คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา340ตรีเป็นเพียงบทบัญญัติให้เพิ่มโทษผู้กระทำผิดให้หนักขึ้นเท่านั้นลำพังมาตรานี้หาได้เป็นความผิดอีกบทหนึ่งไม่จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดผู้ที่จะต้องระวางโทษหนักขึ้นตามมาตราดังกล่าวจึงต้องหมายถึงเฉพาะผู้ที่มีพฤติการณ์ตามที่บัญญัติไว้เท่านั้นกรณีไม่เป็นเหตุในลักษณะคดีที่จะใช้เพิ่มโทษผู้กระทำผิดทุกคนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา89. จำเลยเพียงขับรถยนต์พาคนร้ายอื่นมาส่งและจำเลยนั่งรอในรถที่จอดอยู่ในซอยห่างที่เกิดเหตุประมาณ120เมตรจุดนั้นไม่สามารถมองเห็นที่เกิดเหตุได้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจะคอยดูต้นทางให้คนร้ายอื่นทั้งข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยร่วมสมคบกับคนร้ายอื่นวางแผนตระเตรียมมาปล้นทรัพย์ผู้เสียหายและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ร่วมกระทำการอย่างใดอันพึงถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำผิดแต่การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่คนร้ายอื่นจำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกับ พวก ปล้น ทรัพย์ ของ นางลุกมานีใบ ผู้เสียหาย จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ให้การ รับสารภาพ จำเลย ที่3 ที่ 4 ให้การ ปฏิเสธ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สี่ มีความ ผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 2, 340 ตรี จำเลย ที่1 ที่ 2 ที่ 4 มี ความ ผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ ฐาน มี และพา อาวุธ ปืน ติดตัว ไป โดย ไม่ รับ อนุญาต และ ยัง มี ความ ผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ฐาน พา อาวุธ มีด ไป ใน เมือง โดย ไม่ มีเหตุ อัน สมควร
จำเลย ที่ 3 ที่ 4 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ที่1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่ มี ความ ผิด ตาม มาตรา 340 ตรี คง ผิด ตาม มาตรา340 วรรค 2 เท่านั้น จำเลย ที่ 3 มี ความ ผิด ตาม มาตรา 340 วรรค 2ประกอบ ด้วย มาตรา 86 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ขับ รถยนต์คัน หมายเลข ทะเบียน 4ค-9788 มา ส่ง จำเลย ที่ 1 กับ พวก เพื่อ ปล้นทรัพย์ จริง ปัญหา มี ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ร่วม ปล้น ทรัพย์ ผู้เสียหายหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ ไม่ มี พยาน นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ร่วมสมคบ กับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กับพวก วางแผน และ ตระเตรียม มาปล้น ทรัพย์ ผู้เสียหาย อย่างไร จำเลย ที่ 3 เพียง แต่ ขับ รถยนต์ มาส่ง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กับพวก แล้ว จอด รถ รอ อยู่ ใน ซอยพร้อมพงษ์ ห่าง ร้าน ที่ เกิดเหตุ ประมาณ 120 เมตร ขณะ ถูก จับกุมจำเลย ที่ 3 นั่ง รอ อยู่ ที่นั่ง คนขับ และ สตาร์ทรถ จะ หลบ หนี เป็นพิรุธ ตาม แผนที่ สังเขป ที่ เกิดเหตุ เอกสาร หมาย จ.9 เห็น ได้ ว่าตรง ที่ จำเลย ที่ 3 จอด รถ อยู่ ไม่ สามารถ มอง เห็น ร้าน ที่ เกิดเหตุได้ เพราะ มี ตึกแถว ที่ ปากซอย บัง อยู่ จึง เป็น ไป ไม่ ได้ ที่ จะฟัง ว่า จำเลย ที่ 3 คอย ดู ต้นทาง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 กับพวก ทั้งข้อเท็จจริง ก็ ไม่ ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ร่วม กระทำ การ อย่างหนึ่ง อย่าง ใด อัน พึง ถือ ได้ ว่า เป็น การ แบ่ง หน้าที่ กัน ทำ การปล้น ทรัพย์ ผู้เสียหาย จึง ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย ที่ 3 เป็น ตัวการร่วม กระทำ ผิด คดี นี้ การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 3 เป็น เพียง การช่วยเหลือ และ ให้ ความ สะดวก แก่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กับพวกใน การ ปล้น ทรัพย์ ผู้เสียหาย เท่านั้น จำเลย ที่ 3 มี ความผิด ฐานสนับสนุน การ กระทำ ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 จะ ต้องรับ โทษ หนัก ขึ้น ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี โดย มี หรือใช้ อาวุธ ปืน และ ยานพาหนะ เพื่อ กระทำ ผิด ดัง ฎีกา ของ โจทก์ หรือไม่ ศาลฎีกา พิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า ตาม ที่ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว ข้างต้นว่า จำเลย ที่ 3 เพียง แต่ ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 4ค-9788 มา ส่งจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กับพวก อัน เป็น การ ช่วยเหลือ ให้ ความสะดวก ใน การ มา ปล้น ทรัพย์ ผู้เสียหาย เท่านั้น ข้อเท็จจริง ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กับพวก ได้ ใช้ รถยนต์ ดังกล่าว เพื่อกระทำ ผิด แต่ อย่างใด ส่วน การ มี และ ใช้ อาวุธ ปืน ใน การ ปล้นทรัพย์ นั้น ข้อเท็จจริง ก็ ปรากฏ ว่า พวก ของ จำเลย อีก คน หนึ่ง ซึ่งหลบ หนี ยัง จับ ตัว ไม่ ได้ เป็น คน ถือ ปืน ขู่ บังคับ ผู้เสียหายส่วน จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 มี แต่ เพียง มีด คน ละ 1 เล่มเท่านั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี บัญญัติ ว่า ‘ผู้ใด กระทำความผิด ตาม มาตรา ….ฯลฯ มาตรา 340…ฯลฯ โดย มี หรือ ใช้ อาวุธ ปืน ….ฯลฯ….. ต้อง ระวาง โทษ หนัก กว่า ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา นั้นๆกึ่งหนึ่ง’ จึง เห็น ได้ ว่า มาตรา 340 ตรี เป็น เพียง บท บัญญัติให้ เพิ่ม โทษ ผู้ กระทำ ผิด ให้ หนัก ขึ้น เท่านั้น ลำพัง มาตรา 340ตรี หา ได้ เป็น ความผิด อีก บท หนึ่ง ไม่ จึง ต้อง ตี ความ โดยเคร่งครัด ผู้ ที่ จะ ต้อง ระวาง โทษ หนัก ขึ้น ตาม มาตรา 340 ตรีจึง ต้อง หมายถึง เฉพาะ ผู้ ที่ แต่ง เครื่องแบบ ทหาร หรือ ตำรวจ หรือผู้ ที่ แต่งกาย ให้ เข้าใจ ว่า เป็น ทหาร หรือ ตำรวจ หรือ ผู้ ที่ มีหรือ ใช้ อาวุธ ปืน หรือ วัตถุ ระเบิด หรือ ผู้ ที่ ใช้ ยานพาหนะ เพื่อกระทำ ความผิด หรือ พา ทรัพย์ นั้น ไป หรือ เพื่อ ให้ พ้น จาก การจับกุม เท่านั้น ดังนั้น เมื่อ ทาง พิจารณา ปรากฏ ว่า คนร้าย ที่ ใช้อาวุธ ปืน ขู่ ผู้เสียหาย มิใช่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 แล้วแม้ เจ้าหน้าที่ ตำรวจ จับกุม จำเลย ทั้ง สาม นี้ ได้ พร้อม อาวุธ ปืนอยู่ ใน กระเป๋า เอกสาร ก็ ตาม ก็ เป็น การ ได้ อาวุธ ปืน หลังจาก การปล้น ทรัพย์ ผู้เสียหาย สำเร็จ แล้ว คนร้าย ที่ ใช้ ปืน ขู่ ผู้เสียหายอาจ จะ เก็บ ปืน ไว้ ใน กระเป๋า เอกสาร ให้ จำเลย ที่ 2 เป็น คน ถือก็ ได้ กรณี ไม่ เป็น เหตุ ใน ลักษณะ คดี ที่ จะ ใช้ เพิ่ม โทษ แก่ผู้ กระทำ ความผิด ใน การ กระทำ ความผิด นี้ ด้วย กัน ทุก คน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89
พิพากษายืน

Share