คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ตามคำให้การของจำเลยที่3ได้ระบุชื่อจำเลยที่3ว่าจำเลยที่3โดยธ.ผู้รับมอบอำนาจและธ.ลงชื่อในคำให้การว่าผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่3ส่วนหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การมีข้อความระบุว่าจำเลยที่3ขอมอบอำนาจให้ธ.กระทำกิจการแทนจนเสร็จสิ้นแม้ในคำให้การข้อ1จะใช้คำว่าเข้าเป็นจำเลยที่3แทนผู้มอบอำนาจในคดีนี้ก็มีความหมายเพียงให้ดำเนินคดีแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจเท่านั้นนอกจากนี้ที่หนังสือมอบอำนาจได้ระบุกิจการบางอย่างซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60บัญญัติห้ามไว้ก็เป็นเพียงทำให้ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำกิจการบางอย่างเท่านั้นหาเป็นผลทำให้หนังสือมอบอำนาจเสียไปทั้งหมดไม่การมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้ได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า บิดา โจทก์ และ โจทก์ กับ บุคคล อื่น ซึ่ง เป็น ผู้เช่าอาคาร พาณิชย์ และ แผงลอย ได้ แต่งตั้ง จำเลย ทั้ง หก เป็น กรรมการกองทุนร่วม และ เข้า เป็น หุ้นส่วน ซื้อ ตลาด จาก เจ้าของเดิม ใน ราคา46,500,000 บาท บิดา โจทก์ ร่วม ลงทุน 1,200,000 บาท แล้ว โอน สิทธิและ หน้าที่ ทั้งปวง ให้ โจทก์ เมื่อ ซื้อ ที่ดิน และ อาคาร พาณิชย์ตลาด มา แล้ว จำเลย มี หน้าที่ ต้อง โอน กรรมสิทธิ์ ให้ โจทก์ แต่จำเลย จะ โอน ให้ เพียง ที่ดิน บริเวณ แนว ผนังตึก ตัวอาคาร เท่านั้นส่วน ที่ดิน ตรง แนว ชายคา ตลอด แนว ที่ ยื่น ออกมา ตาม โครงสร้าง เดิมไม่ ยอม โอน ให้ โจทก์ และ ผู้ร่วม ลงทุน อื่นๆ ไป ร้องเรียน ต่อ ทางจังหวัด ทางราชการ จึง ตั้ง อนุญาโตตุลาการ ขึ้น ชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการ ชี้ขาด ว่า ได้ ปัก หลักเขต ตรง บริเวณ ชายคา ของตัวตึก สภาพ ใต้ ชายคา เป็น อย่างไร ให้ คงสภาพ เดิม และ ต้อง ไป จดทะเบียน ภารจำยอม ไว้ ใน โฉนด แต่ จำเลย ทั้ง หก ไม่ ยอม ปฏิบัติ ตามโจทก์ มี หนังสือ เตือน ให้ ปฏิบัติ ตาม คำ ชี้ขาด ดังกล่าว แต่ จำเลยทั้ง หก เพิกเฉย จึง ขอ ให้ บังคับ จำเลย โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน และตัว อาคาร พาณิชย์ ให้ แก่ โจทก์ โดย ปักหลัก หมุด แสดง กรรมสิทธิ์ ตรงบริเวณ พื้นดิน ใต้ ชายคาตึก และ ไป จด ทะเบียน ภารจำยอม ไว้ ใน โฉนดหาก จำเลย ไม่ ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือ เอา คำพิพากษา เป็น เครื่อง แสดงเจตนา ของ จำเลย
จำเลย ที่ 1, 2, 4, 5 และ 6 ยื่น คำให้การ ศาลชั้นต้น รับ คำให้การ
จำเลย ที่ 3 ยื่น คำให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 มอบอำนาจ ให้ นาย ธรรมรัตน์ เครือศิริยงค์ เข้า เป็น จำเลย ใน คดี นี้ แทน ตาม หนังสือ มอบอำนาจท้าย คำให้การ ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า เป็น กรณี ที่ จำเลย ที่ 3 มอบอำนาจให้ เข้า เป็น จำเลย ที่ 3 แทน การ มอบอำนาจ จึง ขัดกับ ความ สงบเรียบร้อย ของ ประชาชน เป็น โมฆะ ไม่ รับ คำให้การ
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ข้อความ ใน หนังสือ มอบอำนาจ มี ความหมายว่า ให้ ผู้รับ มอบอำนาจ เข้า ดำเนินคดี นี้ แทน จำเลย ที่ 3 การมอบอำนาจ จึง ใช้ ได้ พิพากษา ยก คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ไม่ รับคำให้การ ของ จำเลย ที่ 3 ให้ ศาลชั้นต้น รับ คำให้การ ของ จำเลย ที่3 ไว้
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คำให้การ ของ จำเลย ที่ 3 ได้ ระบุ ชื่อ จำเลยที่ 3 โดย นาย ธรรมรัตน์ เครือศิริยงค์ ผู้รับ มอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจ ลงชื่อ ใน คำให้การ ว่า ผู้รับ มอบอำนาจ จาก จำเลย ที่ 3 ตามหนังสือ มอบอำนาจ ท้าย คำให้การ มี ข้อความ ระบุ ว่า จำเลย ที่ 3ขอ มอบอำนาจ ให้ แก่ นาย ธรรมรัตน์ เครือศิริวัฒน์ เพื่อ กระทำ กิจการแทน จน เสร็จสิ้น และ ขอ รับผิด ชอบ ตาม ที่ ผู้ ได้ รับมอบ ได้ กระทำไป ใน ทาง การ ที่ ได้ รับ มอบอำนาจ ทุก ประการ แสดงถึง ความ ประสงค์ของ จำเลย ที่ 3 ว่า มอบอำนาจ ให้ ดำเนินคดี แทน เท่านั้น เพราะ การที่ จะ เป็น จำเลย แทน ได้ ต้อง ปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) และ ศาล อุนญาต แล้วที่ ระบุ ไว้ ใน คำให้การ ข้อ 1 และ หนังสือ มอบอำนาจ ว่า เข้า เป็นจำเลย ที่ 3 แทน จึง มี ความหมาย เพียง ให้ ดำเนินคดี แทน ใน ฐานะผู้รับ มอบอำนาจ เท่านั้น หนังสือ มอบอำนาจ จึง ใช้ ได้ ส่วน ที่ ได้ระบุ กิจการ บางอย่าง ที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60บัญญัติ ห้าม ไว้ ใน หนังสือ มอบอำนาจ ก็ เป็น เพียง ทำ ให้ ผู้รับมอบอำนาจ ไม่ มี อำนาจ กระทำ กิจการ บางอย่าง เท่านั้น ไม่ เป็น ผลให้ หนังสือ มอบอำนาจ เสีย ไป ทั้งหมด
พิพากษา ยืน

Share