คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับสามีโจทก์จึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมและพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็น สินสมรส เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนการที่โจทก์ ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีความบกพร่องในเรื่อง ความสามารถ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56กรณีจึงต้องทำการแก้ไขบกพร่องเสียก่อน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ ประมาณ กลาง ปี 2525 จำเลย ได้ ขาย ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 43834 ตำบล นาเคียน อำเภอ นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 55,000 บาท ตกลง ชำระราคา ที่ดิน เป็น งวด ๆ แล้ว จำเลย จะ ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ ชำระ ราคา ครบถ้วน หลังจาก นั้น โจทก์ชำระ ค่าที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ครบถ้วน ตาม สัญญาจะซื้อขาย แล้ว จำเลยมี หน้าที่ ต้อง ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ แต่ จำเลย เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ไป จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ยอม ดำเนินการจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ขอ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา แทน จำเลย
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ตกลง จะขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่โจทก์ และ อ. สามี โจทก์ ซึ่ง เป็น น้อง ชาย ของ จำเลย โจทก์ และ สามี ผ่อนชำระ ค่าที่ดิน ให้ แก่ จำเลย เพียง 40,000 บาท โจทก์ และ สามีบอก จำเลย ว่า ไม่ประสงค์ จะซื้อ ที่ดินพิพาท อีก ต่อไป จำเลย จึง ตกลงยกเลิก สัญญา และ คืนเงิน ที่ โจทก์ และ สามี ชำระ มา แล้ว จน ครบถ้วนส่วน โฉนด ที่ดินพิพาท โจทก์ และ สามี ยัง ไม่ได้ คืน ให้ แก่ จำเลย จำเลยไม่ได้ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เพราะ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท ระงับ ไป แล้วจำเลย จึง ไม่มี หน้าที่ ต้อง ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ให้ แก่โจทก์ โจทก์ เป็น หญิง มี สามี ฟ้องคดี นี้ ถือ เป็น การ จัดการ สินสมรสอย่างหนึ่ง โจทก์ ฟ้อง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต หรือ ได้รับ ความ ยินยอมจาก สามี โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง และ เนื่องจาก สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ยกเลิก ไป แล้ว โจทก์จึง มี หน้าที่ ส่งมอบ โฉนด ที่ดินพิพาท คืน ให้ แก่ จำเลย การ ที่ โจทก์เพิกเฉย ทำให้ จำเลย เสียหาย จึง ฟ้องแย้ง ขอให้ บังคับ ให้ โจทก์ ส่งมอบโฉนด เลขที่ 43834 ตำบล นาเคียน อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช คืน ให้ แก่ จำเลย
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้งว่า โจทก์ ผู้เดียว เป็น ผู้ ตกลง ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท กับ จำเลย โจทก์ ได้ ชำระ ราคา ที่ดินพิพาท ให้ แก่จำเลย ครบถ้วน แล้ว จำเลย ได้ ส่งมอบ โฉนด ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ยึดถือ ไว้ เพื่อ จำเลย จะ ได้ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ โจทก์แต่ จำเลย ผิดสัญญา ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง จำเลย
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ไป ดำเนินการ จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 43834 เลขที่ ดิน 53 ตำบล นาเคียน อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช ให้ แก่ โจทก์ โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ ออกค่าใช้จ่าย หาก จำเลย ไม่ยอม ดำเนินการ จดทะเบียน โอน ก็ ให้ ถือคำพิพากษา ศาล แทน การแสดง เจตนา ให้ยก ฟ้องแย้ง จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ จำเลย ออก ค่าใช้จ่ายและ ค่าธรรมเนียม ใน การ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 43834เลขที่ ดิน 53 ตำบล นาเคียน อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช เท่า ๆ กัน นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ จดทะเบียนสมรสกับ นาย อนันต์ เมื่อ พ.ศ. 2517 โจทก์ ตกลง ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก จำเลย เมื่อ ปี 2525 และ โจทก์ อ้างว่า ผ่อนชำระ เสร็จ พ.ศ. 2526 โจทก์ ฟ้องขอให้ จำเลย โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ วันที่ 13 กันยายน 2533ซึ่ง อยู่ ใน ระหว่าง ที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มีผล ใช้ บังคับ เห็นว่า สิทธิ ตาม สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ที่ โจทก์ อ้างว่า ได้ มา เมื่อ ปี 2525 นั้น เป็น ทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99 เดิม เมื่อ เป็น ทรัพย์สินที่ ได้ มา ระหว่าง สมรส จึง เป็น สินสมรส ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ ได้ ตรวจ ชำระ ใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1474 แต่ โจทก์ จดทะเบียนสมรส ก่อน วัน ใช้ บังคับ พระราชบัญญัติ ให้ ใช้ บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ ได้ ตรวจ ชำระ ใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติ ว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ ได้ ตรวจ ชำระ ใหม่ ท้าย พระราชบัญญัติ นี้ ไม่ กระทบ กระเทือน ถึง อำนาจการ จัดการ สินบริคณห์ ที่ คู่สมรส ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ได้ มี อยู่ แล้ว ฯ และไม่ปรากฏ ว่า มี การ ทำ สัญญา ก่อน สมรส ให้ โจทก์ เป็น ผู้จัดการ สินบริคณห์ดังนั้น สามี โจทก์ จึง ยัง คง เป็น ผู้จัดการ สินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 มาตรา 1468การ ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย โอน ที่ดินพิพาท ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น สินสมรส เป็น การกระทำ เพื่อ ประโยชน์ แก่ สินบริคณห์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้อง ได้รับ อนุญาต จาก สามี โจทก์ ก่อน หาก สามี โจทก์ ไม่ให้ ความ ยินยอมโดย ปราศจาก เหตุผล โจทก์ อาจ ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ สั่ง อนุญาตได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 1475 การ ที่โจทก์ ฟ้องคดี โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก สามี โจทก์ ถือว่า มี การ บกพร่องใน เรื่อง ความ สามารถ ตาม นัย แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 56 ศาลล่าง ทั้ง สองชอบ ที่ จะ สั่ง ให้ โจทก์ แก้ไข ข้อ บกพร่องใน เรื่อง ความ สามารถ เสีย ให้ บริบูรณ์ ตาม มาตรา 56 วรรคสองก่อน แต่ ศาลล่าง ทั้งสอง ไม่ปฏิบัติ กลับ ดำเนินคดี ต่อไป จน เสร็จจึง เห็นสมควร ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการ สั่งให้ โจทก์ แก้ไข ข้อ บกพร่องใน เรื่อง ความ สามารถ ให้ บริบูรณ์ เสีย ก่อน ภายใน กำหนด เวลา อัน สมควรที่ ศาลชั้นต้น จะ สั่ง แล้ว ดำเนินการ ต่อไป ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลชั้นต้นจัดการ ใน เรื่อง ความ สามารถ ใน การ ฟ้องคดี ของ โจทก์ ตาม ที่ กล่าวมา แล้ว พิพากษาคดี ใหม่

Share