คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับ อ.เจ้ามรดก อ. มิได้จดทะเบียนสมรสกับ พ. ซึ่งเป็นมารดาของผู้ร้องผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายของ อ. ผู้ร้องนำสืบสมุดรายงานประจำตัวนักเรียนของผู้ร้องในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญซึ่งมีข้อความระบุว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ อ. กับ พ. กับมีข้อความที่ อ. ได้บันทึกลงในช่องความเห็นผู้ปกครองแล้วลงลงชื่อกำกับไว้ทั้ง อ. เคยพาผู้ร้องไปให้พระภิกษุเปลี่ยนชื่อให้นอกจากนี้ในใบมอบตัวสำหรับนักเรียนเข้าใหม่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญก็มีข้อความระบุว่า อ. เป็นบิดาของผู้ร้องและมีลายมือชื่อของ อ. ลงไว้ในฐานะผู้ปกครองของผู้ร้องถือได้ว่า อ. ได้รับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตรของตนแล้ว

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง นาง วิมลมาศ ปอประสิทธิ์ ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย อินทร์ ปอประสิทธิ์ ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง ได้ ยื่น คำร้อง ว่า นาย อินทร์ มี พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา 9 คน รวมทั้ง ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง นาย อินทร์ ไม่มี ภริยา และ บุตร ผู้ร้อง เป็น บุตร นอก กฎหมาย ที่นาย อินทร์ มิได้ รับรอง ผู้ร้อง จึง ไม่เป็น ผู้สืบสันดาน หรือ มี ส่วนได้เสีย ตาม กฎหมาย ที่ จะ เป็นผู้จัดการมรดก ของ นาย อินทร์ ขอให้ มี คำสั่ง ถอน ผู้ร้อง จาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก และ มี คำสั่ง ตั้ง ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง เป็น ผู้จัดการมรดกของ นาย อินทร์ แทน ผู้ร้อง
ผู้ร้อง ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้ร้อง เป็น บุตร ของ นาย อินทร์ กับ นาง ไพรินทร์ ปอประสิทธิ์หรือลิ้มแพร่พันธุ์ โดย มี พฤติการณ์ ที่ ถือได้ว่า เป็น บุตร นอก กฎหมาย ที่ บิดา รับรอง แล้ว จึง เป็นผู้สืบสันดาน เหมือน บุตร ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย มีสิทธิ รับมรดกส่วน ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง เป็น พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา เป็น ทายาท ใน ลำดับถัด ไป ไม่มี สิทธิ รับมรดก ของ นาย อินทร์ ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก คำร้องขอ งผู้คัดค้าน ทั้ง สอง
ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง เป็น พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา เดียว กับนาย อินทร์ ปอประสิทธิ์ เจ้ามรดก นาย อินทร์ มิได้ จดทะเบียนสมรส กับ นาง ไพรินทร์ ส่วน ผู้ร้อง เป็น บุตร นอก กฎหมาย ของ นาย อินทร์ คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย เพียง ว่า ผู้ร้อง เป็น บุตร นอก กฎหมาย ที่นาย อินทร์ บิดา ได้รับ รอง แล้ว หรือไม่ เห็นว่า ตาม ปัญหา ดังกล่าว ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง นำสืบ ว่า นาย อินทร์ ไม่เคย รับรอง ว่า ผู้ร้อง เป็น บุตร เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ ส่วน ข้อ ที่ อ้างว่า เมื่อ ครั้งที่ผู้คัดค้าน ที่ 2 กู้เงิน จาก ธนาคาร โดย นาย อินทร์ เป็น ผู้ค้ำประกัน นาย อินทร์ ก็ แจ้ง แก่ ธนาคาร ตาม เอกสาร หมาย ร.