แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่1ขับรถโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของโจทก์เท่านั้นส่วนการที่ พ. ลูกจ้างโจทก์กับ ม. ซึ่งเป็นภริยาของ พ. ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ของโจทก์ได้รับบาดเจ็บด้วยก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่1กระทำละเมิดต่อ พ. และ ม.โดยตรงการที่โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ พ. และ ม.ไปเป็นการจ่ายตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างรวมทั้งคู่สมรสไม่มีกฎหมายให้โจทก์มีสิทธิหรือรับช่วงสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปคืนได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2531 เวลา 17.30 นาฬิกาจำเลย ที่ 1 ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ขับ รถยนต์โดยสารประจำทาง สาย 39 (รังสิต -สนามหลวง ) หมายเลข ทะเบียน 11-3267กรุงเทพมหานคร ของ จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 1 ไม่ ตรวจตรา ห้ามล้อ มือและ ห้ามล้อ เท้า ของ รถ คัน ดังกล่าว ว่า อยู่ ใน สภาพ สมบูรณ์ และ ยัง ขับ รถด้วย ความ เร็ว สูง เมื่อ มา ถึง ที่เกิดเหตุ รถ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ได้ชน ท้ายรถ ยนต์คัน หนึ่ง ทำให้ รถยนต์ คัน นั้น กระดอน ไป ชน ท้ายรถ ยนต์คัน หมายเลข ทะเบียน 9 ฉ-2292 กรุงเทพมหานคร ของ โจทก์ อีก ต่อ หนึ่งทำให้ รถยนต์ ของ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย หลาย รายการ นอกจาก นี้โจทก์ ใน ฐานะ นายจ้าง ยัง ต้อง จ่าย ค่ารักษาพยาบาล ค่า เอ็กซเรย์ตาม ระเบียบ สวัสดิการ ของ โจทก์ แก่ นาย พรเทพ พรประภา กรรมการ ของ โจทก์ และ นาง มยุรี พรประภา ภริยา ของ นาย พรเทพ ซึ่ง โดยสาร ไป ใน รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ของ โจทก์ ได้รับ อันตรายแก่กาย รวม ค่าเสียหายเป็น เงิน ทั้งสิ้น 231,968 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ จำนวน 231,968 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ ผู้เสียหายเพราะ ไม่ได้ เป็น เจ้าของ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 9 ฉ-2292กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น ลูกจ้าง กระทำการ ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เหตุ รถยนต์ ชนกัน ไม่ได้ เกิดจาก ความประมาทของ จำเลย ที่ 1 รถยนต์ ของ โจทก์ ซ่อม ได้ ใน ราคา ไม่เกิน 30,000 บาทและ ใช้ เวลา ซ่อม เพียง 10 วัน รถยนต์ ของ โจทก์ ไม่ได้ เสื่อมสภาพโจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่ารักษาพยาบาล ค่า เอ็กซ์เรย์ ค่าเสียหายของ โจทก์ ไม่เกิน 50,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ เป็น เงิน 203,068 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ส่วน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ใน ประเด็น เรื่องค่าเสียหาย ที่ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 2 ชดใช้เงิน สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล นาย พรเทพและนางมยุรี จำนวน 8,900 บาท เพราะ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ รถ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ นาย พรเทพ และ นาง มยุรี ได้รับ อันตรายแก่กาย ก็ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1ทำละเมิด ต่อ นาย พรเทพและนางมยุรี โดยตรง มิได้ กระทำ ต่อ โจทก์ การ ที่ โจทก์ จ่าย ค่ารักษาพยาบาล ให้ แก่ นาย พรเทพและนางมยุรี ก็ เป็น การ จ่าย ตาม ระเบียบ ของ โจทก์ เอง โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง เอา เงินจำนวน ดังกล่าว จาก จำเลย ที่ 2 นั้น เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ รถโดยประมาท เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ ของ โจทก์ เสียหาย และ นาย พรเทพ ลูกจ้าง โจทก์ กับ นาง มยุรี ภริยา ซึ่ง โดยสาร ไป ใน รถยนต์ ของ โจทก์ ได้รับ อันตรายแก่กาย จน ต้อง เสีย ค่ารักษาพยาบาล ไป 8,900 บาท นั้นเป็น การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ เฉพาะ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ รถยนต์ ของ โจทก์เท่านั้น ส่วน การ ที่นาย พรเทพกับนางมยุรี ได้รับ อันตรายแก่กาย นั้น ก็ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ ละเมิด ต่อ นาย พรเทพและนางมยุรี โดยตรง มิได้ กระทำ ต่อ โจทก์ การ ที่ โจทก์ จ่าย ค่ารักษาพยาบาล ให้ แก่นาย พรเทพและนางมยุรี ไป 8,900 บาท ก็ เป็น การ จ่าย ตาม ระเบียบ เกี่ยวกับ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ของ โจทก์ ให้ แก่ ลูกจ้าง รวมทั้งคู่สมรส ของ ลูกจ้าง โจทก์ ไม่มี กฎหมาย ให้ โจทก์ ใน ฐานะ นายจ้าง มีสิทธิหรือ รับช่วงสิทธิ จาก ลูกจ้าง และ คู่สมรส ที่ จะ มา เรียก ค่ารักษาพยาบาลที่ จ่าย ไป คืน จาก ผู้กระทำ ละเมิด ต่อ ลูกจ้าง และ คู่สมรส ได้ ดังนั้นโจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เรียกเงิน ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 8,900 บาทที่ จ่าย ไป ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ เงิน ส่วน นี้ แก่ โจทก์ จึง ไม่ชอบ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ ฟังขึ้นแต่ เนื่องจาก ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมรับผิด ใน ค่าซ่อมรถยนต์ 161,068 บาท ค่า เสื่อมราคา 30,000 บาท และ ค่าเช่า รถยนต์คัน อื่น มา ใช้ ระหว่าง ซ่อม รถยนต์ โจทก์ 12,000 บาท รวมเป็น ค่าเสียหาย203,068 บาท เท่านั้น ไม่ได้ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมรับผิดใน เงิน ค่ารักษาพยาบาล 8,900 บาท ด้วย จึง ไม่อาจ หักเงิน ค่ารักษาพยาบาล 8,900 บาท จาก ยอด ค่าเสียหาย 203,068 บาท ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ ศาลฎีกา จึง เห็นพ้อง ด้วย กับ คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ใน ผล ”
พิพากษายืน