คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289วรรคแรกให้สิทธิแก่ผู้รับจำนองที่จะเลือกว่าให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายโดยปลอดจำนองแล้วนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นก็ได้ส่วนวรรคสองได้บัญญัติเพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการไปได้โดยถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจำนองการที่ผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดหาทำให้หมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนองไม่ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองแล้วก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้รับจำนองก่อน

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระหนี้โจทก์ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ แต่ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ชำระหนี้ตาม คำพิพากษา ดังกล่าว แก่ โจทก์ โจทก์ จึง นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดียึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 35778 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลย ที่ 2ซึ่ง จำนอง ประกันหนี้ ตาม สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ไว้ แก่ ผู้ร้องเจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ขายทอดตลาด โดย ปลอด จำนอง เมื่อ วันที่ 25กันยายน 2532 โจทก์ เป็น ผู้ประมูล ได้ ใน ราคา 460,000 บาท ผู้ร้องใน ฐานะ เจ้าหนี้ จำนอง ได้ ยื่น คำร้องขอ รับชำระหนี้ จำนอง ก่อนเจ้าหนี้ อื่น เมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2533 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่าผู้ร้อง ยื่น คำร้อง เมื่อ พ้น ระยะเวลา ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ไม่มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ ก่อน เจ้าหนี้ ราย อื่น ให้ยก คำร้อง ผู้ร้อง อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ ผู้ร้อง ได้รับ ชำระหนี้ จำนอง ก่อนเจ้าหนี้ ตาม คำร้อง โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัย ว่า ผู้ร้อง มา ยื่น คำร้องขอ รับชำระหนี้ จำนอง ก่อน เจ้าหนี้ อื่นโดย ยื่น ใน วันที่ 25 มกราคม 2533 ซึ่ง เป็น เวลา ภายหลัง ที่ ได้ มีการ ขายทอดตลาด ทรัพย์ที่จำนอง แล้ว จึง เป็น การ ยื่น เมื่อ พ้น กำหนดเวลา ตาม กฎหมาย ผู้ร้อง ย่อม ไม่มี สิทธิ ขอให้ เอา เงิน ที่ ได้ มาจากการ ขายทอดตลาด ทรัพย์ที่จำนอง ของ จำเลย ที่ 2 มา ชำระหนี้ จำนอง ของผู้ร้อง ก่อน เจ้าหนี้ ราย อื่น พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องขอ งผู้ร้อง
โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ ต่าง ยื่น คำร้อง ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดี ประวิง การ จ่ายเงิน แก่ โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ ขอให้มี คำสั่ง ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี จ่ายเงิน ที่ ได้ จาก การ ขายทอดตลาดแก่ โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ ตาม ส่วน
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ยัง มี ฐานะ เป็น ผู้รับจำนอง มีสิทธิได้รับ เงิน ที่ ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ที่ดิน จำนอง ก่อน โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ ขอให้ กัน เงิน ที่ ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ที่ดิน จำนองชำระหนี้ จำนอง ส่วน ของ ผู้ร้อง ก่อน
