แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
รถยนต์นำเข้าของโจทก์แม้โดยสภาพไม่สามารถบรรทุกสิ่งของหรือสัตว์เพราะไม่มีกระบะกั้นแต่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์บรรทุกเมื่อนำรถบรรทุกพ่วงมาประกบเกี่ยวพ่วงก็สามารถบรรทุกและรับน้ำหนักบรรทุกได้จึงเป็นรถยนต์บรรทุกตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกมาตรา4(20)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง แปด ร่วมกัน ทำละเมิด ต่อ โจทก์ โดยจงใจ ยึด รถยนต์ ของ โจทก์ ไว้ โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 คืน รถยนต์ แทรก เตอ ร์ยี่ห้อ นิสสัน ตาม ใบขนสินค้า เลขที่ 116-62607 ให้ จำเลย ทั้ง แปด ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย 1,030,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี
จำเลย ทั้ง แปด ให้การ เป็น ทำนอง เดียว กัน ว่า รถยนต์ ของ โจทก์เป็น รถยนต์บรรทุก ใช้ แล้ว ต้องห้าม นำเข้า ใน ราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวง เศรษฐการ เรื่อง การ นำ สินค้า เข้า มา ใน ราชอาณาจักร(ฉบับที่ 66) พ.ศ. 2515 จำเลย กระทำ โดยสุจริต มิได้ เจตนากลั่นแกล้ง โจทก์ ไม่เป็น ระเบิด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ทั้ง สองมี ว่า รถยนต์ แทรก เตอ ร์ ยี่ห้อ นิสสัน ตาม ใบขนสินค้า เลขที่ 116-62607 ที่ จำเลย ที่ 1 ยึด ไป เป็น รถยนต์บรรทุก เก่า เป็น สินค้าต้องห้าม นำเข้า ใน ราชอาณาจักร ตาม ประกาศกระทรวง เศรษฐการเรื่อง การ นำ สินค้า เข้า มา ใน ราชอาณาจักร (ฉบับที่ 66) พ.ศ. 2515หรือไม่ ปัญหา นี้ โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ สั่ง ซื้อ รถยนต์บรรทุก ลาก จูงจาก ประเทศ ญี่ปุ่น และ นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักร โดย สำแดง ราคา และ ชำระ อากร ถูกต้อง ครบถ้วน แล้ว เจ้าพนักงาน จำเลย ที่ 1 ได้ ตรวจ สภาพรถยนต์ กับ ใบขนสินค้า ขาเข้า เห็นว่า ถูกต้อง จึง ยินยอม ให้ โจทก์นำ รถยนต์ ออกจาก การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ แต่ จำเลย ที่ 1 กลับสั่ง ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 จับกุม ยึด รถยนต์บรรทุก ลาก จูง ของ โจทก์กล่าวหา ว่า เป็น รถยนต์บรรทุก เก่า ใช้ แล้ว ต้องห้าม นำเข้า ตาม ประกาศกระทรวง เศรษฐการ เรื่อง การ นำ สินค้า เข้า มา ใน ราชอาณาจักร (ฉบับที่ 66)พ.ศ. 2515 จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6 ตรวจ สภาพ รถยนต์ แล้ว รายงาน จำเลย ที่ 1ว่า รถยนต์ ของ โจทก์ เป็น รถยนต์บรรทุก เก่า ใช้ งาน แล้ว จำเลย ที่ 7โดย จำเลย ที่ 8 แจ้ง จำเลย ที่ 1 ว่า รถยนต์ ของ โจทก์ อยู่ ใน ข่ายต้องห้าม นำเข้า ใน ราชอาณาจักร ซึ่ง ไม่เป็น ความจริง ความจริงรถยนต์ โจทก์ ที่ นำเข้า มา เป็น รถยนต์ ใหม่ ตก รุ่น ไม่เคย ใช้ งาน มา ก่อนเห็นว่า รถยนต์ นำเข้า ของ โจทก์ ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 12 แม้ โดยสภาพ ตัวเอง ไม่สามารถ บรรทุก สิ่งของ หรือ สัตว์ เพราะ ไม่มี กระบะ กั้นแต่เมื่อ นำ รถบรรทุก พ่วง มา ประกบ เกี่ยว พ่วง ตรง จาน หมุน ก็ สามารถบรรทุก และ รับ น้ำหนัก บรรทุก ได้ เช่น รถยนต์บรรทุก ตาม ภาพถ่าย หมายล. 27 ล. 29 รถยนต์ พิพาท ถูก สร้าง ขึ้น เพื่อ วัตถุประสงค์ ดังกล่าวเป็น ส่วน หนึ่ง ของ รถยนต์บรรทุก จึง เป็น รถยนต์บรรทุก ตาม ความหมายของ พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4(20)ซึ่ง บัญญัติ ว่ารถบรรทุก หมายความ ว่า รถยนต์ ที่ สร้าง ขึ้น เพื่อ บรรทุก สิ่งของ หรือสัตว์ ปัญหา ต่อไป มี ว่า รถยนต์บรรทุก ของ โจทก์ เป็น รถยนต์ เก่า หรือเป็น รถยนต์บรรทุก ใหม่ ตก รุ่น ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ปัญหา นี้ กรรมการตรวจ สภาพ รถยนต์ คือ จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6 รายงาน การ ตรวจ ว่า แผง หน้า ปัดมี สี ไม่ กลม กลืน กัน บางส่วน บางส่วน เป็น สี ใหม่ บางส่วน เป็น สี เก่าแผง ควบคุม ไฟ ซึ่ง อยู่ ที่ หน้า ปัด มี สภาพ เก่า สนิม ขึ้น โดย รอบที่ เขี่ ยบุหรี่ เก่า ชำรุด มี เศษ บุหรี่ คราบ บุหรี่ เกาะ สนิม ขึ้น โดย รอบเข็มขัด นิรภัย มี สภาพ เก่า มาก ยาง รอง กัน กระแทก เพลา ท้าย และ ยาง รองแท่น เครื่อง เก่า ฉีก ขาด ชำรุด บันได ขวา ด้าน คนขับ เหล็ก บันได ผุ ชำรุดและ สี มี พ่นทับ ไว้ กระจก บัง ลม ด้านหน้า มี รอย ใบ ปัด น้ำฝน ขูด เป็น ร่องลึกแสดง ว่า เป็น รถยนต์ ที่ ผ่าน การ ใช้ งาน มา แล้ว ที่ โจทก์ นำสืบ ว่ารถยนต์บรรทุก ผ่าน การ บรรทุก มา ใน เรือเดินทะเล ไอน้ำ ทะเล อาจ ทำให้เป็น สนิม กว่า เจ้าหน้าที่ จะ ตรวจ สภาพ รถยนต์บรรทุก ของ โจทก์ รถยนต์บรรทุก ของ โจทก์ จอด ตาก แดดตาก ฝน อยู่ หลาย เดือน ทำให้ มี สภาพ เก่า นั้นเห็นว่า สภาพ ความ เก่า ที่ ตรวจ พบ หลาย รายการ ไม่อยู่ ใน สภาพ ที่ จะเกิด ความ เก่า เพราะ ผ่าน การ บรรทุก มา ใน เรือเดินทะเล หรือ เพราะ การจอด ทิ้ง ตาก แดดตาก ฝน ก่อน การ ตรวจ ดัง ที่ โจทก์ นำสืบ เช่น สภาพ เข็มขัดนิรภัย คราบ บุหรี่ ใน ที่ เขี่ ยบุหรี่ รอย ใบ ปัด น้ำฝน ขูด กระจก บัง ลมด้านหน้า เป็น ร่องลึก และ สภาพ สี แผง หน้า ปัด เป็นต้น ข้อ นำสืบ ว่ารถยนต์บรรทุก ของ โจทก์ เป็น รถยนต์ ใหม่ ตก รุ่น ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน