แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ทุนทรัพย์ของคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ซึ่งแก้ไขใหม่ให้คิดคำนวณ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ มิใช่ทุนทรัพย์ที่ว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นทั้งจะนำดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันอุทธรณ์มารวมคำนวณเข้าด้วยไม่ได้ โจทก์เป็นผู้นั่งโดยสารมากับรถจักรยานยนต์ของ ต. ซึ่งขับรถชนกับรถของจำเลยโดยประมาณมิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจแบ่งความรับผิดให้แก่โจทก์ได้และปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ขับ รถยนต์ ด้วย ความ เร็ว สูง ขณะ นั้นนางสาว ต้องพร ขับ รถจักรยานยนต์ โดย มี โจทก์ เป็น ผู้ ซ้อน ท้าย ออก มาจาก ประตู หอพัก แล้ว เกิด เสีย หลัก ล้ม ลง ที่ หน้า ประตู แต่ จำเลยไม่ยอม ชะลอ ความ เร็ว เป็นเหตุ ให้ ชน รถจักรยานยนต์ และ โจทก์ ได้รับบาดเจ็บ สาหัส ขอให้ จำเลย ชดใช้ เงิน จำนวน 204,300 บาท ให้ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 190,120 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 39,940 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 19มีนาคม 2531 เป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงินเพิ่ม อีก จำนวน 39,940 บาท แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยข้อ แรก ว่า อุทธรณ์ ของ โจทก์ เป็น อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่ง มีทุนทรัพย์ ตาม อุทธรณ์ เพียง 39,940 บาท ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 จึงไม่ควร รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ไว้ พิจารณา เพราะ โจทก์ เห็นพ้อง ด้วยกับ คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ที่ วินิจฉัย เกี่ยวกับ จำนวน ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด แต่ โจทก์ เห็นว่า จำเลย ควร ต้อง รับผิด ใน ค่าสินไหม 2 ใน 3ส่วน ใน ฐานะ ที่ จำเลย ประมาท มาก กว่า นางสาว ต้องพร พงษ์เสรี กล่าว คือ ให้ เพิ่ม จำนวน มาก ขึ้น จาก ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ไว้ อีก39,940 บาท เงิน จำนวน นี้ จึง เป็น ทุนทรัพย์ ใน ชั้นอุทธรณ์ จะ นำดอกเบี้ย นับแต่ วันเกิดเหตุ ถึง วัน อุทธรณ์ มา รวมกับ เงิน ดังกล่าวเพื่อ เป็น ทุนทรัพย์ ไม่ได้ และ ข้อ ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง ว่า จำเลย ประมาทมาก กว่า นางสาว ต้องพร เป็น ปัญหาข้อเท็จจริง นั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติมตาม พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 บัญญัติ ว่า “ใน คดี ที่ ราคา ทรัพย์สินหรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน ห้า หมื่น บาท ฯลฯห้าม มิให้ คู่ความ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ ฯลฯ ” ตาม บทบัญญัติดังกล่าว ที่ แก้ไข ใหม่ นี้ ให้ คิด คำนวณ ทุนทรัพย์ ใน ชั้นอุทธรณ์มิใช่ ทุนทรัพย์ ที่ ว่ากล่าว กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น เหมือน ก่อน มี การแก้ไข ทั้ง จะ นำ ดอกเบี้ย นับแต่ วันเกิดเหตุ ถึง วัน อุทธรณ์ มา รวม คำนวณเข้า เป็น ทุนทรัพย์ ชั้นอุทธรณ์ ด้วย ไม่ได้ คดี นี้ จึง มี ทุนทรัพย์ใน ชั้นอุทธรณ์ เพียง 39,940 บาท ทั้ง ข้อ ที่ ว่า จำเลย หรือ นางสาว ต้องพร ประมาท มาก กว่า กัน ก็ เป็น ข้อเท็จจริง ฉะนั้น อุทธรณ์ ของ โจทก์ จึง ต้องห้าม ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว มา ฎีกา ของ จำเลยข้อ นี้ ฟังขึ้น ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษา ให้ จำเลย รับผิด ต่อ โจทก์ ดังกล่าว เป็น การ พิพากษา นอกเหนือไป จาก อุทธรณ์ ของ โจทก์ และ เกินคำขอ เพราะ โจทก์ อุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อกฎหมาย นั้น เห็นว่าโจทก์ เป็น เพียง ผู้ นั่ง โดยสาร มา กับ รถจักรยานยนต์ ของ นางสาว ต้องพร คัน เกิดเหตุ มิได้ มี ส่วน ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ขึ้น ด้วย จำเลยจึง ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ เต็ม จำนวน โดย ไม่อาจแบ่ง ความรับผิด ให้ แก่ โจทก์ ได้ การ ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่าเหตุ เกิด เพราะ นางสาว ต้องพร ประมาท มาก กว่า จำเลย ให้ จำเลย รับผิด ต่อ โจทก์ เพียง 1 ใน 3 จึง ไม่ชอบ และ ปัญหา ข้อ นี้ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ โจทก์ จะไม่ได้ ยกขึ้น อ้าง ใน อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ก็ มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัย เพื่อ ความเป็นธรรม แก่ โจทก์ ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษามา นั้น ชอบแล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน