แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย โอน บ้าน พร้อม ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ถ้า จำเลย ไม่สามารถ โอน ได้ ก็ ให้ ชดใช้ มูลค่า บ้าน และ ที่ดิน พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ศาลชั้นต้น ฟัง ว่า จำเลย ไม่สามารถ โอน บ้าน พร้อม ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ได้ จึง พิพากษา ตาม คำขอ ของ โจทก์ ให้ จำเลย ชดใช้ มูลค่า บ้าน พร้อม ที่ดิน เป็น เงิน 300,000 บาท ดังนี้ สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ ได้รับ ชำระหนี้ เป็น เงิน จึง เกิดขึ้น เมื่อ ศาล พิพากษา และ มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน พิพากษา เป็นต้น ไป จำเลย ได้ นำ เงิน มา วางศาล เพื่อ ให้ โจทก์ รับ ไป ก่อน ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา แต่ ตาม คำแถลง ขอ วางเงิน ของ จำเลย มี ใจความ ว่า จำเลย นำ เงิน จำนวน 300,000 บาท มา วางศาล เพื่อ ให้ โจทก์ รับ ไป ทั้งนี้ เพื่อ ให้ กรณี พิพาท ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย สิ้นสุด ลง โดย ไม่เป็น การ ยุ่งยาก เสีย เวลา ของ ศาล ดังนี้ เป็น การ ที่ จำเลย วางเงิน ต่อ ศาล โดย ไม่ยอม รับผิด ย่อม ไม่เป็นเหตุ ให้ ระงับ การ เสีย ดอกเบี้ย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 136 วรรคสอง จำเลย หมด ภาระ เสีย ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ เมื่อ โจทก์ รับ เงิน ที่ วาง ไป จาก ศาล
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวัน ให้ประชาชนตัดชิ้นส่วนในหนังสือพิมพ์พร้อมลงชื่อและที่อยู่ไปให้จำเลยเพื่อจับชิ้นส่วนรางวัล โจทก์ส่งชิ้นส่วนไปร่วมชิงรางวัลจำเลยจับชิ้นส่วนรางวัลปรากฎว่าโจทก์ได้รับรางวัลที่ 2 มีสิทธิได้รับบ้านและที่ดินของบริษัทยูนิเวสท์พรอพเพอร์ตี้ จำกัดและบริษัทยูนิเวสท์จำกัด มูลค่า 300,000 บาท แต่บริษัทดังกล่าวไม่สามารถส่งมอบบ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามที่ประกาศ แต่เสนอให้โจทก์รับบ้านและที่ดินอื่นแทนโจทก์ไม่ยอมเพราะไม่ตรงกับโฆษณา ขอให้จำเลยโอนบ้านพร้อมที่ดินของบริษัทยูนิเวสท์พรอพเพอร์ตี้ จำกัด ตามโครงการที่โฆษณาไว้ในหนังสือพิมพ์ของจำเลยให้แก่โจทก์หากจำเลยไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคา 300,000 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปเป็นเวลา 3 เดือน เป็นเงิน 5,625 บาท และให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวในต้นเงิน 305,625 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่ยอมรับบ้านและที่ดิน กลับขอรับเงิน 300,000 บาท แทน เป็นการผิดข้อตกลงและฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการพนัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 300,000 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ในต้นเงิน 305,625 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยให้คำมั่นโดยลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ของจำเลยให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ของจำเลยตัดชิ้นส่วนในหนังสือพิมพ์ของจำเลยส่งไปยังจำเลยเพื่อจับสลากชิงรางวัลตามกติกา โดยกำหนดรางวัลไว้หลายประเภทผลของการจับสลากชิงรางวัลโจทก์ได้รางวัลที่ 2ซึ่งเป็นบ้านพร้อมที่ดินราคา 300,000 บาท แต่ปรากฎว่าจำเลยยังไม่มีบ้านพร้อมที่ดินราคา 300,000 บาท ที่จะให้โจทก์เป็นรางวัลตามคำมั่นที่โฆษณาไว้ จำเลยจึงโอนบ้านพร้อมที่ดินให้โจทก์ไม่ได้จำเลยต้องรับผิดชำระราคาบ้านพร้อมที่ดินเป็นเงิน 300,000 บาท ให้โจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้นำเงินจำนวน 300,000 บาทมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป และขอให้ศาลหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เป็นเงิน 15,000 บาท ตามกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะรับคืนจากศาลภายหลังทั้งนี้เพื่อให้กรณีพิพาทยุติลง และโจทก์ได้รับเงินจำนวน 300,000บาท ไปจากศาลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ปัญหาตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในจำนวนเงิน 300,000 บาท อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 19 มกราคม 2527 อันเป็นวันที่โจทก์ควรได้รับโอนบ้านพร้อมที่ดินจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยโอนบ้านพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์ แต่ถ้าจำเลยไม่สามารถโอนบ้านพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์ได้ก็ให้ชดใช้มูลค่าบ้านพร้อมที่ดินเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังว่า จำเลยไม่สามารถโอนบ้านพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์ได้ จึงได้พิพากษาตามคำขอของโจทก์อันดับรองลงมาคือให้จำเลยชดใช้มูลค่าบ้านพร้อมที่ดินเป็นเงิน300,000 บาท สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินจึงเกิดขึ้นเมื่อศาลพิพากษา และมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินจำนวนดังกล่าว นับแต่วันพิพากษาเป็นต้นไปปรากฎว่าจำเลยได้นำเงินมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไปก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่ตามคำแถลงขอวางเงินของจำเลยลงวันที่ 7 มีนาคม2528 จับใจความได้ว่า จำเลยนำเงินจำนวน 300,000 บาท มาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไปทั้งนี้เพื่อให้กรณีพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยสิ้นสุดลงโดยไม่เป็นการยุ่งยากเสียเวลาของศาล การวางเงินต่อศาลของจำเลยดังกล่าวศาลฎีกาเห็นว่า เป็นกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด ย่อมไม่เป็นรับผิด ย่อมไม่เป็นเหตุให้ระงับการเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 136 วรรคสองจำเลยหมดภาระเสียดอกเบี้ยให้โจทก์เมื่อโจทก์รับเงินจำนวนดังกล่าวไปจากศาล คือเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2528 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามิให้จำเลยต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยทั้งหมดเสียทีเดียวนั้น ยังไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา”พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในจำนวนเงิน 300,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจนถึงวันที่ โจทก์รับเงินจำเลยไปจากศาล