แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อโจทก์ บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงมีแต่เพียง สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นแม้โจทก์จะอ้างว่ากรณีเป็นเรื่องการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3และ สิทธิฟ้องคดีดังกล่าวนี้เป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กำหนดประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
ย่อยาว
โจทก์ เป็น ฝ่าย ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตลอดมา การ ที่ จำเลย ที่ 6ขอ ออก โฉนด ที่ดิน ทับ ที่ดิน น.ส. 3 ของ โจทก์ และ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์สืบต่อ กัน มา จน ถึง จำเลย ที่ 4 โดย มิได้ เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาทกรณี ยัง ถือไม่ได้ว่า จำเลย แย่ง การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท จาก โจทก์โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องคดี ได้ แม้ จะ เกิน 1 ปี นับแต่ วันที่ ทางราชการออก โฉนด ที่ดิน
โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 และ ก่อนชี้สองสถาน ศาล อนุญาต ตาม คำขอ ของ จำเลย ที่ 4 และ โจทก์ ให้ เรียกจำเลย ที่ 5 ที่ 6 เข้า มา เป็น จำเลยร่วม
โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3เป็น เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจ ใน การ ออก โฉนด ที่ดิน ยกเลิก เพิกถอนโฉนด ที่ดิน และ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม เกี่ยวกับ ที่ดิน มี โฉนดใน เขต จังหวัด ระยอง จำเลย ที่ 4 เป็น นิติบุคคล ตาม พระราชบัญญัติการ ปิโตรเลียม แห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2521 โจทก์ ทั้ง สาม เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 267ตำบล ห้วยโป่ง อำเภอ เมือง ระยอง จังหวัด ระยอง เนื้อที่ 20 ไร่ เศษ ซึ่ง โจทก์ ทั้ง สาม ได้ ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ มา โดย ตลอด ตั้งแต่ปี 2509 จน ถึง ปัจจุบัน โดย ไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง ต่อมา โจทก์ ทั้ง สามยื่น คำร้องขอ ออก โฉนด ที่ดิน แปลง ดังกล่าว และ ฟ้องคดี เมื่อ มี ผู้ มาออก โฉนด ทับ ที่ดิน โจทก์ ทั้ง สาม และ เมื่อ วันที่ 11 กรกฎาคม 2527มี การ รังวัด ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สาม โจทก์ ทั้ง สาม จึง ได้ ทราบ ว่าที่ดิน แปลง ดังกล่าว บางส่วน ทาง ด้าน ทิศตะวันตก เนื้อที่ 12 ไร่ นั้นเป็น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13130 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ได้ ร่วมกันรังวัด ออก โฉนด ที่ดิน ให้ ผู้อื่น แล้ว ผู้อื่น นั้น ได้ จดทะเบียน โอน ขายให้ จำเลย ที่ 4 การ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกัน รังวัดออก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 ดังกล่าว เป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะ ผู้ขอ ให้ ออก โฉนด ไม่ใช่ ผู้มีสิทธิ ใน ที่ดิน และ ไม่ได้ ยึดถือครอบครอง ที่ดิน การ ยื่น คำขอ ออก โฉนด การ ประกาศ เป็น ไป โดย ไม่ชอบไม่มี การ ระวัง แนวเขต ไม่มี การ รังวัด ทำให้ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130ทับ ที่ดิน ของ โจทก์ บางส่วน เป็น เนื้อที่ 12 ไร่ เศษ ราคา ประมาณ1,000,000 บาท จำเลย ที่ 4 ได้ ห้าม โจทก์ ทั้ง สาม เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดินพิพาทตาม ฟ้อง เป็น ของ โจทก์ ทั้ง สาม ห้าม จำเลย ทั้ง สี่ เข้า เกี่ยวข้องให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกัน เพิกถอน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130ซึ่ง มี ชื่อ จำเลย ที่ 4 และ ให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ ทั้ง สาม เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ แทน หาก จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ไม่ เพิกถอน ให้ ถือเอาคำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา หาก ไม่สามารถ ดำเนินการ ดังกล่าว ได้ก็ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ชดใช้ ราคา ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม
จำเลย ทั้ง หก ให้การ ว่า จำเลย ที่ 6 ซึ่ง เป็น เจ้าของ ที่ดิน ได้ ยื่น คำขอ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน รังวัด ออก โฉนด ที่ดิน ซึ่ง มี ที่ดินพิพาท รวม อยู่ ด้วย มี นาง สงวน แตงใบอ่อน แต่เพียง ผู้เดียว คัดค้าน เจ้าพนักงาน ที่ดิน เรียก คู่กรณี มา เปรียบเทียบ ผล ที่สุด ตกลง กัน ได้เจ้าพนักงาน ที่ดิน ได้ ออก โฉนด ที่ดิน ให้ ใน นาม ของ จำเลย ที่ 6เป็น โฉนด เลขที่ 13130 ต่อมา จำเลย ที่ 6 แบ่งแยก ที่ดิน ให้ แก่ ทายาทของ นาง สงวน จำนวน 5 ไร่ เป็น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 15193 คงเหลือ เนื้อที่ อยู่ เพียง 6 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา เศษ ซึ่ง เป็น ที่พิพาทจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ได้ ทำการ ออก โฉนด ตามระเบียบ ปฏิบัติ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว เหตุ ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้องคดี นี้เนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ต่อ ศาลชั้นต้นใน คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 553/2526 และ 554/2526 โดย อ้างว่าจำเลย ทั้ง สาม ออก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 15193, 9892 และ 2858 โดยมิชอบแต่ โจทก์ นำ ชี้ ที่ดิน ใน คดี ดังกล่าว รุกล้ำ เข้า มา ใน ที่ดินพิพาท นี้ ด้วยโดย ไม่ทราบ ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สาม อยู่ ที่ ใด แสดง ว่า โจทก์ ทั้ง สามไม่เคย ครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ฟ้องคดี นี้ เป็น ฟ้องซ้อนกับ คดี หมายเลขดำ ที่ 553/2526 จำเลย ที่ 6 ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่จำเลย ที่ 5 เมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม 2522 จำเลย ที่ 5 ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 เมื่อ วันที่ 25 เมษายน 2533 จำเลย ที่ 4และ ที่ 5 ซึ่ง เป็น ผู้ซื้อ จดทะเบียน รับโอน อัน มีค่า ตอบแทน และ กระทำการโดยสุจริต จึง ได้รับ ความคุ้มครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง เรียก ที่ดิน คืน เกินกว่า 1 ปี จึง ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ดินพิพาท มี ราคา ไม่ถึง 1,000,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าเดิม ที่ดินพิพาท เป็น ของ นาง สมควร มะริดหรือหาศิริ มี หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ เป็น หลักฐาน ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 13 เมื่อ เดือนมิถุนายน 2503 นาง สมควร ได้ แบ่ง ขาย ที่ดิน ให้ แก่ นาย ศักดิ์ ไทยวัฒน์ เนื้อที่ 16 ไร่ เศษ เมื่อ เดือน กันยายน 2503 แบ่ง ขาย ที่ดิน ให้ แก่ นาย สัมพันธ์ มิลินทางกูร เนื้อที่ 20 ไร่ เศษ และ เมื่อ เดือน ธันวาคม 2503 แบ่ง ขาย ที่ดิน ให้ แก่ นาย ตระกูล สุวรรณโพธิ์ศรี เนื้อที่ 15 ไร่ เศษ ครั้งสุดท้าย เมื่อ เดือน ธันวาคม 2508 ขาย ให้ แก่จำเลย ที่ 6 เนื้อที่ 31 ไร่ เศษ ต่อมา จำเลย ที่ 6 ได้ นำ ที่ดินแปลง ที่ ซื้อ จาก นาง สมควร มา ขอ ออก โฉนด รวม 3 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อ เดือน กรกฎาคม 2512 ขอ ออก โฉนด เนื้อที่ 15 ไร่ เศษ คือ โฉนดเลขที่ 2912 ครั้งที่ 2 เดือน ตุลาคม 2512 ขอ ออก โฉนด เนื้อที่14 ไร่ เศษ คือ โฉนด เลขที่ 2913 ครั้งที่ 3 เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์2516 ได้ ขอ ออก โฉนด ที่ดิน ซึ่ง เป็น ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จาก การ ขอ ออก โฉนดไป แล้ว ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 9 แผ่น ที่ 68 สำนักงาน ที่ดิน จังหวัดระยอง ได้ ออก โฉนด ให้ คืน โฉนด เลขที่ 13130 เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน67 5/10 ตารางวา ตาม เอกสาร หมาย ล. 10 ซึ่ง เป็น ที่ดิน แปลง พิพาท คดี นี้ใน การ ขอ ออก โฉนด ที่ดิน แปลง พิพาท นาง สงวน แตงใบอ่อน คัดค้าน เจ้าพนักงาน ที่ดิน ทำการ เปรียบเทียบ นาง สงวน ยอม ให้ จำเลย ที่ 6มี ชื่อ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดย นาง สงวน ขอ เข้า เป็น เจ้าของรวม เป็น เนื้อที่ 5 ใน 12 ส่วน ต่อมา นาง สงวน ถึงแก่กรรม เมื่อ เดือน พฤษภาคม 2520 นาง ละเอียดและนายประดิษฐ์ แตงใบอ่อน ทาง ญาตินาง สงวน ขอรับ มรดก เฉพาะ ส่วน ของ นาง สงวน และ ขอ แบ่งแยก โฉนด ออก เป็น ของ จำเลย ที่ 6 และ ของ นาง ละเอียดกับนายประดิษฐ์ ส่วน ของ นาง ละเอียด กับ นาย ประดิษฐ์ คือ โฉนด เลขที่ 15193 เนื้อที่ 5 ไร่ 1/10 ตารางวา ตาม เอกสาร หมาย ล. 11 ส่วน ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 13130 ของ จำเลย ที่ 6เหลือ เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 67 5/10 ตารางวา ที่ดิน โฉนด ที่พิพาท นี้จำเลย ที่ 6 ได้ ขาย ให้ แก่ จำเลย ที่ 5 เมื่อ เดือน สิงหาคม 2522ต่อมา จำเลย ที่ 5 ขาย ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 เมื่อ เดือน เมษายน 2523ปรากฏ ตาม สารบัญ จดทะเบียน ใน เอกสาร หมาย ล. 10 เมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม2524 โจทก์ ทั้ง สาม ได้ ยื่น เรื่องราว ขอ ออก โฉนด ที่ดิน ตาม เอกสาร หมายล. 14 โดย นำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 267เนื้อที่ 20 ไร่ 63 ตารางวา ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ซึ่ง โจทก์ ซื้อ มาจากนาย สัมพันธ์ มิลินทรางกูร เมื่อ วันที่ 29 กันยายน 2509 มา ขอ ออก โฉนด ช่าง รังวัด ของ สำนักงาน ที่ดิน ได้ ไป ทำการ รังวัด ปรากฏว่า รังวัดทับ ที่ดิน ที่ มี การ ออก โฉนด ไป แล้ว ตาม เอกสาร หมาย ล. 15 และ ล. 16แต่ ไม่ได้ ทับ ที่ดิน แปลง พิพาท ใน การ ขอ ออก โฉนด ของ โจทก์ จำเลย ที่ 4ที่ 5 ได้ ยื่น เรื่องราว คัดค้าน การ ขอ ออก โฉนด ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดินตาม เอกสาร หมาย ล. 17 ล. 18 และ ล. 19 เจ้าพนักงาน ที่ดิน แจ้ง ให้ โจทก์ดำเนินคดี นี้
โจทก์ ฎีกา ว่า ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ นำ เอา ระยะเวลา ฟ้องเรียกคืน ซึ่ง การ ครอบครอง ซึ่ง เป็น เรื่อง อำนาจฟ้อง มา วินิจฉัย เป็น การวินิจฉัย นอกประเด็น และ คดี นี้ เป็น เรื่อง ฟ้อง เรียก ทรัพย์ คืน เพราะเป็น การ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ออก โฉนด จะ เอา ระยะเวลา ใน เรื่อง แย่ง การครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มา วินิจฉัยหาได้ไม่ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ศาลชั้นต้น ได้ กำหนด ประเด็น ข้อพิพาทใน เรื่อง ฟ้องโจทก์ ขาด สิทธิ เอาคืน ซึ่ง การ ครอบครอง ไว้ เพราะ จำเลย ที่ 4ที่ 5 และ ที่ 6 ให้การ ต่อสู้ ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1375 อันเป็น บทบัญญัติ ใน เรื่อง ระยะเวลาใน การ ใช้ สิทธิ ฟ้องคดี เพื่อ เอาคืน ซึ่ง การ ครอบครอง โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่าโจทก์ ทั้ง สาม เป็น เจ้าของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3) เลขที่ 267 หน้า 186 เล่ม ที่ 17 หมู่ ที่ 1 ตำบล ห้วยโป่ง (มาบตาพุด) อำเภอ เมือง ระยอง จังหวัด ระยอง โจทก์ ทั้ง สาม จึง มี แต่ เพียง สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดิน ดังกล่าว เท่านั้น แม้ โจทก์ จะ อ้างว่ากรณี เป็น เรื่อง การ เรียก ทรัพย์ คืน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ก็ เป็น การ ฟ้องคดี เพื่อ เรียกคืน ซึ่ง สิทธิ ครอบครองต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ แห่งกฎหมาย ว่าด้วย การ ครอบครอง ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 3 และ สิทธิ ฟ้องคดี ดังกล่าว นี้เป็น ข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ มิได้ กำหนดประเด็น ไว้ ศาล ก็ มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 142(5) ดังนั้น ที่ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ หยิบยก ปัญหา ดังกล่าว ขึ้น มา วินิจฉัย จึง หาใช่ เป็น การวินิจฉัย นอกประเด็น ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ไม่ ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ต่อไป ว่า โจทก์ ทั้ง สามครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท หรือไม่ เห็นว่า พยานหลักฐานของ โจทก์ มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สาม ได้ ครอบครอง และ ทำประโยชน์ใน ที่ดินพิพาท สืบต่อ กัน ตลอดมา ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สาม ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้น
