายเล็กน้อย ใช้เวลาซ่อมแซมไม่เกิน 7 วัน ค่าซ่อมแซมไม่เกิน 5,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดโดยขับรถยนต์โดยประมาทในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 24,500 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ถึงแก่กรรม นางอรฉลาดภัทรพักต์ ซึ่งเป็นภริยายื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงประการเดียวว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแขวงธนบุรีในข้อหาขับรถฝ่าสัญญาณไฟสีแดง เมื่อคดีดังกล่าวศาลแขวงธนบุรีพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุดแล้ว ในการพิพากษาคดีนี้ในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ขับรถฝ่าสัญญาณไฟสีแดง พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงได้ความว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ถูกฟ้องเป็นมูลละเมิดเรียกค่าเสียหายในคดีนี้นั้น จำเลยที่ 1 เคยถูกพนักงานอัยการ กรมอัยการ ฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย และไม่หยุดรถขณะมีสัญญาณไฟสีแดง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 22, 43, 152, 157 ศาลแขวงธนบุรีวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีเหตุสงสัยอยู่ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยไป พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว ตามสำนวนคดีอาญา หมายเลขแดงที่10213/2528 ของศาลแขวงธนบุรี ระหว่างพนักงานอัยการ กรมอัยการโจทก์ นายบุญจอง ฉัตรนากร จำเลย ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จะถือเอาข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญามาพิพากษาในคดีส่วนแพ่งได้นั้น จะต้องเป็นคดีที่มีมูลกรณีเดียวกัน และเป็นคู่ความเดียวกันซึ่งในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ คู่ความในคดีส่วนแพ่งก็จะต้องเป็นผู้เสียหายอยู่ในคดีนั้น ๆ ด้วย แต่ในคดีอาญาดังกล่าวที่มีข้อหาว่ากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ในคดีนี้ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 390 โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ใช่ผู้เสียหายตามข้อหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่ง ในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา…”
พิพากษายืน.

Share