คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาการนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229จึงเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลภายในกำหนดเมื่อไม่ปฏิบัติตามและมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอีกในวันสุดท้ายโดยไม่มีพฤติการณ์พิเศษและศาลสั่งยกคำร้องจำเลยทั้งสองก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเดิมของศาลศาลจึงไม่จำต้องกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำเงินดังกล่าวมาวางศาลอีกมิฉะนั้นก็เท่ากับว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลาอีกนั่นเอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายเวลาที่จำเลยทั้งสองต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลกับมีคำสั่งรับอุทธรณ์ด้วยเป็นการข้ามขั้นตอนผิดระเบียบของกระบวนการพิจารณาชั้นตรวจรับอุทธรณ์ตามมาตรา27ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจเพิกถอนแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองได้ เมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ตามมาตรา236เท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำหน่ายอุทธรณ์เพราะจำเลยทั้งสองไม่วางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์จึงไม่ชอบ

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันใช้ เงิน พร้อม ดอกเบี้ย กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทน โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ และ ยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลาวางเงิน ค่าธรรมเนียม ที่ จะ ต้อง ใช้ ให้ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ภายใน20 วัน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ รับ อุทธรณ์ และ อนุญาต ให้ ขยาย ระยะเวลาวางเงิน ค่าธรรมเนียม ที่ จะ ต้อง ใช้ ให้ แก่ โจทก์ ตาม ขอ ครั้น วัน สุดท้ายของ ระยะเวลา ที่ ขยาย จำเลย ทั้ง สอง ยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลาวางเงิน ค่าธรรมเนียม ดังกล่าว ออก ไป อีก 30 วัน ศาลชั้นต้น มี คำสั่งไม่อนุญาต ยกคำร้อง
ต่อมา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง เพิกถอน คำสั่ง ที่ รับ อุทธรณ์ และ มีคำสั่ง ใหม่ เป็น ไม่รับ อุทธรณ์ จำเลย ทั้ง สอง ใน วันเดียว กัน จำเลยทั้ง สอง ได้ นำ เงิน ค่าธรรมเนียม ที่ จะ ต้อง ใช้ ให้ แก่ โจทก์ มา วาง ต่อ ศาลศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า จำเลย ทั้ง สอง วางเงิน เลย กำหนด ระยะเวลา ที่ได้รับ อนุญาต ให้ วางเงิน และ ศาล มี คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ แล้ว จึงไม่รับ เงิน ที่ จำเลย ทั้ง สอง นำ มา วาง
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ เพิกถอน คำสั่งรับ อุทธรณ์ รวมทั้ง คำสั่ง ใหม่ ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ และ มี คำสั่ง ให้จำหน่าย อุทธรณ์ จำเลย ทั้ง สอง ออกจาก สารบบความ เพราะ เหตุ ทิ้งฟ้องอุทธรณ์
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ข้อ แรก ว่า กรณีมีเหตุ สมควร ที่ ศาล จะ สั่ง อนุญาต ให้ ขยายเวลา ใน การ วางเงิน ค่าธรรมเนียมที่ จะ ต้อง ใช้ แก่ โจทก์ ตาม คำร้อง ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536 ออก ไปอีก ครั้งหนึ่ง หรือไม่ ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง ได้ อุทธรณ์ ปัญหา ข้อ นี้มา ด้วย แต่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ ยกขึ้น วินิจฉัย เป็น การ ไม่ชอบ ด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 กำหนด ให้ ผู้อุทธรณ์ ต้อง นำ เงิน ค่าธรรมเนียม ซึ่ง จะ ต้องใช้ แก่ คู่ความ อีกฝ่าย หนึ่ง ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น มา วางศาล พร้อมกับ อุทธรณ์ แต่ จำเลย ทั้ง สอง ยื่น อุทธรณ์ และ ยื่น คำร้องขอ อนุญาตขยาย ระยะเวลา วางเงิน ค่าธรรมเนียม ดังกล่าว จำนวน 29,197.50 บาทไป อีก 20 วัน ศาลชั้นต้น อนุญาต ซึ่ง จะ ครบ กำหนด วางเงิน ค่าธรรมเนียมวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536 ใน วัน ดังกล่าว จำเลย ทั้ง สอง ยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลา วางเงิน ออก ไป ถึง 30 วัน ซึ่ง การ ขอ ขยาย ระยะเวลาดังกล่าว จะ กระทำ ได้ ต่อเมื่อ มี พฤติการณ์ พิเศษ ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 23 จำเลย ทั้ง สอง อ้าง เหตุ ขอ ขยายระยะเวลา ครั้งแรก ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ภาระ ที่ จะ ต้อง ใช้ จ่ายเงินจำนวน มาก มี เงิน ไม่พอ จะ เสีย ค่าขึ้นศาล ค่าธรรมเนียม ใช้ แทน โจทก์และ ค่า ทนายความ ใน คราว เดียว กัน ขอ ขยาย ระยะเวลา ออก ไป 20 วันเพื่อ จำเลย หา เงิน หรือ จำหน่าย ทรัพย์สิน บางส่วน และ นำ เงิน มา วางศาลใน การ ขอ ขยาย ระยะเวลา ครั้งที่ สอง จำเลย ทั้ง สอง ก็ อ้าง เหตุ ทำนองเดียว กัน เห็นว่า เงิน ค่าธรรมเนียม ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง จะ ต้อง ให้ แก่โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น มี เพียง 29,197.50 บาท และ ศาลชั้นต้นก็ ได้ อนุญาต ให้ ขยาย ระยะเวลา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ถึง 20 วัน ตาม ที่จำเลย ทั้ง สอง ร้องขอ แล้ว การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่นำ เงิน มา วาง แต่ กลับยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลา ออก ไป อีก โดย อ้าง เหตุ ทำนอง เดียว กันกรณี ไม่ใช่ พฤติการณ์ พิเศษ ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ให้ ขยาย ระยะเวลา แก่ จำเลย ทั้ง สอง อีก จึง ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ต่อไป ว่า เมื่อ ศาล ไม่อนุญาต ให้ ขยาย ระยะเวลาก็ ควร กำหนด ระยะเวลา ให้ จำเลย ทั้ง สอง นำ เงิน ค่าธรรมเนียม ที่ จะ ต้องใช้ แก่ โจทก์ มา วางศาล ภายใน 7 วัน เพราะ วันที่ จำเลย ทั้ง สอง ยื่นคำร้องขอ ขยาย ระยะเวลา ดังกล่าว เป็น วัน ครบ กำหนด นั้น เห็นว่า จำเลยทั้ง สอง ได้รับ อนุญาต ให้ ขยาย ระยะเวลา ออก ไป 20 วัน แล้ว จำเลย ทั้ง สองย่อม ทราบ ดี ว่า ครบ กำหนด เวลา เมื่อใด เป็น หน้าที่ ของ จำเลย ทั้ง สองที่ จะ ต้อง ปฏิบัติ ตาม คำสั่งศาล การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่งศาล และ มา ยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลา อีกใน วัน สุดท้าย เมื่อ ไม่มี เหตุ ที่ ศาล จะ อนุญาต ให้ ได้ และ ศาล ได้ มี คำสั่งยกคำร้อง จำเลย ทั้ง สอง ก็ ต้อง ปฏิบัติ ตาม คำสั่งศาล ที่ ได้ สั่ง ไว้ เดิมหาก ศาล กำหนด ระยะเวลา ให้ จำเลย ทั้ง สอง นำ เงิน ค่าธรรมเนียม ดังกล่าวมา วางศาล ภายใน 7 วัน ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ย่อม มีผล เท่ากับ ว่าศาล อนุญาต ให้ ขยาย ระยะเวลา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ออก ไป อีก 7 วัน นั่นเองทั้ง กรณี ไม่ใช่ เรื่อง ของ การ มิได้ ชำระ หรือ วาง ค่าธรรมเนียมศาล โดยถูกต้อง ครบถ้วน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ซึ่ง ศาล จะ ต้อง สั่ง ให้ ชำระ หรือ วาง ค่าธรรมเนียมศาล ให้ ถูกต้องครบถ้วน เสีย ก่อน ที่ จะ รับ หรือไม่ รับคำ คู่ความ ที่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ กำหนด ระยะเวลา ให้ จำเลย ทั้ง สอง นำ เงิน ค่าธรรมเนียม ที่ จะ ต้องใช้ แก่ โจทก์ มา วางศาล อีก จึง ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สองฟังไม่ขึ้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า เพื่อ ประโยชน์ แห่ง ความยุติธรรมชอบ ที่ ศาล จะ มี คำสั่ง ให้ รับ ค่าธรรมเนียม ดังกล่าว จาก จำเลย ทั้ง สองนั้น เห็นว่า เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ นำ เงิน ค่าธรรมเนียม ที่ จะ ต้องใช้ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา มา วางศาล ภายใน เวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนดและ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว จึงไม่มี เหตุ ที่ ศาล จะ รับ เงิน ดังกล่าว ไว้ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับเงิน ค่าธรรมเนียม ดังกล่าว จึง ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สองฟังไม่ขึ้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่า แม้ ศาลชั้นต้น จะ สั่ง รับอุทธรณ์ แล้ว แต่ จำเลย ทั้ง สอง ก็ ยัง ไม่ได้ เสีย ค่าธรรมเนียม แทน โจทก์กระบวนพิจารณา จึง ยัง ไม่ ขึ้น สู่ ศาลอุทธรณ์ ฉะนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ทิ้งฟ้อง อุทธรณ์ จึง ไม่ถูกต้อง เป็น การวินิจฉัย นอกประเด็น นั้น เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 บัญญัติ ให้ ผู้อุทธรณ์ ต้อง นำ เงิน ค่าธรรมเนียม ซึ่ง จะ ต้องใช้ แก่ คู่ความ อีกฝ่าย หนึ่ง ตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง มา วางศาล พร้อม กับอุทธรณ์ นั้น ด้วย ดังนั้น หาก ผู้อุทธรณ์ ไม่นำ เงิน ค่าธรรมเนียมดังกล่าว มา วางศาล พร้อม กับ อุทธรณ์ แล้ว ศาลชั้นต้น ซึ่ง มี หน้าที่ตรวจรับ อุทธรณ์ ต้อง มี คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์นั้น เสีย คดี นี้ จำเลย ทั้ง สอง ยื่น อุทธรณ์ โดย ไม่ได้ วางเงินค่าธรรมเนียม ซึ่ง จะ ต้อง ใช้ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แต่ได้ ยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลา วางเงิน ค่าธรรมเนียม นั้น ต่อ ศาลภายใน 20 วัน และ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ จำเลย ทั้ง สองนำ เงิน ค่าธรรมเนียม ดังกล่าว มา วางศาล ภายใน กำหนด 20 วัน กับ มีคำสั่ง รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง ด้วย ทั้งที่ จำเลย ทั้ง สอง ยัง ไม่ได้วางเงิน ค่าธรรมเนียม ซึ่ง จะ ต้อง ใช้ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา เช่นนี้ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง จึง ข้าม ขั้นตอนของ กระบวนการ พิจารณา ชั้น ตรวจรับ อุทธรณ์ เป็น การ พิจารณา ที่ผิดระเบียบ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้น มีอำนาจ เพิกถอน การ พิจารณา ที่ ผิดระเบียบ นั้น ได้เองการ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง เพิกถอน คำสั่ง ที่ ให้ รับ อุทธรณ์ ของ จำเลยทั้ง สอง แล้ว มี คำสั่ง ใหม่ เป็น ไม่รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง เพราะเหตุ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ วางเงิน ค่าธรรมเนียม ซึ่ง จะ ต้อง ใช้ แก่ โจทก์ตาม คำพิพากษา ภายใน ระยะเวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด จึง ชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ศาลชั้นต้น ไม่มี อำนาจ สั่ง เพิกถอน คำสั่งให้ รับ อุทธรณ์ แล้ว มี คำพิพากษา ยกคำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ เพิกถอนคำสั่ง รับ อุทธรณ์ รวมทั้ง คำสั่ง ใหม่ ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ นั้นไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา แต่เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ชอบ ที่ จะ มี คำสั่ง ยืนตาม คำ ปฏิเสธ ของ ศาลชั้นต้น หรือ มี คำสั่ง ให้ รับ อุทธรณ์ ของ จำเลยทั้ง สอง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 เท่านั้นดังนั้น การ ที่ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ให้ จำหน่าย อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สองเพราะ เหตุ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ วางเงิน ค่าธรรมเนียม ตาม มาตรา 229ภายใน ระยะเวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด เป็น การ ทิ้งฟ้อง อุทธรณ์ นั้นจึง ไม่ชอบ ด้วย มาตรา 236 แต่ ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ไป โดยไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย อีก ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ บังคับ ไป ตาม คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง

Share