แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องจากข้อความที่ว่า’นายบุญมาพึ่งทองผู้เสียหายซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดเป็นนายบุญมาพึ่งทองซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดผู้เสียหาย’ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ว่า’สำเนาให้จำเลยศาลจะสั่งคำร้องนี้ในคำพิพากษาของศาล’แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้กล่าวถึงคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์เมื่อพิเคราะห์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งมีข้อความว่า’…….คำพยานโจทก์คือนายบุญมาพึ่งทองกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดผู้เสียหาย………’แล้วแสดงว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์ได้แก้คำฟ้องตามคำร้องแล้วโดยปริยายดังนั้นผู้เสียหายตามฟ้องคือบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดมิใช่นายบุญมาพึ่งทองและบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด3เดือนพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ฉ้อโกง นาย บุญมา พึ่งทอง ผู้เสียหาย ซึ่ง เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท บุญมาคาร์โก้ จำกัด ขอ ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 กับ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน 660,000บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
บริษัท บุญมาคาร์โก้ จำกัด โดย นาย บุญมา พึ่งทอง ขอ เข้า เป็นโจทก์ร่วม ศาล อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย กระทำผิด ตาม ฟ้อง ให้ จำคุก 3 ปีกับ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน 660,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ และ โจทก์ร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า สำหรับ ปัญหา ที่ ว่า พนักงาน อัยการ โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ นั้น ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ ยื่น คำร้อง ลง วันที่22 ธันวาคม 2525 ขอ แก้ไข ฟ้อง จาก ข้อความ ที่ ว่า ‘นาย บุญมา พึ่งทองผู้เสียหาย ซึ่ง เป็น กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท บุญมาคาร์โก้ จำกัดเป็น นาย บุญมา พึ่งทอง ซึ่ง เป็น กรรมการ ผู้จัดการ บุญมาคาร์โก้ จำกัด ผู้เสียหาย’ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง คำร้อง ของ โจทก์ ว่า ‘สำเนาให้ จำเลย ศาล จะ สั่ง คำร้อง นี้ ใน คำพิพากษา ของ ศาล’ แต่ ในคำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น มิได้ กล่าวถึง คำร้อง ขอ แก้ฟ้อง ของ โจทก์แต่ ประการ ใด แต่ อย่างไร ก็ ดี เมื่อ พิเคราะห์ คำพิพากษา ของศาลชั้นต้น ใน หน้าที่ 8 ซึ่ง มี ข้อความ ว่า ‘………คำพยาน โจทก์คือ นาย บุญมา พึ่งทอง กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท บุญมาคาร์โก้ จำกัดผู้เสียหาย………’ แล้ว แสดง ว่า ศาลชั้นต้น ได้ อนุญาต ให้ โจทก์ได้ แก้ไข คำฟ้อง ตาม คำร้อง แล้ว โดย ปริยาย ดังนั้น ผู้เสียหาย ตามฟ้อง คือ บริษัท บุญมาคาร์โก้ จำกัด มิใช่ นาย บุญมา พึ่งทอง และ บริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด ได้ ร้องทุกข์ ภายใน กำหนด 3 เดือน พนักงาน อัยการจึง มี อำนาจ ฟ้อง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า พนักงาน อัยการ โจทก์ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง เพราะ นาย บุญมา พึ่งทอง ผู้เสียหาย มิได้ ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นั้น ไม่ ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา ได้ วินิจฉัย ปัญหา ที่ ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิดฐาน ฉ้อโกง หรือไม่ ต่อไป และ เห็น ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เป็นความผิด ฐาน ฉ้อโกง หา ใช่ เป็น เรื่อง ความ รับผิด ใน ทาง แพ่ง ไม่
พิพากษา กลับ จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ให้จำคุก 2 ปี ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน 660,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย