คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2540

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายซึ่งรายละเอียดแห่งข้อหาแต่ละข้อตามฟ้องเกิดต่างวันต่างเวลากันทั้งข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุแตกต่างกันการนำสืบพยานหลักฐานต่างๆย่อมไม่สะดวกต่อการพิจารณาของศาลและการที่รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยคันหนึ่งละเมิดชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายมิได้หมายความว่ารถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้อีกคันหนึ่งจะต้องรับผิดต่อรถยนต์โดยสารของโจทก์คันอื่นด้วยดังนั้นข้อหาแต่ละอย่างตามฟ้องจึงมิได้เกี่ยวข้องกันแม้จะเป็นมูลหนี้เรียกค่าเสียหายมีลักษณะประเภทเดียวกันก็ตามโจทก์จะนำมารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันหาได้ไม่ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา29

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ค้ำจุนเรียก ค่าเสียหาย อัน เกิดจาก รถยนต์ ที่ จำเลย รับประกัน ภัย ไว้ รวม4 คัน ชน รถยนต์โดยสาร ของ โจทก์ เสียหาย รวม 4 คัน โดย รถยนต์ แต่ละ คันที่ จำเลย รับประกัน ภัย ไว้ เกิดเหตุ ชน กับ รถยนต์โดยสาร ของ โจทก์ แต่ละคัน ต่าง วัน ต่าง เวลา กัน โดย เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย รวมเป็น เงิน22,013.70 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของต้นเงิน จำนวน 19,314.70 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์
ศาลชั้นต้น ตรวจ คำฟ้อง ของ โจทก์ แล้ว เห็นว่า มูลเหตุ ที่ โจทก์นำ มา ฟ้อง ทั้ง สี่ ราย มิใช่ มูลหนี้ ที่ จะ นำ มา ฟ้อง รวมกัน ใน คราว เดียว กันได้ จึง มี คำสั่ง คืน ฟ้อง ให้ โจทก์ ทำ มา ใหม่ ภายใน 7 วัน
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าโจทก์ นำ มูลหนี้ ตาม ฟ้อง มา รวม ฟ้อง เป็น คดี เดียว กัน ได้ หรือไม่ โจทก์ฎีกา ว่า ที่ โจทก์ นำ มูลหนี้ ทั้ง 4 ราย มา รวมทั้ง ฟ้อง เป็น คดี เดียว กันนี้ เนื่องจาก คู่ความ ทั้ง สอง ฝ่าย เป็น ราย เดียว กัน ทั้ง เป็น มูลหนี้ประเภท เดียว กัน และ แต่ละ เรื่อง อยู่ ใน เขตอำนาจศาล ชั้นต้น ลำดับเดียว กัน ที่ เกี่ยวกับ ที่ จะ พิจารณา คดี ได้ หาก นำ มา ฟ้อง เป็น คดีเดียว กัน แล้ว จะ เป็น การ สะดวก ต่อ การ พิจารณา ของ ศาล ไม่เสีย เวลายุ่งยาก ต่อ การ ดำเนินคดี และ ตรง ตาม วัตถุประสงค์ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นั้น เห็นว่า มูลหนี้ ที่ โจทก์ ฟ้องให้ จำเลย รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย อัน เกิดจาก รถยนต์ ที่ จำเลยรับประกัน ภัย ไว้ ชน รถยนต์โดยสาร ของ โจทก์ เสียหาย ซึ่ง รายละเอียดแห่ง ข้อหา แต่ละ ข้อ ตาม ฟ้อง เกิด ต่าง วัน ต่าง เวลา กัน ทั้ง ข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุ แตกต่าง กัน การ นำสืบ พยานหลักฐาน ต่าง ๆ ย่อม ไม่ สะดวกต่อ การ พิจารณา ของ ศาล และ การ ที่ รถยนต์ ที่ จำเลย รับประกัน ภัย คัน หนึ่งละเมิด ชน รถยนต์โดยสาร ของ โจทก์ เสียหาย ก็ มิได้ หมายความ ว่า รถยนต์ที่ จำเลย รับประกัน ภัย ไว้ อีก คัน หนึ่ง จะ ต้อง รับผิด ต่อ รถยนต์โดยสารของ โจทก์ คัน อื่น ด้วย เป็น การแสดง ชัดแจ้ง ว่า ข้อหา แต่ละ อย่างตาม ฟ้อง มิได้ เกี่ยวข้อง กัน แม้ จะ เป็น มูลหนี้ เรียก ค่าเสียหาย มีลักษณะ ประเภท เดียว กัน ก็ ตาม โจทก์ จะ นำ มา รวม ฟ้อง เป็น คดี เดียว กันหาได้ไม่ ทั้งนี้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา29 วรรคแรก สำหรับ คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 2726/2528 กับ ที่ 2054/2525ที่ โจทก์ อ้างอิง มา นั้น ข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ จึง นำ มา ปรับคดี นี้ มิได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกาของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share