แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ในคดีที่โจทก์ขอให้ส่งตัวจำเลยไปกักกัน ตาม พ.ร.บ.กักกัน ฯลฯ มาตรา 8-9 นั้น เมื่อปรากฏต้องโทษครั้งที่หนึ่งจำเลยต้องจำคุก 3 เดือน พ้นโทษ พ.ศ.2466 โทษครั้งที่ 2 ต้องจำคุก 8 ปี พ้นโทษ พ.ศ.2475 โทษครั้งที่ 3 ต้องจำคุก 8 เดือน พ้นโทษ พ.ศ.2479 ดังนี้เป็นการต้องโทษระยะห่าง ๆ กัน และเมื่อต้องโทษครั้งที่ฟ้องนี้เพียง 6 เดือนเท่านั้น ศาลย่อมใช้ดุลยพินิจไม่ส่งตัวจำเลยไปกักกันได้
ศาลชั้นต้นให้จำคุก 6 เดือน+ไปกักกัน 3 ปี ศาลอุทธรณ์ให้+โทษกักกัน โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงในเรื่องกักกันได้
ย่อยาว
ศาลชั้นต้นจำคุกนายผันจำเลยตาม ก.ม.อาญามาตรา ๒๔๙-๕๙ มีกำหนด ๖ เดือน เมื่อพ้นโทษแล้ว ให้ส่งไปกักกันตามมาตรา ๘-๙
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไม่ส่งตัวนายฝันไปกักกัน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ปรากฏว่า ครั้งที่ ๑ นายผันต้องโทษจำคุก ๓ เดือน พ้นโทษเมื่อ ๒๔๖๖ ครั้งที่ ๒ ต้องจำคุก ๘ ปี พ้นโทษเมื่อ ๒๔๗๕ ครั้งที่ ๓ ต้องจำคุก ๘ เดือน พ้นโทษเมื่อ ๒๔๗๕ ทั้งนี้นายผันต้องโทษระยะห่าง ๆ กัน มาต้องโทษครั้งนี้เพียง ๖ เดือนเท่านั้น ดุลยพินิจของศาลอุทธณ์ที่ว่าไม่ควรส่งนายผันไปกักกัน จึงชอบแล้ว
พิพากษายืน