แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนระบุให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการจำเลยโดยมอบให้อธิบดีกรมโยธาธิการลงชื่อในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยได้กำหนดค่าทดแทนและให้โจทก์ไปรับค่าทดแทนจากจำเลยจึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยนั้นเองอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมโยธาธิการที่ได้ดำเนินการดังกล่าวถือว่ากระทำในฐานะผู้แทนของจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ชำระ ค่าทดแทน ใน การ ย้าย และ ติด ตั้งเครื่องจักร และ อุปกรณ์ ของ โรงน้ำแข็ง แก่ โจทก์ เพิ่มขึ้น อีก จำนวน22,611,053 บาท และ ค่าทดแทน สำหรับ บ่อ คอนกรีต ทำ น้ำแข็ง ฐานราก และพื้น คอนกรีต ของ โรงงาน ผลิต น้ำแข็ง ให้ แก่ โจทก์ เพิ่ม อีก จำนวน 267,537บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 10 ต่อ ปี นับแต่ วันที่พระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ฯลฯ พ.ศ. 2527 ใช้ บังคับ จน ถึงวันฟ้อง รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 392,387.60 บาท กับ ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 22,611,053 บาท และ จาก ต้นเงิน267,537 บาท นับแต่ วันฟ้อง จน ถึง วันที่ จำเลย ชำระ เงิน เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ ค่าทดแทน ใน การ ย้าย และ ติด ตั้งเครื่องจักร และ อุปกรณ์ ของ โรงงาน ผลิต น้ำแข็ง ทั้ง สาม โรง ของ โจทก์เพิ่มขึ้น อีก 5,269,428 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ10 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ที่ จะ เวนคืน ใน ท้องที่ อำเภอ บางกรวย จังหวัด นนทบุรี เขต ดุสิต เขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2527 ใช้ บังคับ (วันที่ 27ธันวาคม 2527) ถึง วันฟ้อง (วันที่ 29 สิงหาคม 2532) ซึ่ง โจทก์ขอ มา เป็น เวลา 4 ปี 8 เดือน เป็น เงิน 2,459,066 บาท รวมเป็น เงิน7,728,494 บาท คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยข้อ แรก ที่ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ จำเลย เป็น กรม ใน รัฐบาลสังกัด กระทรวงมหาดไทย ไม่ได้ เป็น เจ้าหน้าที่ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ตาม พระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืน ใน ท้องที่อำเภอ บางกรวย จังหวัด นนทบุรี และ เขต ดุสิต เขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2527 และ มิได้ เป็น ผู้กำหนด ค่าทดแทน สำหรับการ ย้าย และ ติด ตั้ง เครื่องจักร กับ อุปกรณ์ ภายใน โรงน้ำแข็ง ของ โจทก์นั้น เห็นว่า ตาม พระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืนใน ท้องที่ อำเภอ บางกรวย จังหวัด นนทบุรี และ เขต ดุสิต เขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2527 ตาม เอกสาร หมาย จ. 2มาตรา 4 ระบุ ว่า “ให้ อธิบดี กรมโยธาธิการ เป็น เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตาม พระราชกฤษฎีกา นี้ ” การ ดำเนินการ เพื่อ ให้ ได้ มาซึ่ง การ เวนคืน ที่ดิน ตาม พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว เป็น ส่วน หนึ่ง ของอำนาจ หน้าที่ ของ กรมโยธาธิการ จำเลย ใน การ ดำเนินการ โดย มอบอำนาจหน้าที่ ให้ แก่ อธิบดี กรมโยธาธิการ ลงชื่อ ใน ฐานะ เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่า จำเลย ได้ พิจารณา กำหนด ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ที่ ถูก เวนคืน คือ ค่าทดแทน การ ย้าย และ ติด ตั้งเครื่องจักร และ อุปกรณ์ ภายใน โรงน้ำแข็ง พิพาท พร้อม กับ ขอให้ โจทก์ไป ทำ บันทึก ตกลง ราคา ค่าทดแทน และ ทำ สัญญา รับ เงิน ค่าทดแทน กับ จำเลยจึง เป็น เจตนารมณ์ ของ กฎหมาย ที่ ให้ เป็น อำนาจ หน้าที่ ของ จำเลย นั้นเองอำนาจ หน้าที่ ของ อธิบดี กรมโยธาธิการ ที่ ได้ ดำเนินการ ดังกล่าวต้อง ถือว่า กระทำ ใน ฐานะ ผู้แทน ของ จำเลย ทั้ง โจทก์ ก็ ได้ อุทธรณ์เรื่อง ค่าทดแทน ต่อ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ตาม ขั้นตอน ของ กฎหมายตาม เอกสาร หมาย จ. 3 แล้ว โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้อง ”
พิพากษายืน