คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

มารดาโจทก์ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งยังอยู่ภายในข้อกำหนดห้ามโอนให้จำเลยโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งตกเป็น โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม การครอบครองของผู้รับโอนจึงต้องถือว่าเป็นการ ครอบครองแทนเจ้าของที่ดินพิพาทแม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ยังคงถือว่าครอบครองไว้แทนจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา1381หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะ แสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา1377,1379การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอนเท่ากับสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามโอนตกเป็น โมฆะเช่นกันคดีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน1ปีตามมาตรา1374

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ที่ดิน 2 แปลง ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) เลขที่ 568 และ 1705 เดิม เป็น ของ นาง ทอง มารดา โจทก์ มารดา โจทก์ ได้ นำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ทั้ง 2 ฉบับมอบ ให้ จำเลย ไว้ เพื่อ เป็น ประกัน การกู้ยืมเงิน จาก จำเลย จำนวน 40,000บาท เมื่อ มารดา โจทก์ ตาย โจทก์ ได้ ขอ จดทะเบียน รับมรดก ที่ดินทั้ง 2 แปลง ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน โจทก์ ขอให้ จำเลย ส่งมอบ หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) คู่ฉบับ ให้ แก่ เจ้าพนักงานแต่ จำเลย ให้ โจทก์ ลงชื่อ ใน แบบพิมพ์ หนังสือมอบอำนาจ ที่ ยัง มิได้ กรอกข้อความ ให้ จำเลย ไว้ เพื่อ นำ ไป ใช้ ใน การ ขอรับ หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) คืน ต่อมา เมื่อ ต้น เดือน มิถุนายน 2533โจทก์ ติดต่อ ขอ ชำระหนี้ จำนวน 40,000 บาท แก่ จำเลย และ ขอรับ หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) 2 ฉบับ คืน จำเลย กลับ อ้างว่าที่ดิน ตกเป็น ของ จำเลย แล้ว และ นำ ใบมอบอำนาจ ที่ โจทก์ ลงชื่อ ให้ ไว้กรอก ข้อความ อันเป็นเท็จ ว่า โจทก์ ขาย ที่ดิน ทั้ง 2 แปลง ให้ แก่ จำเลยและ ได้รับ เงิน ไป แล้ว เป็น เงิน 150,000 บาท และ จัดการ จดทะเบียนโอน ขาย ที่ดิน ทั้ง 2 แปลง เป็น ของ จำเลย ขอให้ จำเลย จัดการจดทะเบียน เพิกถอน การ ขาย ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) เลขที่ 568 และ เลขที่ 1705 เมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2533มิฉะนั้น ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน เจตนา ของ จำเลย และ ให้ จำเลยส่งมอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ทั้ง 2 ฉบับ แก่ โจทก์พร้อม ทั้ง รับ เงิน จำนวน 40,000 บาท จาก โจทก์ มิฉะนั้น ให้ ถือว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ทั้ง 2 ฉบับ สูญหายใช้ การ ไม่ได้ อีก ต่อไป กับ ห้าม จำเลย และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง ใน ที่ดินทั้ง 2 แปลง
จำเลย ให้การ ว่า มารดา โจทก์ ได้รับ อนุญาต จาก กรมประชาสงเคราะห์ให้ เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ทั้ง 2 แปลง เมื่อ มารดา โจทก์ทำประโยชน์ จน ได้รับ ผลผลิต แล้ว ทางราชการ ก็ ออก หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ให้ โดย มี กำหนด ห้ามโอน ภายใน ระยะเวลา 5 ปีเมื่อ เดือน ธันวาคม 2525 มารดา โจทก์ ได้ ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลยใน ราคา 150,000 บาท และ มอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) มอบ การ ครอบครอง ที่ดิน ให้ จำเลย และ ยินยอม จะ ไปจดทะเบียน ให้ เป็น ของ จำเลย เมื่อ ครบ กำหนด 5 ปี ครั้น ครบ กำหนด เวลาดังกล่าว โจทก์ ไม่ ดำเนินการ จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลยและ ไม่ยอม รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่ บน ที่ดินพิพาท จำเลย จำต้อง ให้เงิน โจทก์ จำนวน 40,000 บาท เป็น ค่า รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าวโจทก์ จึง ยอม ลงลายมือชื่อ ใน ใบมอบอำนาจ ให้ จำเลย ไป โอน ที่ดินพิพาทเป็น ของ จำเลย จำเลย จึง จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท เป็น ของ จำเลยโดย ความ ยินยอม ของ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ นิติกรรม การ โอน ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 568 และ 1705 ตำบล หนองสาหร่าย อำเภอ ปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ระหว่าง โจทก์ จำเลย เป็น โมฆะ ให้ จำเลย ส่งมอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ดังกล่าว คืน แก่ โจทก์พร้อม ทั้ง รับ เงิน จำนวน 40,000 บาท จาก โจทก์ ห้าม จำเลย และ บริวารเกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ตามที่ คู่ความ มิได้ ฎีกา โต้เถียง ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง 2 แปลง เป็น ที่ดินมี หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ที่ ทางราชการ ออก ให้ แก่นาง ทอง มารดา โจทก์ เมื่อ พ.ศ. 2525 โดย มี ข้อกำหนด ห้ามโอน ภายใน 5 ปี ตาม พระราชบัญญัติ จัด ที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 12ก่อน พ้น กำหนด เวลา ดังกล่าว มารดา โจทก์ ได้ มอบ หนังสือ รับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ทั้ง 2 ฉบับ ให้ จำเลย ยึดถือ ไว้ มี ปัญหาที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ จำเลยเห็นว่า โจทก์ อ้างว่า นาง ทอง มารดา โจทก์ กู้ยืม เงิน ไป จาก จำเลย โดย มอบ ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ใช้ เลี้ยง โค ต่าง ดอกเบี้ย ซึ่ง โจทก์ คง มี แต่ตัว โจทก์ เพียง คนเดียว เท่านั้น มา เบิกความ ลอย ๆ ว่า มารดา โจทก์ไป กู้ยืม เงิน มาจาก จำเลย เพื่อ รักษา ตัว โดย ไม่มี หลักฐาน การ กู้ยืม หรือพยาน อื่น มา เบิกความ สนับสนุน ส่วน จำเลย มี ตัว จำเลย และ นาย จรูญ อรุณรักษ์ ผู้ใหญ่บ้าน มา เบิกความ ว่า มารดา โจทก์ ได้ ตกลง ขาย ที่ดิน พิพาท ให้ จำเลย แต่ เนื่องจาก ที่ดิน อยู่ ภายใต้ ข้อกำหนด ห้ามโอนมารดา โจทก์ จึง พิมพ์ ลายพิมพ์ นิ้วมือ ใน ใบมอบอำนาจ โดย ยัง ไม่ กรอก ข้อความให้ จำเลย เพื่อ ให้ จำเลย ไป โอน ที่พิพาท ภายหลัง พ้น กำหนด ห้ามการ โอน และ มอบ การ ครอบครอง ให้ จำเลย พยานหลักฐาน ของ จำเลย มี น้ำหนักให้ รับฟัง มาก กว่า พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ฟังได้ ว่า นาง ทอง มารดา โจทก์ ขาย ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย และ มอบ การ ครอบครอง ให้ จำเลย แล้ว มิใช่ เป็นเรื่อง ที่ มารดาโจทก์ ไป กู้ยืม เงิน จาก จำเลย แล้ว มอบ ที่ดินพิพาท ให้ จำเลยเลี้ยง โค ต่าง ดอกเบี้ย ดัง โจทก์ อ้าง แต่ การ ซื้อ ขาย ดังกล่าว มิได้ ทำ เป็นหนังสือ และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และ ที่พิพาท เป็น ที่ดินที่ ทางราชการ ห้ามโอน ภายใน 5 ปี ดัง ข้อความ ที่ ปรากฏ ด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เอกสาร หมาย จ. 1 และจ. 2 การ ซื้อ ขาย ที่ดิน ระหว่าง นาง ทอง มารดา โจทก์ กับ จำเลย จึง ไม่ถูกต้อง ตาม แบบ และ เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อห้าม ชัดแจ้ง ตกเป็น โมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม ดังนั้น การ ครอบครองของ ผู้รับโอน จึง ต้อง ถือว่า เป็น การ ครอบครอง ไว้ แทน เจ้าของ ที่ดินพิพาทแม้ จะ พ้น กำหนด เวลา ห้ามโอน แล้ว ก็ ยัง คง ถือว่า ครอบครอง ไว้ แทนตลอดมา จนกว่า จะ มี การ บอกกล่าว เปลี่ยน ลักษณะ แห่ง การ ยึดถือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 หรือ จนกว่า เจ้าของ ที่ดินพิพาท จะ แสดง เจตนา สละ การ ครอบครอง ให้ ตาม มาตรา 1377, 1379คดี นี้ ไม่มี ปัญหา ตาม มาตรา 1381 เพราะ จำเลย มิได้ ต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การส่วน ปัญหา ตาม มาตรา 1377, 1379 จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ สละ สิทธิ ครอบครองด้วย การ รื้อ บ้าน และ ขนย้าย ครอบครัว ออกจาก ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ ปี 2529เห็นว่า ตาม น.ส.3 ก. หมาย จ. 1, จ. 2 ออก ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน2525 ข้อเท็จจริง จึง เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ รื้อ บ้าน ไป ใน ระยะเวลา ห้ามโอนผล ก็ เท่ากับ การ สละ เจตนา ครอบครอง เป็น การ ฝ่าฝืน กฎหมาย ที่ ห้ามโอนตกเป็น โมฆะ เช่นกัน ส่วน เมื่อ พ้น กำหนด เวลา ห้ามโอน แล้ว ไม่ปรากฏการแสดง เจตนา สละ การ ครอบครอง ของ โจทก์ แต่ ประการใด กลับ ปรากฏว่าโจทก์ มา ฟ้อง เรียก ที่ดินพิพาท คืน ด้วย ซ้ำ ไป จำเลย จึง ไม่ได้ สิทธิครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า เป็น การ ครอบครองแทนจึง ไม่อยู่ ใน บังคับ ต้อง ฟ้องคดี เพื่อ ปลดเปลื้อง การ รบกวน ภายใน 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ”
พิพากษายืน

Share