คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ตามบทบัญญัติมาตรา987และมาตรา988แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บุคคลผู้ออกเช็คหรือทำตราสารดังกล่าวก็คือผู้สั่งจ่ายโดยทั่วๆไปอาจจะเห็นว่าธนาคารเป็นผู้พิมพ์แบบฟอร์มเช็คออกเป็นเล่มๆให้แก่ผู้มีบัญชีฝากเงินกับธนาคารแต่ที่เป็นดังนั้นมิได้หมายความว่าธนาคารเป็นผู้ออกเช็คแต่ธนาคารกระทำขึ้นแทนผู้สั่งจ่ายเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้สั่งจ่ายในการใช้และกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจึงทำเป็นแบบพิมพ์ในรูปเดียวกันแต่โดยเนื้อแท้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้วผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ออกเช็คหรือทำตราสารนั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1017/2507)โดยเหตุนี้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คออกมาแต่ต่างประเทศหรือไม่จึงอยู่ที่ว่าผู้สั่งจ่ายเช็คได้สั่งจ่ายเช็คภายในประเทศหรือสั่งจ่ายเช็คที่ต่างประเทศเป็นสำคัญหาใช่ดูว่าธนาคารตามเช็คอยู่ณที่ใดเป็นสำคัญไม่ดังนั้นเมื่อจำเลยที่1ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทในประเทศไทยแม้ธนาคารเจ้าของเช็คจะอยู่ต่างประเทศเช็คพิพาทจึงมิใช่เช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศตามมาตรา989วรรคสอง.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ มี สาขา อยู่ ที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์ เป็นผู้ ทรงเช็ค ของ ธนาคาร อินโดสุเอช ประเทศ ฝรั่งเศส จำนวน 3 ฉบับ โดยจำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ลง ลายมือ สั่ง จ่าย ให้ จำเลย ที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็น ลูกค้า ของ โจทก์ และ มี บัญชี เงินฝาก กระแสรายวันอยู่ กับ ธนาคาร โจทก์ สาขา กรุงเทพมหานคร ได้ ลงชื่อ สลักหลัง และ นำเช็ค ทั้ง สาม ฉบับ มา ขาย ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ได้ รับ ซื้อ ไว้ เมื่อเช็ค ถึง กำหนด นำ ไป เรียก เก็บ เงิน ธนาคาร ตาม เช็ค ได้ ปฏิเสธ การจ่าย เงิน ขอ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน ตาม เช็ค ทั้ง สามฉบับ พร้อม ดอกเบี้ย จำนวน 256,045.31 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ จำเลย ที่ 2 ลัก ไป จากจำเลย ที่ 1 แล้ว ปลอม ชื่อ ผู้ สั่งจ่าย เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ เป็น เช็คที่ ออก ใน ต่าง ประเทศ เมื่อ เช็ค ถูก ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน โจทก์มิได้ ทำ คำคัดค้าน จึง ไม่ มี สิทธิ เรียกร้อง เงิน ตาม เช็ค ขอ ให้ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
ศาลชั้นต้น งด สืบพยาน โจทก์ จำเลย และ วินิจฉัย ว่า เช็ค ตาม ฟ้องเป็น เช็ค ที่ ออก มา แต่ ต่างประเทศ เมื่อ โจทก์ มิได้ ทำ คำ คัดค้านโจทก์ ย่อม สิ้น ิสทธิ ไล่เบี้ย เอา จาก ผู้ สลักหลัง และ ผู้ สั่งจ่ายพิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ดำเนิน กระบวน พิจารณาแล้ว วินิจฉัย ใหม่ ตาม รูป คดี
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คง มี ปัญหา ตาม ฟ้อง ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ว่าเช็ค พิพาท ทั้ง สาม ฉบับ เป็น เช็ค ที่ ออก มา แต่ ต่างประเทศ ตามบท บัญญัติ มาตรา 989 วรรคสอง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ไม่ เห็นว่า ตาม บท บัญญัติ มาตรา 988 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ ระบุ ไว้ ว่า อัน เช็ค นั้น ต้อง มี รายการ ดังต่อไปนี้ คือ
(1) คำ บอก ชื่อ ว่า เป็น เช็ค
(2) …….