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ต่อไป ว่า การ ออก โฉนด ที่ดินพิพาท ของ จำเลย ที่ 6ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใน ปัญหา นี้ เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 6 นำ น.ส. 3เลขที่ 43 ไป ขอ ออก โฉนด เลขที่ 2912 และ 2913 นั้น ปรากฏว่า จำนวนเนื้อที่ ของ ที่ดิน ทั้ง 2 โฉนด ดังกล่าว เมื่อ รวมกัน แล้ว ใกล้เคียง กับเนื้อที่ ของ ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เดิม ดังนั้น จึง ไม่มี เหตุผล อัน ใด ที่จำเลย ที่ 6 จะ นำ น.ส. 3 ดังกล่าว ไป ขอ รังวัด ออก โฉนด ที่ดิน เลขที่13130 เลขที่ ดิน 11 (ก่อน แบ่งแยก เป็น โฉนด เลขที่ 15193) ได้ เนื้อที่อีก ประมาณ 12 ไร่ จำเลย ที่ 6 เบิกความ ว่า เมื่อ ออก โฉนด ใน ครั้งแรกได้ ที่ดิน 2 แปลง แล้ว ยัง ปรากฏว่า เนื้อที่ดิน ใน น.ส. 3 เดิม เกิน มาอีก ประมาณ 12 ไร่ จำเลย ที่ 6 จึง ได้ ขอ ออก โฉนด อีก เป็น ฉบับที่ สามนั้น ขัด ต่อ ความ เป็น จริง เพราะ เมื่อ จำเลย ที่ 6 ไม่มี ที่ดิน เหลือ อยู่อีก แล้ว จำเลย ที่ 6 จะ นำ น.ส. 3 ฉบับ เดิม ไป ขอ ออก โฉนด ที่ดิน ใหม่ได้ เนื้อที่ เกือบ ประมาณ 12 ไร่ ได้ อย่างไร นอกจาก นี้ นาย สวัสดิ์ จิตตรง พยาน จำเลย ยัง ได้ เบิกความ ยืนยัน ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13130เลขที่ ดิน 11 (ก่อน แบ่งแยก ) กับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 9892 น่า จะ เป็นที่ดิน แปลง เดียว กับ ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เลขที่ 267/43 ของ โจทก์เมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 6 มี การ ออก โฉนด ที่ดินทั้ง แปลง แล้ว น.ส. 3 เลขที่ 43 ของ ที่ดิน แปลง นั้น ย่อม เป็น อัน ยกเลิก ไปโฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 ซึ่ง จำเลย ที่ 6 รังวัด ออก มาจาก ที่ดิน น.ส. 3เลขที่ 43 จึง เป็น โฉนด ที่ดิน ที่ ออก มา โดย ไม่ชอบ ด้วย ประมวล กฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สาม ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้น
ส่วน ประเด็น ตาม ฎีกา โจทก์ ทั้ง สาม ที่ ว่า โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง เกิน1 ปี นับแต่ เวลา ถูก แย่ง การ ครอบครอง หรือไม่ นั้น เห็นว่าเมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สาม เป็น ฝ่าย ครอบครอง ที่ดินพิพาทตลอดมา การ ที่ จำเลย ที่ 6 ขอ ออก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 ทับ ที่ดินน.ส. 3 เลขที่ 267 ของ โจทก์ ทั้ง สาม และ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์สืบต่อ กัน มา จน ถึง จำเลย ที่ 4 โดย มิได้ เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาทกรณี จึง ยัง ถือไม่ได้ว่า จำเลย แย่ง การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท จาก โจทก์โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องคดี ได้ แม้ จะ เกิน 1 ปี นับแต่ วันที่ ทางราชการออก โฉนด ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 6 ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ว่าโจทก์ ขาด สิทธิ ฟ้อง เอา ซึ่ง การ ครอบครอง และ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สามนั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สาม ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ว่า โจทก์ ทั้ง สาม เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาทให้ เพิกถอน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 ตำบล ห้วยโป่ง (ตำบลมาบตาพุด) อำเภอ เมือง ระยอง จังหวัด ระยอง คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก