แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสองบัญญัติขึ้นใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้นจะนำมาใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วหาได้ไม่เพราะเป็นการขัดต่อเหตุผลและความเป็นจริงที่จะบังคับให้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาโดยที่ตนยังไม่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นได้ฉะนั้นกรณีเพิ่งทราบภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าวคู่ความที่เสียหายจึงชอบจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ตามมาตรา27วรรคแรก
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง จาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม จดทะเบียนโอนสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)เลขที่ 117 ตำบล ชีวาน อำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา เนื้อที่ 16 ไร่ ให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ท้ายฟ้อง หาก จำเลย ทั้ง สามไม่สามารถ จดทะเบียน โอนสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ได้ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สาม
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม ตกลง ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน
ศาลชั้นต้น พิพากษา ตามยอม โดย จำเลย ทั้ง สาม ยินยอม โอนสิทธิครอบครอง ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 117ตำบล ชีวาน (กระชอน) อำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา เนื้อที่ 16 ไร่ แก่ โจทก์ ที่ สำนักงาน ที่ดิน อำเภอ พิมาย จังหวัด นครราชสีมา ภายใน วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2529 หาก ถึง กำหนด นัด จำเลย ทั้ง สามไม่ไป โอนสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ไม่ว่า กรณี ใด ๆให้ ถือเอา คำพิพากษา ตามยอม แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สาม
จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ทราบ ว่า โจทก์ ได้ ยื่นฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็น คดี นี้ เนื่องจาก จำเลย ที่ 1 มิได้ มี ภูมิลำเนาอยู่ บ้าน เลขที่ 14 หมู่ ที่ 1 บ้านหนองเมา ตำบลมาบตะโกเอน อำเภอ ครบุรี จังหวัด นครราชสีมา ตาม ฟ้องโจทก์ ความจริง จำเลย ที่ 1 มี ภูมิลำเนา อยู่ บ้าน เลขที่ 42 หมู่ ที่ 5 ตำบล บึงกระจับ อำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัด เพชรบูรณ์ และ ไม่ เคยลงลายมือชื่อ เป็น ผู้รับ หมายเรียก และ สำเนา คำฟ้อง ลายมือชื่อ ใน ใบ รับ หมายเป็น ลายมือชื่อปลอม โดย โจทก์ร่วม กับ บุคคลภายนอก เป็น ผู้ทำ ขึ้นและ ให้ บุคคลภายนอก เป็น ผู้รับ นอกจาก นี้ โจทก์ ได้ ร่วม กับนาย สมชัย ส่งโชติกุลพันธ์ ทนายโจทก์ และ นาย วิเวก สุทธินีละพงษ์ ปลอม ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ใบแต่งทนายความ โดย ให้ นาย วิเวก ทนายความ มีอำนาจ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ต่อ ศาล แทน และ นาย สมชัย กับ นาย วิเวก ได้ ยื่น คำแถลง ขอ ทำ ยอม จน ศาล ได้ พิพากษา ตามยอม ต่อมา โจทก์ได้ นำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ และ คำพิพากษา ตามยอม ไป โอนที่ดิน และ ขอ ออก เป็น โฉนด ที่ดิน เลขที่ 21708 ตำบล กระชอน อำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา เมื่อ ต้น ปี 2536 จำเลย ที่ 1 ไป ดำเนินการ ตรวจสอบเพื่อ จดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ แก่ นาย เหล็ก มีมานะ บิดา โจทก์ ที่ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด นครราชสีมา สาขา พิมาย ซึ่ง จำเลย ทั้ง สาม(ที่ ถูก น่า จะ เป็น จำเลย ที่ 1) ได้ ขาย และ โอนสิทธิ ครอบครองที่ดิน ให้ แก่ นาย เหล็ก พร้อม ส่งมอบ เอกสารสิทธิ ให้ นาย เหล็ก ยึดถือ ไว้ ตั้งแต่ ปี 2502 จำเลย ทั้ง สาม (ที่ ถูก น่า จะ เป็น จำเลย ที่ 1) ไม่เคยขาย ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง โจทก์ร่วม กัน ทำ สัญญาซื้อขาย ปลอมทำให้ จำเลย ที่ 1 ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ เพิกถอน สัญญาประนีประนอม ยอมความ และ คำพิพากษา ตามยอม และ ให้ ลงโทษ โจทก์นาย สมชัย และนายวิเวก ฐาน ละเมิด อำนาจศาล
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ว่า คดี นี้ ถึงที่สุด แล้วจำเลย ที่ 1 ไม่อาจ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล เพิกถอน สัญญา ประนีประนอม ยอมความและ คำพิพากษา ตามยอม ใน คดี เดิม นี้ ได้ ให้ยก คำร้อง
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “หาก ข้อเท็จจริง เป็น ไป ตาม คำร้องของ จำเลย ที่ 1 กระบวนพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ย่อม เป็น การ ไม่ชอบ เพราะเท่ากับ ไม่มี การ ส่งหมาย เรียก และ สำเนา คำฟ้อง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1เพื่อ แก้ คดี ตาม ที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173วรรคแรก บัญญัติ ไว้ และ การกระทำ ของ โจทก์ ทนายโจทก์ กับพวกรวมทั้ง ทนายจำเลย ทั้ง สาม เกิดจาก การ ปลอม ลายมือชื่อ ใน เอกสารสิทธิและ การ ที่ จำเลย ที่ 1 มิได้ ลงลายมือชื่อ แต่งตั้ง ให้ นาย วิเวก เป็น ทนายความ ของ ตน ทั้ง ไม่ได้ มอบอำนาจ ให้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความแต่ นาย วิเวก ได้ ดำเนินการ ใน ฐานะ ทนายความ ของ จำเลย ที่ 1ตลอดมา จน เป็นเหตุ ให้ ศาลชั้นต้น หลงผิด ดำเนิน กระบวนพิจารณา ไป จนกระทั่ง ได้ มี คำพิพากษา ตามยอม ให้ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม หาก จำเลย ที่ 1ต้อง ผูกพัน ที่ จะ ต้อง ถูก บังคับ ตาม คำพิพากษา ดังกล่าว โดย ไม่อาจ จะ ร้องขอให้ เพิกถอน กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ นั้น เสีย ได้ ย่อม เห็น ได้ ชัด ว่าจำเลย ที่ 1 ได้รับ ความเสียหาย และ ไม่ได้ รับ ความยุติธรรม ฉะนั้นจำเลย ที่ 1 จึง ชอบ ที่ จะ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาลชั้นต้น ให้ เพิกถอนการ พิจารณา ที่ ศาลชั้นต้น ได้ ดำเนินการ ไป โดย ผิดระเบียบ นั้น เสีย ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก และ เมื่อศาลชั้นต้น ไต่สวน คำร้องของจำเลย ที่ 1 แล้ว ได้ความ จริง ตาม คำร้องเพียงใด ก็ ชอบ ที่ จะ มี คำสั่ง ให้ เพิกถอน กระบวนพิจารณา ย้อน ไป ถึง กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ นั้น เสีย ใหม่ ได้ เพียง นั้น ฉะนั้น การ ที่ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า คดี นี้ ถึงที่สุด แล้ว จำเลย ที่ 1 ไม่อาจ ยื่นคำร้องขอ ให้ ศาล เพิกถอน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ และ คำพิพากษาตามยอม ใน คดี เดิม นี้ ได้ ให้ยก คำร้อง และ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่าเหตุผล ต่าง ๆ ตาม คำร้อง ที่ จำเลย ที่ 1 อ้าง มา นั้น เป็น เรื่อง ที่เกิดขึ้น ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น เป็น กรณี ที่ จำเลย ที่ 1กล่าวอ้าง ว่าการ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ผิดระเบียบ แต่ จะ ถือว่า เป็น การขอ เพิกถอน การ พิจารณา ที่ ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ก็ ไม่ได้ เพราะ เรื่อง นี้เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 ขอ เพิกถอน คำพิพากษา ตามยอม หาใช่ เพิกถอนการ พิจารณา ที่ ผิดระเบียบ ไม่ โดยเฉพาะ มาตรา 27 วรรคสอง บังคับ ว่าข้อ คัดค้าน เรื่อง ผิดระเบียบ ต้อง ยื่น ก่อน มี คำพิพากษา ซึ่ง เห็น ได้ชัด ว่า จำเลย ที่ 1 จะ ขอ เพิกถอน คำพิพากษา ไม่ได้ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็นพ้อง ด้วย เพราะ บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง บัญญัติ ขึ้น ใช้ กับ กรณี ที่ คู่ความ ฝ่าย ที่ เสียหายได้ ทราบ ข้อความ หรือ พฤติการณ์ อันเป็น มูล แห่ง ข้ออ้าง ของ การ ผิดระเบียบนั้น ก่อน ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา เท่านั้น จะ นำ มา ใช้ กับ กรณี ที่จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น คู่ความ ฝ่าย ที่ เสียหาย และ เพิ่ง ทราบ ข้อความ หรือพฤติการณ์ ของ โจทก์ และ ทนายโจทก์ กับพวก และ นาย วิเวก ทนาย ของ จำเลย ทั้ง สาม อันเป็น มูล แห่ง ข้ออ้าง ของ การ ผิดระเบียบ นั้น ภายหลังจาก ที่ ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา แล้ว หาได้ไม่ เพราะ เป็น การ ขัด ต่อ เหตุผลและ ความ เป็น จริง ที่ จะ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น คู่ความ ฝ่าย ที่เสียหาย จาก กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ มา ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอนกระบวนพิจารณา เสีย ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น จะ มี คำพิพากษา โดย ที่ ตน ยังไม่ทราบ ข้อความ หรือ พฤติการณ์ อันเป็น มูล แห่ง ข้ออ้าง นั้น ได้ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน ให้ยก คำร้องขอ ของ จำเลย ที่ 1 ตามคำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ที่ 1ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ รับคำ ร้องขอ ของ จำเลย ที่ 1 ไว้ ไต่สวน ต่อไป