(3) …….
(4) …….
(5) …….
(6) วัน และ สถานที่ ออก เช็ค
(7) ลายมือชื่อ ผู้ สั่งจ่าย
และ ตาม มาตรา 987 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ บัญญัติ ว่าอัน ว่า เช็ค นั้น คือ หนังสือ ตราสาร ซึ่ง บุคคล คนหนึ่ง เรียกว่าผู้ สั่งจ่าย สั่ง ธนาคาร ให้ ใช้ เงิน จำนวนหนึ่ง เมื่อ ทวงถาม ให้ แก่บุคคล อีก คน หนึ่ง หรือ ให้ ใช้ ตาม คำสั่ง ของ บุคคล อีก คน หนึ่ง อันเรียกว่า ผู้ รับเงิน
เมื่อ พิเคราะห์ บท บัญญัติ ทั้ง สอง มาตรา นี้ แล้ว ก็ เป็น อัน ได้ความ ว่า บุคคล ผู้ ออกเช็ค หรือ ทำ ตราสาร ดังกล่าว ก็ คือ ผู้สั่งจ่าย นั่นเอง โดย ทั่วๆ ไป อาจ จะ เห็น ว่า ธนาคาร เป็น ผู้พิมพ์แบบฟอร์ม เช็ค ออก เป็น เล่ม ๆ ให้ แก่ ผู้ มี บัญชี ฝากเงิน กับ ธนาคาร แต่ ที่ เป็น ดังนั้น มิใช่ หมายความ ว่า ธนาคาร เป็น ผู้ ออกเช็ค แต่ธนาคาร กระทำ ขึ้น แทน ผู้ สั่งจ่าย เพื่อ ให้ ความ สะดวก แก่ ผู้สั่งจ่าย ใน การ ใช้ และ กัน ความ ผิดพลาด ที่ อาจ เกิดขึ้น จึง ทำเป็น แบบพิมพ์ ใน รูปเดียว กัน แต่ โดย เนื้อแท้ ตาม บท บัญญัติ แห่งกฎหมาย แล้ว ผู้ สั่งจ่าย เป็น ผู้ ออกเช็ค หรือ ทำ ตราสาร นั้น เทียบตาม นัย แห่ง คำพิพากษา ฎีกา ที่ 1017/2507 คดี ระหว่าง พนักงาน อัยการกรมอัยการ โจทก์ นาง ละม่อม นาคปรีชา จำเลย ซึ่ง วินิจฉัย ไว้ ว่าบุคคล ใด ทำ เป็น หนังสือ ตราสาร ซึ่ง มี รายการ ครบถ้วน บริบูรณ์ ตามลักษณะ ที่ กล่าว ไว้ ใน มาตรา 987, 988 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้ว ก็ เป็น เช็ค เมื่อ ผู้ทรง นำ ไป ขึ้นเงิน ไม่ ได้ ผู้ ออกเช็ค ก็ มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่า ด้วยความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2497 โดย เหตุ นี้ เช็ค พิพาทจะ เป็น เช็ค ออก มา แต่ ต่างประเทศ หรือไม่ จึง อยู่ ที่ ว่า ผู้สั่งจ่ายเช็ค ได้ สั่ง จ่าย เช็ค ภายใน ประเทศ หรือ สั่งจ่าย ที่ต่าง ประเทศ เป็น สำคัญ หา ใช่ ดู ว่า ธนาคาร ตาม เช็ค อยู่ ณ ที่ ใดเป็น สำคัญ ไม่ คดี นี้ จำเลย ที่ 1 รับ อยู่ ว่า มี ภูมิลำเนา อยู่ใน ประเทศ ไทย ยัง มี ประเด็น ที่ โจทก์ จำเลย จะ ต้อง นำสืบ ตาม ฟ้องและ ข้อต่อสู้ ของ ตน อีก หลาย ประการ
พิพากษา ยืน.

Share