แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้จำเลยที่2เป็นผู้ขอให้ทางราชการออกเลขที่บ้านให้โดยจำเลยที่2ลงชื่อเป็นเจ้าบ้านในหลักฐานทะเบียนราษฎร์ก็มิได้หมายความว่าจำเลยที่2ผู้ขอออกเลขที่บ้านและมีชื่อเป็นเจ้าบ้านจะมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังดังกล่าวเพราะหลักฐานดังกล่าวมิใช่หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่ต้องการทราบว่าในหมู่บ้านนั้นมีบ้านอยู่กี่หลังและมีคนอาศัยอยู่ในบ้านที่ขอออกเลขที่บ้านกี่คนเพื่อประโยชน์ในทางทะเบียนราษฎร์เท่านั้นเมื่อรูปคดีฟังได้ว่าบ้านพิพาทเป็นของเจ้ามรดกจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่บรรดาทายาททุกคน เจ้ามรดกถึงแก่ความตายในปี2528ทายาทของเจ้ามรดกตกลงกันว่าทายาทจะยังไม่แบ่งมรดกกันจนกว่าจะมีการเผาศพเจ้ามรดกเสียก่อนและได้มีการเผาศพเจ้ามรดกหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วประมาณ2ปีนอกจากนี้ยังปรากฎหลักฐานว่ามรดกของเจ้ามรดกยังอยู่ในระหว่างการแบ่งปันของบรรดาทายาทเมื่อมรดกยังแบ่งกันไม่เสร็จแม้ทายาทคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนจะเป็นผู้ครอบครองมรดกอยู่ก็ต้องถือว่าทายาทคนนั้นหรือเหล่านั้นครอบครองมรดกแทนบรรดาทายาทอื่นด้วยทุกคนแม้จะล่วงเลยเวลา1ปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายทายาทอื่นก็ชอบที่จะฟ้องขอแบ่งมรดกได้ข้อเท็จจริงในคดีนี้ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามครอบครองที่ดินและบ้านพิพาททั้งสองหลังอันเป็นมรดกแทนผู้ตายซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกด้วยคนหนึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่ง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย และ เป็นผู้จัดการมรดก ของ นาย สำราญ โหราเรือง ผู้ตาย ผู้ตาย และ จำเลย ทั้ง สาม เป็น บุตร ของ นาง ตุ้มทอง โหราเรือง เจ้ามรดก เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย แล้ว ผู้ตาย และ จำเลย ทั้ง สาม เป็น ทายาทโดยธรรมของ เจ้ามรดก ได้ มี การ แบ่ง มรดก ของ เจ้ามรดก บางส่วน ไป แล้วคงเหลือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 44 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง บ้าน เลขที่ 50/1และ บ้าน ไม้ ทรง ไทย 1 หลัง ซึ่ง ทายาทโดยธรรม ครอบครอง ร่วมกันและ ยัง ไม่ได้ ดำเนินการ แบ่งปัน ให้ แก่ ทายาทโดยธรรม เนื่องจากผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ก่อน ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน แบ่ง ที่ดิน โฉนดเลขที่ 44 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง บ้าน เลขที่ 50/1 และ บ้าน ไม้ ทรง ไทย1 หลัง ให้ แก่ โจทก์ หนึ่ง ใน สี่ ของ ทรัพย์ ดังกล่าว หาก ไม่สามารถ ตกลงแบ่ง กัน ได้ หรือ แบ่ง แล้ว จะ ทำให้ เกิด ความเสียหาย ก็ ขอให้ นำ ทรัพย์ดังกล่าว ออก ขาย โดย ประมูล ราคา กัน ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สามหรือ ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่ง ให้ โจทก์ หนึ่ง ใน สี่
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า ที่ดิน และ บ้าน ตาม ฟ้อง ไม่ใช่ มรดกของ เจ้ามรดก เพราะ เจ้ามรดก ยกให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 มาก ว่า 10 ปี แล้วจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน สร้าง บ้าน เลขที่ 50/1 และ ครอบครอง โดยความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ จน ถึง ปัจจุบันส่วน บ้าน ไม้ ทรง ไทย ตาม ฟ้อง เจ้ามรดก ยกให้ จำเลย ที่ 2 ก่อน เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ประมาณ 10 ปี แล้ว บ้าน หลัง นี้ เดิม ปลูก อยู่ ใน ที่ดินแปลง อื่น เมื่อ จำเลย ที่ 2 ได้รับ การ ยกให้ จึง รื้อ มา ปลูก ใน ที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ เพราะ ผู้ตาย ไม่ได้ ใช้ สิทธิ ฟ้อง ภายใน 1 ปีนับแต่ ทราบ ว่า เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ทั้ง มรดก ได้ แบ่ง กัน เสร็จเรียบร้อย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน แบ่งที่ดิน โฉนด เลขที่ 44 และ บ้าน ไม้ ทรง ไทย ดังกล่าว หาก ตกลง กัน ไม่ได้ ว่าจะ แบ่ง อย่างไร ให้ นำ ทรัพย์ ดังกล่าว ออก ขาย โดย ประมูล ราคา กัน ก่อน ระหว่างทายาท หาก ยัง ตกลง กัน ไม่ได้ อีก ก็ ให้ นำ ทรัพย์ ออก ขายทอดตลาด แบ่ง เงินให้ โจทก์ หนึ่ง ใน สี่ คำขอ อื่น ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน แบ่ง บ้านเลขที่ 50/1 ให้ แก่ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย สำราญ โหราเรือง ผู้ตาย หนึ่ง ใน สี่ ด้วย หาก ตกลง กัน ไม่ได้ ว่า จะ แบ่ง อย่างไร ให้ นำ ทรัพย์ดังกล่าว ออก ขาย โดย ประมูล ราคา กันเอง ระหว่าง ทายาท ถ้า ยังตกลง กัน ไม่ได้ อีก ให้ นำ ออก ขายทอดตลาด ได้ เงิน สุทธิ เท่าไร แบ่ง ให้โจทก์ หนึ่ง ใน สี่ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ประการ แรก คือ ทรัพย์พิพาท ได้ แก่ บ้าน 2 หลังกับ ที่ดิน 1 แปลง เป็น มรดก ของ เจ้ามรดก หรือไม่ แม้ ข้อเท็จจริงจะ ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ ไป ขอให้ ทางราชการ ออก เลขที่ บ้าน ให้ โดยจำเลย ที่ 2 ลงชื่อ เป็น เจ้า บ้าน ใน หลักฐาน ทะเบียนราษฎร์ ก็ มิได้หมายความ ว่า จำเลย ที่ 2 ผู้ขอ ออก เลขที่ บ้าน และ มี ชื่อ เป็น เจ้า บ้านจะ มี กรรมสิทธิ์ ใน บ้าน หลัง ดังกล่าว เพราะ หลักฐาน ดังกล่าว มิใช่หลักฐาน แสดง ความ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ แต่ เป็น เพียง หลักฐานของ ทางราชการ ที่ ต้องการ ทราบ ว่า ใน หมู่บ้าน นั้น มี บ้าน อยู่ กี่ หลังและ มี คน อาศัย อยู่ ใน บ้าน ที่ ขอ ออก เลขที่ บ้าน กี่ คน เพื่อ ประโยชน์ใน ทาง ทะเบียนราษฎร์ เท่านั้น รูปคดี จึง ฟังได้ ว่า บ้าน พิพาท เลขที่ 50/1เป็น มรดก ของ เจ้ามรดก ที่ ตกทอด แก่ บรรดา ทายาท ทุกคน คือ ผู้ตาย และจำเลย ทั้ง สาม
ส่วน ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ใน ประเด็น เรื่อง อายุความ ที่ จำเลยทั้ง สาม ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง แล้ว นั้น เห็นว่า จำเลย ทั้ง สาม นำสืบ รับ ว่าเมื่อ เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ใน ปี 2528 แล้ว บรรดา ทายาท ของเจ้ามรดก ตกลง กัน ว่า ทายาท จะ ยัง ไม่ แบ่ง มรดก ของ เจ้ามรดก กันจนกว่า จะ มี การ เผา ศพ เจ้ามรดก เสีย ก่อน และ ความ ปรากฎ ว่า มี การเผา ศพ เจ้ามรดก หลังจาก เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย แล้ว ประมาณ 2 ปีนอกจาก นี้ ยัง ปรากฎ หลักฐาน การ รับมรดก ที่ดิน จำนวน 5 แปลง ของ เจ้ามรดกตาม เอกสาร ตั้งแต่ หมาย จ. 3 ถึง จ. 12 ว่า ทายาท เพิ่ง จะ แบ่ง กันใน ปี 2530 และ เพิ่ง จะ แบ่งแยก โฉนด ที่ดิน ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลยทั้ง สาม เมื่อ ปี 2533 ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 และ จ. 6 ส่วน ที่ดินพิพาทอีก 1 แปลง กับ บ้าน พิพาท อีก 2 หลัง ยัง ไม่มี การ แบ่ง โดย โจทก์ อ้างว่าอยู่ ใน ระหว่าง ที่นาย สำราญ ผู้ตาย กำลัง ตกลง กับ จำเลย ทั้ง สาม อยู่ แต่ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย เสีย ก่อน ใน ปี 2531 ซึ่ง จำเลย ทั้ง สาม ก็ ยอมรับว่า ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ใน ปี 2531 จริง เมื่อ เป็น เช่นนี้ ก็ แสดง ว่ามรดก ของ เจ้ามรดก ยัง อยู่ ใน ระหว่าง การ แบ่งปัน ของ บรรดา ทายาทดังนั้น เมื่อ มรดก ของ เจ้ามรดก ยัง แบ่ง กัน ไม่ เสร็จ แม้ ทายาท คนใดคนหนึ่ง หรือ หลาย คน จะ เป็น ผู้ครอบครอง มรดก ของ เจ้ามรดก อยู่ ก็ ต้องถือว่า ทายาท คน นั้น หรือ เหล่านั้น ครอบครอง มรดก ของ เจ้ามรดก แทน บรรดาทายาท อื่น ด้วย ทุกคน แม้ จะ ล่วงเลย เวลา 1 ปี นับแต่ เจ้ามรดก ถึง แก่ความตาย ทายาท อื่น ก็ ชอบ ที่ จะ ฟ้อง ขอ แบ่ง มรดก ของ เจ้ามรดก ได้ข้อเท็จจริง ใน คดี นี้ ถือได้ว่า จำเลย ทั้ง สาม ครอบครอง ที่ดิน และบ้าน พิพาท ทั้ง สอง หลัง อันเป็น มรดก ของ เจ้ามรดก แทน ผู้ตาย ซึ่ง เป็นทายาท ของ เจ้ามรดก ด้วย คนหนึ่ง โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ใน ฐานะผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย ฟ้องโจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ดัง ที่ จำเลยทั้ง สาม ฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ใน ประเด็น นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน