คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2491

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในเรื่องทำหนังสือสัญญาจ้างรักษาโรค คู่ความนำพะยาน+สืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงผิด+จากหนังสือสัญญาได้ ไม่มีกฎหมายห้าม

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยป่วยเป็นโรคลมร้ายบวมทั้งตัว ฝีร้ายในคอไม่มีแรงมา ๖ – ๗ ปีแล้ว จำเลยได้ตกลงให้โจทก์เป็นแพทย์รักษาโรคของจำเลย โดยติดค่ายารักษารวมเป็นเงิน ๔๐๐๐ บาท แบ่งชำระ ๓ ครั้ง ครั้งแรกเสียค่ายาครึ่งหนึ่งก่อน ครั้งที่ ๒ เมื่อรักษาได้ ๑๒ วันแล้ว ๑๐๐๐ บาท ครั้งที่ ๓ เมื่อหายแล้วชำระอีก ๑๐๐๐ บาท
เงินค่ายาครั้งแรก ๒๐๐๐ บาท จำเลยชำระแล้ว แต่เมื่อโจทก์รักษาครบ ๑๒ วันแล้ว จำเลยขอผัดการชำระครั้งที่ ๒ ไว้ชำระพร้อมกับครั้งที่ ๓ บัดนี้โรคของจำเลยหายแล้ว จำเลยไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ๒๐๐๐ บาท กับดอกเบี้ย
จำเลยต่อสู้โจทก์จำเลยตกลงกันว่า โจทก์รักษาโรคของจำเลยหาย จำเลยจึงจะจ่ายเงินให้โจทก์ ๔๐๐๐ บาท โจทก์รับล่วงหน้า ๒๐๐๐ บาท ก่อนแล้ว โจทก์รักษาโรคจำเลยไม่หาย จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินอีก ๒๐๐๐ บาท
ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันว่า โจทก์รักษาจำเลยไม่หาย จะให้จำเลยจ่ายเงินตามฟ้องไม่ได้ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฎีกา ขอให้จำเลยใช้เงินตามฟ้องหรืออย่างน้อยใช้เงินงวดที่ ๒ จำนวน ๑๐๐๐ บาท ตามสัญญาเอกสารหมาย ๒
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน ๒๐๐๐ บาท โจทก์ฎีกาได้ฉะเพาะข้อกฏหมาย
ในข้อกฏหมายโจทก์ฎีกาว่า ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีว่า ได้ความจากนายชุบโปพะยานโจทก์ว่า โจทก์ตกลงด้วยว่า ถ้ารักษาไม่หายจะคืนเงินให้จำเลย ๖๐๐๐ บาท เท่ากับไม่เชื่อเอกสารหมาย ๒ ของโจทก์ เพราะถ้าฟังเอกสารหมาย ๒ แล้วจะฟังพะยานพะยานบุคคลมาแก้ไขเพื่อเติมเอกสารไม่ได้ และตามข้อเท็จจริงคดีฟังได้ว่า โจทก์จำเลยมีเอกสารสัญญากัน คือเอกสารหมาย ๒ ศาลอุทธรณ์จึงฟังข้อเท็จจริงตรงกันข้ามกับพะยานหลักฐานในสำนวน
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีเช่นนี้ไม่มีกฏหมายห้ามฟังพะยานบุคคล ในการที่ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงมานั้นมีพะยานหลักฐาน ในสำนวนสนับสนุน มิใช่วินิจฉัยข้อเท็จจริงตรงกันข้ามกับพะยานหลักฐาน จึงพิพากษายืน.

Share