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ จะ ขอรับเงิน โดย กระทบ กระเทือน สิทธิ ของ ผู้รับจำนอง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 287 หาได้ไม่ ให้ยก คำร้อง
โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ว่า ผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้รับจำนองหมด สิทธิ ใน เงิน ที่ ได้ จาก การ ขาย ทรัพย์สิน จำนอง หรือไม่ ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 289 วรรคหนึ่ง และ วรรคสอง บัญญัติ ว่า”ถ้า บุคคล ใด ชอบ ที่ จะ บังคับ การ ชำระหนี้ เอา จาก ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ตาม คำพิพากษา ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ยึด ไว้ หรือ ชอบ ที่ จะ ได้เงิน ที่ ขาย หรือ จำหน่าย ทรัพย์สิน เหล่านั้น ได้ โดย อาศัย อำนาจ แห่งการ จำนอง ที่ อาจ บังคับ ได้ ก็ ดี หรือ อาศัย อำนาจ แห่ง บุริมสิทธิ ก็ ดีบุคคล นั้น อาจ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล ที่ ออกหมาย บังคับคดี ให้ เอา เงินที่ ได้ มา นั้น ชำระหนี้ ตน ก่อน เจ้าหนี้ อื่น ๆ ตาม บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใน กรณี ที่ อาจ บังคับ เอา ทรัพย์สิน ซึ่งจำนอง หลุด ผู้รับจำนอง จะ มี คำขอ ดังกล่าว ข้างต้น ให้ เอา ทรัพย์สินซึ่ง จำนอง นั้น หลุด ก็ ได้
ใน กรณี จำนอง อสังหาริมทรัพย์ หรือ บุริมสิทธิ เหนืออสังหาริมทรัพย์ อัน ได้ ไป จดทะเบียน ไว้ นั้น ให้ ยื่น คำร้องขอ ก่อนเอา ทรัพย์สิน นั้น ออก ขายทอดตลาด ส่วน ใน กรณี อื่น ๆ ให้ ยื่น คำร้องขอเสีย ก่อน ส่ง คำบอกกล่าว ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 319″
บทบัญญัติ ดังกล่าว ใน วรรคหนึ่ง ให้สิทธิ แก่ ผู้รับจำนอง ที่จะ เลือก ว่า ให้ นำ ทรัพย์สิน จำนอง ออก ขาย โดย ปลอด จำนอง แล้ว นำ เงินที่ ได้ จาก การ ขาย มา ชำระหนี้ ตน ก่อน เจ้าหนี้ อื่น ก็ ได้ แต่ อย่างไรก็ ตาม หาก ผู้รับจำนอง ไม่ประสงค์ จะ ใช้ สิทธิ บังคับจำนอง ก็ อาจ ให้ขาย ทรัพย์ นั้น โดย ติด จำนอง ก็ ได้ เพราะ การ บังคับคดี แก่ ทรัพย์สินไม่ กระทบ กระทั่ง ถึง สิทธิจำนอง ซึ่ง ผู้รับจำนอง อาจ ร้องขอ ให้ บังคับเหนือ ทรัพย์สิน นั้น ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 และ ใน กรณี จำนอง อสังหาริมทรัพย์ วรรคสอง ของ มาตรา 289ได้ บัญญัติ ให้ ผู้รับจำนอง ยื่น คำร้อง เสีย ก่อน เอา ทรัพย์สิน นั้นออก ขายทอดตลาด ทั้งนี้ เพื่อ เจ้าพนักงาน บังคับคดี จะ ได้ ดำเนินการไป ได้ โดย ถูกต้อง ตาม เจตนา ของ ผู้รับจำนอง การ ที่ ผู้ร้อง ซึ่ง เป็นผู้รับจำนอง ไม่ได้ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล ก่อน เอา ทรัพย์สิน จำนอง ออกขายทอดตลาด จึง หา เป็นเหตุ ให้ ผู้ร้อง หมด สิทธิ ใน ฐานะ ผู้รับจำนองไป ไม่ นอกจาก นี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 732 ยัง ได้บัญญัติ ไว้ ด้วย ว่า ทรัพย์สิน ซึ่ง จำนอง ขายทอดตลาด ได้ เงิน เป็น จำนวนสุทธิ เท่าใด ให้ จัด ใช้ แก่ ผู้รับจำนอง ก่อน ด้วย ฉะนั้น เมื่อ เอาทรัพย์สิน จำนอง ออก ขายทอดตลาด โดย ปลอด จำนอง แล้ว ก็ จำต้อง ชำระหนี้จำนอง ให้ แก่ ผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้รับจำนอง ก่อน ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืนตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น มา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ และ ผู้ร้องขอเฉลี่ยหนี้ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share