คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพราะโจทก์มอบอำนาจให้ ก.ผู้ฟ้องคดีแทนเป็นผู้สาบานตัวโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและเมื่อศาลฎีกาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแล้วคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวจึงถึงที่สุดโจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลภาษีอากรอีกเพื่อขอให้กรรมการบริษัทสาบานตัวประกอบคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพื่อชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลอันเป็นการขอแก้ไขกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องที่ไม่ถูกต้องเสียใหม่ ย่อมไม่อาจทำได้เพราะไม่มีคำร้องโจทก์เหลืออยู่ให้ดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาเสียใหม่ได้และคำร้องดังกล่าวมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องและนัดไต่สวนโจทก์ที่ขอให้ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เข้าสาบานตัวแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นให้ยกคำร้องโจทก์ศาลจะต้องกำหนดเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระในเวลาอันสมควรจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไปทันทีหาชอบไม่

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของเจ้าพนักงาน ประเมิน เกี่ยวกับ ภาษีการค้า สำหรับ เดือน มกราคม 2530ถึง เดือน ธันวาคม 2531 ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่ จ่ายสำหรับ ปี พ.ศ. 2530 และ ปี พ.ศ. 2531 ภาษีเงินได้ นิติบุคคล สำหรับรอบ ระยะเวลา บัญชี ปี พ.ศ. 2530 และ ปี พ.ศ. 2531 ของ โจทก์และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ลงวันที่17 ตุลาคม 2533 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2534 พร้อม กับ ยื่น คำร้องขอฟ้อง คดี อย่าง คนอนาถา โดย มอบอำนาจ ให้ นาย การุณ เป็น ผู้ ฟ้อง คดี แทน และ นาย การุณ เป็น ผู้ สาบาน ตัว ตาม คำร้องขอ ฟ้องคดี อย่าง คนอนาถา ดังกล่าว
ศาลภาษีอากรกลาง มี คำสั่ง ว่า การ ฟ้องคดี อย่าง คนอนาถา ผู้ ฟ้องต้อง สาบาน ด้วย ตัวเอง เพราะ เป็น เรื่อง เฉพาะตัว จึง มอบ ให้ ผู้อื่นสาบาน แทน ไม่ได้ ยกคำร้อง ของ โจทก์ หาก โจทก์ ยัง ติดใจ ฟ้องคดี ต่อไปให้ นำ เงิน ค่าธรรมเนียม มา ชำระ ใน 15 วัน นับแต่ วัน ทราบ คำสั่ง
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร มี คำสั่ง ว่า ศาลภาษีอากรกลาง สั่ง ให้ยกคำร้อง เพราะ เหตุ โจทก์ มิได้ สาบาน ด้วย ตนเอง ใน การ ฟ้องคดี อย่างคนอนาถา โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ คัดค้าน ใน เรื่อง ดังกล่าว ถือได้ว่า คำสั่งของ ศาลภาษีอากรกลาง ชอบแล้ว จึง ให้ยก คำร้อง หาก โจทก์ ประสงค์ จะดำเนินคดี ต่อไป ให้ นำ เงิน ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ภายใน 15 วัน
วันที่ 28 ตุลาคม 2535 โจทก์ ยื่น คำร้อง ว่า โจทก์ ได้ ร้องขอ ฟ้องคดี อย่าง คนอนาถา โดย มอบอำนาจ ให้ นาย การุณ สาบาน ตัวแทน ศาลภาษีอากรกลาง มี คำสั่ง ยกคำร้อง โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง ศาลฎีกา มีคำสั่ง ยกคำร้อง หาก โจทก์ ประสงค์ จะ ดำเนินคดี ต่อไป ให้ นำ เงินค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ใน 15 วัน ดังนั้น เพื่อ ให้การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา เป็น ไป ตาม ระเบียบ โจทก์ จึง ขอให้ ศาล อนุญาต ให้ โจทก์ นำ กรรมการผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์ เข้า สาบาน ตัว ตาม คำร้องขอ ฟ้องคดีอย่าง คนอนาถา และ ไต่สวน คำร้องขอ ฟ้องคดี อย่าง คนอนาถา ของ โจทก์ต่อไป
ศาลภาษีอากรกลาง มี คำสั่ง รับคำ ร้อง นัด ไต่สวน
ต่อมา วันที่ 14 ธันวาคม 2536 ศาลภาษีอากรกลาง มี คำสั่ง ว่าเนื่องจาก ศาลฎีกา มี คำสั่ง ว่า หาก โจทก์ ประสงค์ จะ ดำเนินคดี ต่อไป ให้นำ เงิน ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ทราบ คำสั่งโจทก์ ทราบ คำสั่ง เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2535 โจทก์ ต้อง นำ ค่าธรรมเนียมมา ชำระ ตาม คำสั่งศาล ฎีกา ภายใน กำหนด แต่ โจทก์ กลับ ยื่น คำร้อง ดังกล่าวขอ นำ กรรมการ โจทก์ เข้า สาบาน ตัว ตาม คำร้องขอ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถาซึ่ง ศาลฎีกา ได้ มี คำสั่ง (ยก ) ไป แล้ว อีก การ ที่ ศาล ได้ มี คำสั่ง รับคำร้อง และ นัด ไต่สวน อนาถา เมื่อ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2535 จึง เป็น การสั่ง ไป โดย ผิดหลง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ เพิกถอน คำสั่ง ดังกล่าว เสีย ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลภาษีอากร และ วิธีพิจารณา คดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบ กับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ให้ยก คำร้องของโจทก์ ฉบับ ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 เสียเนื่องจาก โจทก์ มิได้ นำ เงิน ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ภายใน กำหนดตาม คำสั่งศาล ฎีกา จึง ไม่รับฟ้อง โจทก์ ให้ จำหน่ายคดี จาก สารบบความ
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า คำร้องของ โจทก์ ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 นั้น โจทก์ เพียงแต่ ขอ ต่อ ศาล ให้ อนุญาตโจทก์ นำ กรรมการ บริษัท ของ โจทก์ เข้า สาบาน ตัว ให้ คำ ชี้แจง ว่า โจทก์ ไม่มีทรัพย์สิน พอ จะ เสีย ค่าธรรมเนียมศาล ประกอบ คำร้องขอ ฟ้องคดี อย่างคนอนาถา ของ โจทก์ ฉบับ ลงวันที่ 13 กันยายน 2534 เท่านั้น มิได้ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ พิจารณา คำขอ นั้น ใหม่ เพื่อ อนุญาต ให้ โจทก์ นำพยานหลักฐาน มา แสดง เพิ่มเติม ว่า โจทก์ เป็น คน ยากจน ตาม บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ แต่อย่างใดเมื่อ ศาลภาษีอากรกลาง มี คำสั่ง ยกคำร้อง ของ โจทก์ ฉบับ ลงวันที่13 กันยายน 2534 และ ศาลฎีกา มี คำสั่ง ให้ยก คำร้องอุทธรณ์ คำสั่งของ โจทก์ แล้ว คำสั่ง ดังกล่าว จึง ถึงที่สุด โจทก์ จะ ให้ กรรมการบริษัท โจทก์ สาบาน ตัว ประกอบ คำร้อง ดังกล่าว อีก อันเป็น การ ขอแก้ไขกระบวนพิจารณา เกี่ยวกับ คำร้อง ที่ ไม่ถูกต้อง นั้น เสีย ใหม่ ย่อม ไม่อาจจะ ทำได้ เพราะ ไม่มี คำร้อง โจทก์ ดังกล่าว เหลือ อยู่ สำหรับ ให้โจทก์ ดำเนินการ แก้ไข กระบวนพิจารณา เสีย ใหม่ ได้ ดังนั้น ที่ภาษีอากร กลาง เพิกถอน คำสั่ง ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2535 แล้ว มีคำสั่ง ใหม่ ให้ยก คำร้องของ โจทก์ ฉบับ ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 เสียจึง ชอบแล้ว
แต่ เนื่องจาก โจทก์ ยื่น คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535ก่อน ครบ กำหนด เวลา ที่ จะ ต้อง นำ เงิน ค่าขึ้นศาล มา ชำระ ตาม คำสั่งศาลฎีกา โดย โจทก์ เจตนา ที่ จะ ให้ ศาลภาษีอากรกลาง ไต่สวน พยานโจทก์และ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ โจทก์ ฟ้องคดี อย่าง คนอนาถา ได้ ต่อไป เมื่อ ศาลภาษีอากร กลาง สั่ง รับคำ ร้อง และ นัด ไต่สวน โจทก์ จึง หลงผิด ว่า ยัง ไม่ต้องชำระ ค่าขึ้นศาล ตาม คำสั่งศาล ฎีกา โดย รอ ฟัง ผล การ ไต่สวน และ คำสั่งศาลภาษีอากรกลาง ที่ จะ มี คำสั่ง ต่อไป โจทก์ จึง มิได้ ชำระ ค่าขึ้นศาลตาม กำหนด เวลา ที่ ศาลฎีกา กำหนด ไว้ เมื่อ ศาลภาษีอากรกลาง เพิกถอนคำสั่ง ดังกล่าว แล้ว มี คำสั่ง ใหม่ เป็น ให้ยก คำร้องของ โจทก์ ฉบับ ลงวันที่28 ตุลาคม 2535 จึง ต้อง กำหนด เวลา ให้ โจทก์ นำ ค่าขึ้นศาล มา ชำระใน เวลา อัน สมควร จะ อ้างว่า โจทก์ ไม่ชำระ ค่าขึ้นศาล ตาม คำสั่งศาลฎีกา จึง มี คำสั่ง ไม่รับ คำฟ้อง ของ โจทก์ ไป ทันที หา ชอบ ไม่
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำสั่งศาล ภาษีอากร กลาง ที่ สั่ง ไม่รับคำ ฟ้อง ของ โจทก์ นั้น เสีย หาก โจทก์ ประสงค์ จะ ดำเนินคดี ต่อไปให้ นำ เงิน ค่าขึ้นศาล มา ชำระ ภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ฟัง คำพิพากษา นี้

Share