ค.24 ถึง ร.ค.26ว่า ตน เป็น โสด นั้น ก็ ได้ความ ว่า นาย อินทร์และนางไพรินทร์ มิได้ จดทะเบียนสมรส กัน ดังนั้น โดย นิตินัย จึง ต้อง ถือว่า นาย อินทร์ ยัง เป็น โสด อยู่ ส่วน ที่ ผู้ร้อง นำสืบ ว่า นาย อินทร์ ได้ อุปการะ เลี้ยงดู และ รับผิดชอบ ด้าน การ เรียน ของ ผู้ร้อง นั้น ผู้ร้อง ก็ มีสมุด รายงาน ประจำตัว นักเรียน ของ ผู้ร้อง ใน ชั้น มัธยม ศึกษา ตอนต้นสาย สามัญ ประจำปี การศึกษา 2523 ของ โรงเรียน สตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ซึ่ง มี ข้อความ ระบุ ว่า ผู้ร้อง เป็น บุตร ของ นาย อินทร์กับนางไพรินทร์ กับ มี ข้อความ ที่นาย อินทร์ ได้ บันทึก ลง ใน ช่อง ความเห็น ผู้ปกครอง แล้ว ลงชื่อ กำกับ ไว้ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ร.11 ส่วน ที่ ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อ ผู้ร้องเรียน จบ ชั้น มัธยม ศึกษา ปี ที่ 3 นาย อินทร์ ได้ พา ผู้ร้อง ไป ขอให้ พระครู ปลัด กิติวัฒน์ เจ้าอาวาส วัด คู้บอน ตั้ง ชื่อ ใหม่ ว่า “วิมลมาศ” ปรากฏ ตาม หนังสือสำคัญ การ เปลี่ยน ชื่อ เอกสาร หมาย ร.10 นั้น ความ ข้อ นี้ พระครู ปลัด กิติวัฒน์ ก็ มา เบิกความ ยืนยัน ว่า นาย อินทร์ เคย พา ผู้ร้อง มา ให้ พยาน เปลี่ยน ชื่อ ให้ เพียงแต่ อ้างว่า จะ มี ชื่อ “วิมลมาศ” ด้วย หรือไม่ พยาน ไม่ทราบ นอกจาก นี้ ใน ใบ มอบตัว สำหรับ นักเรียน เข้า ใหม่ ตาม เอกสาร หมาย ร.22 ที่นาย อินทร์ ได้ ทำ ไว้ ต่อ ผู้อำนวยการ โรงเรียน สตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เมื่อ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2524 เมื่อ มอบตัว ผู้ร้อง เข้า เป็น นักเรียน หนังสือดังกล่าว มี ข้อความ ระบุ ไว้ ชัดเจน ว่า นาย อินทร์ เป็น บิดา ของ ผู้ร้อง และ นาย อินทร์ ได้ ลงชื่อ ไว้ ใน ฐานะ ผู้ปกครอง ของ ผู้ร้อง เห็นว่า ผู้ร้อง มี ทั้ง พยานบุคคล และ พยานเอกสาร เข้าสืบ ประกอบ กัน จึง มีน้ำหนัก มั่นคง รับฟัง ได้ ตาม ที่ นำสืบ อีก ทั้ง ข้อเท็จจริง ต่าง ๆดังกล่าว ข้างต้น ถือได้ว่า นาย อินทร์ เจ้ามรดก ได้รับ รอง ว่า ผู้ร้อง เป็น บุตร ของ ตน แล้ว ผู้ร้อง จึง เป็น ทายาทโดยธรรม ลำดับ ที่ 1ใน มาตรา 1629 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ มีสิทธิ รับมรดกของ นาย อินทร์ ส่วน ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง เป็น ทายาทโดยธรรม ของ นาย อินทร์ ใน ลำดับ ที่ 3 ใน มาตรา เดียว กัน จึง ไม่มี สิทธิ รับมรดก และ มิใช่ เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ที่ จะ ร้อง ขอให้ ถอน ผู้ร้อง จาก การเป็น ผู้จัดการมรดก ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก คำร้องขอ งผู้คัดค้าน ทั้ง สอง ต้อง กัน มา ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share