แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
อายุความฟ้องเรียกค่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดปีตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 6 ไม่ใช่ 6 เดือนตามมาตรา 563 แต่อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้+เกี่ยวแก่สัญญาเช่ามีกำหนดเดือนตามมาตรา 563
เอกสารมีใจความว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหาย 500 บาทจากจำเลย ๆ ให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจและตีราคาเจ้าหน้าที่ของจำเลยราคาค่าเสียหายสูงกว่าที่โจทก์ขอคณะกรรมการของจำเลยจึงประชุมตกลงให้ค่าเสียหายโจทก์ดังโจทก์ขอแต่ไม่ปรากฎว่าเมื่อคณะกรรมการได้ตกลงเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยได้ทำคำสนองรับไปยังโจทก์ฉะนั้นจึงยังไม่เกิดสัญญาขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่มีทางจะถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 ได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องหาว่า โจทก์เช่าโรงภาพยนต์จากผู้มีชื่อแล้ว ให้บริษัทมิตซูบีชีโชยีไกซา จำกัด เช่าช่วงค่าเช่าเดือนละ ๕๐๐ บาทจำเลยได้เข้าควบคุมจัดกิจการหรือทรัพย์สินของบริษัทมิตซูบิซีโซยีไกซา ในระหว่างที่บริษัทมิตซู ฯ เช่า ได้ทำผิดสัญญา รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ทำให้โจทก์เสียหาย ๙๘๕๐ บาท แต่โจทก์ขอเรียกเพียง ๖๕๐๐ บาทและค้างค่าเช่า ๕ เดือนกับ ๒๑ วันเป็นเงิน ๒๘๔๙.๘๖ บาทโจทก์ได้ร้องขอและจำเลยได้มีคำสั่งจ่ายให้ ๖๓๔๙.๘๖ บาทโดยหักเงินประกันที่บริษัทวางไว้กับโจทก์ ๓๐๐๐ บาท และขึ้นบัญชีเป็นลูกหนี้โจทก์ไว้ แต่ยังไม่จ่ายเงินให้ ในที่สุดกลับปฏิเสธไม่จ่ายโจทก์จึงขอให้ศาลบังคับ
จำเลยให้การต่อสู้หลายประการ และตัดฟ้องว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ
ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าเช่าเป็นเงิน ๖๓๔๙.๘๖ บาทกับดอกเบี้ย
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องโจทก์เรื่องค่าเสียหายขาดอายุความเอกสาร จ.๔-๕ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สำหรับค่าเช่า คดีนี้ยังไม่ขาดอายุความ แต่โจทก์ได้รับค่าเช่าล่วงหน้าสำหรับ ๖ เดือนหลังแล้วเป็นเงิน ๓๐๐๐ บาทหักค่าเช่าที่ค้างก็ยังเหลือ จำเลยจึงไม่ต้องชำระอีก พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า อายุความฟ้องเรียกค่าเช่ามีกำหนด ๕ ปีตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๖๖ แต่อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่า มีกำหนด ๖ เดือนตามมาตรา ๕๖๓
ส่วนเอกสารหมาย จ.๓-๔–๕ นั้นมีใจความรวมกันว่า โจทก์เรียกร้องค่าเสียหาย ๖๕๐๐ บาท จำเลยให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจ และตีราคาเจ้าหน้าที่ของจำเลยตีราคาค่าเสียหายสูงกว่าที่โจทก์ขอ คณะกรรมการของจำเลยจึงประชุมตกลงให้ค่าเสียหายดังโจทก์ขอ ไม่ปรากฎว่าเมื่อคณะกรรมการได้ตกลงเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยได้ทำคำสนองรับไปยังโจทก์ ฉะนั้นจึงยังไม่เกิดสัญญาขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลย (ป.ม.แพ่งฯ มาตรา ๓๖๑ ) จึงไม่มีทางจะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๘๕๐ ได้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๖๘ อันจะมีอายุความ ๑๐ ปี ดังโจทก์ฎีกาฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
จึงพิพากษายืน