คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

แม้โรงเรือนพิพาทของโจทก์ติดตั้งเพียงเครื่องจักรกลไกเป็นส่วนควบที่สำคัญเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมเท่านั้น.ไม่ได้ติดตั้งเครื่องจักรประเภทเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยก็ตามโจทก์ก็ได้รับลดหย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา13แล้ว. บ้านพักคนงานห้องน้ำห้องส้วมและป้อมยามเป็นโรงเรือนที่โจทก์ให้คนงานเข้าพักอาศัยและใช้สอยในการปฏิบัติหน้าที่เวรยามเพื่อประโยชน์ในการประกอบการอุตสาหกรรมถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนซึ่งเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาโรงเรือนจึงไม่ได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนตามความหมายของมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯแต่อย่างใด.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ที่ 1 ได้ แจ้ง รายการประเมิน ให้ โจทก์ เสีย ภาษี โรงเรือน โดย ไม่ ลดหย่อน ค่า รายปี ให้และ โรงเรือน บาง รายการ ของ โจทก์ ได้ รับ งดเว้น ไม่ ต้อง เสีย ภาษีขอ ให้ ศาล เพิกถอน การ ประเมิน ภาษี โรงเรือน เฉพาะ รายการ ที่ 1ถึง ที่ 7 ทั้ง ขอ ให้ เพิกถอน คำ ชี้ขาด ของ จำเลย ที่ 2 เกี่ยวกับรายการ ดังกล่าว นั้น ด้วย และ ให้ จำเลย ร่วมกัน คืนเงิน ค่า ภาษีโรงเรือน แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โรงเรือน ของ โจทก์ ไม่ เข้า ข่าย ได้ รับการ ลด ค่า รายปี และ ไม่ อยู่ ใน เกณฑ์ ที่ จะ ได้ รับ ยกเว้น ภาษีโรงเรือน คำชี้ขาด ของ จำเลย ที่ 2 ชอบด้วย กฎหมาย แล้ว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ภาษี โรงเรือน ของ จำเลยที่ 1 เฉพาะ รายการ ที่ 1 ถึง ที่ 7 และ ให้ เพิกถอน คำชี้ขาด ของ จำเลยที่ 2 เกี่ยวกับ โรงเรือน ดังกล่าว นั้น ด้วย ให้ จำเลย ที่ 1 คืนเงินจำนวน 29,470 บาท แก่ โจทก์ ถ้า จำเลย ที่ 1 คืน ภายใน 3 เดือน นับแต่วัน ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ก็ ไม่ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ถ้า หาก พ้นกำหนด เวลา ดังกล่าว แล้ว ให้ จำเลย ที่ 1 เสีย ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันที่ 10 กันยายน 2524 ซึ่ง เป็น วันที่ โจทก์ชำระ ค่า ภาษี ให้ จำเลย เป็นต้น ไป
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ถ้า จำเลย ที่ 1คืน ภาษี จำนวน 29,470 บาท แก่ โจทก์ ภายใน กำหนด 3 เดือน นับแต่วัน ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ก็ ไม่ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย นั้น ยังไม่ ถูกต้อง เพราะ ตาม พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา39 วรรคสอง ใช้ บังคับ แต่ เฉพาะ ใน กรณี ที่ ศาล พิพากษา ให้ ลด ค่าภาษี คือ เงิน จำนวน 28,480 บาท เท่านั้น แต่ จำนวน เงิน นอกจาก นั้นเป็น เงิน ค่า ภาษี ที่ ศาล พิพากษา ให้ คืน แก่ โจทก์ ไม่ ใช่ เพราะลด ภาษี จึง ไม่ ได้ รับ ประโยชน์ จาก บท บัญญัติ มาตรา 39 วรรคสองพิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 คืน เงิน จำนวน 29,480 บาทแก่ โจทก์ ถ้า จำเลย ที่ 1 คืน เงิน จำนวน 28,480 บาท ภายใน กำหนด3 เดือน นับ แต่ วันที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ก็ ไม่ ต้อง เสีย ดอกเบี้ยหาก พ้น กำหนด ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 1 เสีย ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว กับ ของ จำนวน เงิน 990 บาท นับจาก วันที่ 10 กันยายน 2524 เป็นต้น ไป
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดีนี้ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่ พิพาท ไม่เกิน50,000 บาท ศาลอุทธรณ์ พิพากษา เพียง แก้ไข เล็กน้อย ต้องห้าม ฎีกาข้อเท็จจริง ใน การ วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริงที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยาน หลักฐาน ใน สำนวน โดย ศาลอุทธรณ์ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โรงเรือน ของ โจทก์ ทั้ง 7 รายการ มี ลักษณะและ สภาพ ดังนี้ คือ รายการ ที่ 1 เป็น อาคาร รับ ปูนซิเมนต์ ผง จากรถไฟ มี เครื่องจักร มอเตอร์ กำลัง 40 แรงม้า ใช้ ลาก ตู้ รถไฟ เข้าเทียบ และ มี เครื่องจักร กำลัง 40 แรงม้า ใช้ ดูด ปูนซิเมนต์ จากตู้ รถไฟ ลง ไป เก็บ ใน ถัง มี กะพ้อ เป็น เครื่องจักร ตัก ปูนซิเมนต์ขึ้น ไป ยัง ชั้น ที่ 5 รายการ ที่ 2 เป็น โรงงาน ห่อ ปูนซิเมนต์ผงชั้นล่าง มี เครื่องจักร เป่าลม ติด มอเตอร์ กำลัง 10 แรงม้า ชั้นที่2 มี เครื่องจักร กำลัง 20 แรงม้า ใช้ ห่อ ปูนซิเมนต์ บรรจุ ถุงรายการ ที่ 3 เป็น อาคาร เก็บ เครื่องจักร กำลัง 15 แรงม้า 3 ตัวมี สายพาน ใช้ ลำเลียง ปูนซิเมนต์ ถุง ไป บรรทุก รถยนต์ รายการ ที่4 มี เครื่องจักร กำลัง 40 แรงม้า ใช้ รับ ปูนซิเมนต์ ไป เก็บ ใน ไซโลรายการ ที่ 5 มี เครื่องจักร ควบคุม มาตรฐาน ชั่ง น้ำหนัก ได้ 50 ตันโดย อาคาร ของ โจทก์ ตาม รายการ ที่ 1 ถึง ที่ 5 นั้น เป็น อาคาร ที่ติดตั้ง เครื่องจักรกล อัน เป็น ส่วนควบ ที่ สำคัญ เพื่อ ใช้ ดำเนินการอุตสาหกรรม เป็น หน่วยงาน ที่ ต่อเนื่อง โดยตรง ใน การ ผลิต ปูนซิเมนต์ผง ของ โจทก์ ส่วน โรงเรือน รายการ ที่ 6 และ ที่ 7 ซึ่ง เป็น ห้องน้ำห้องส้วม ที่พัก คนงาน และ ป้อมยาม นั้น ศาลอุทธรณ์ ฟัง ว่า เป็นโรงเรือน ที่ มี ไว้ เพื่อ คนงาน ของ โจทก์ ได้ ใช้สอย และ ปฏิบัติ งาน
ได้ความ ดังนี้ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โรงเรือน หรือ อาคาร รายการ ที่1 ถึง ที่ 5 ไม่ ได้ ติดตั้ง เครื่องจักร ประเภท เครื่อง กระทำ หรือเครื่อง กำเนิด สินค้า เป็น เพียง โรงเรือน ที่ ใช้ ประกอบ อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ เท่านั้น ไม่ เข้า ข่าย ที่ จะ ได้ รับ การ ลด ค่า รายปีส่วน โรงเรือน ตาม รายการ ที่ 6 และ ที่ 7 นั้น โจทก์ ใช้ ประโยชน์ ร่วมกับ โรงเรือน รายการ ที่ 1 ถึง ที่ 5 ซึ่ง ใช้ ดำเนิน การ ประกอบอุตสาหกรรม และ ประกอบ กิจการค้า ไม่ ได้ รับ ยกเว้น ไม่ ต้อง เสียภาษี โรงเรือน แต่ อย่างใด นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 13 บัญญัติ ว่า’ถ้า เจ้าของ โรงเรือน ใด ติดตั้ง ส่วนควบ ที่ สำคัญ มี ลักษณะ เป็นเครื่องจักร กลไก เครื่อง กระทำ หรือ เครื่อง กำเนิด สินค้า เพื่อ ใช้ดำเนินการ อุตสาหกรรม บาง อย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อยฯลฯ ขึ้น ในโรงเรือน นั้นๆ ใน การ ประเมิน ท่าน ให้ ลด ค่า รายปี ลง เหลือ หนึ่งใน สาม ของ ค่า รายปี ของ ทรัพย์สิน นั้น รวมทั้ง ส่วนควบ ดังกล่าว แล้วด้วย’ ตาม บทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ดังกล่าว หมายความ ว่า ถ้า โรงเรือนใด ติดตั้ง เครื่องจักร กลไก เป็น ส่วนควบ ที่ สำคัญ เพื่อ ใช้ดำเนินการ อุตสาหกรรม ก็ ได้ รับ ลดหย่อน ค่า รายปี ลง เหลือ 1 ใน 3โดย เครื่องจักร กลไก ที่ นำ มา ติดตั้ง นั้น หา จำเป็น ต้อง เป็นเครื่อง กระทำ หรือ เครื่อง กำเนิด สินค้า ด้วย ไม่ ฉะนั้น โรงเรือนพิพาท ตาม รายการ ที่ 1 ถึง ที่ 5 ถึงแม้ จะ มิได้ ติดตั้ง เครื่องจักรประเภท เครื่อง กระทำ หรือ เครื่อง กำเนิด สินค้า ดัง ที่ จำเลย ฎีกาแต่ ก็ เป็น โรงเรือน ที่ ติดตั้ง เครื่องจักร กลไก อัน เป็น ส่วนควบที่ สำคัญ เพื่อ ใช้ ดำเนินการ อุตสาหกรรม บรรจุ ปูนซิเมนต์ อัน เป็นการ ดำเนินการ อุตสาหกรรม ที่ ต่อเนื่อง จาก การ ผลิต ปูนซิเมนต์ ผงของ โจทก์ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย ไว้ ดังกล่าว แล้ว ข้างต้นจึง ได้ รับ ลดหย่อน ค่า รายปี ลง เหลือ 1 ใน 3 ตาม บทบัญญัติ ของกฎหมาย ดังกล่าว แล้ว
ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ต่อไป ก็ คือ โรงเรือน พิพาท รายการ ที่ 6และ ที่ 7 ซึ่ง เป็น ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่พัก คนงาน และ ป้อมยาม นั้นได้ รับ งดเว้น ไม่ ต้อง เสีย ภาษี โรงเรือน หรือ ไม่ เห็นว่า โรงเรือนหรือ สิ่งปลูกสร้าง ที่ จะ ได้ รับ งดเว้น ไม่ ต้อง เสีย ภาษี ตามมาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475ซึ่ง ได้ แก้ไข ตาม พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2475 มาตรา 3 นั้น ได้แก่ โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างซึ่ง เจ้าของ อยู่ เอง หรือ ให้ ผู้แทน อยู่ เฝ้ารักษา และ ซึ่ง มิได้เป็น ที่ ไว้ สินค้า หรือ ประกอบการ อุตสาหกรรม แต่ บ้านพัก คนงานห้องน้ำ ห้องส้วม ตาม รายการ ที่ 6 นั้น เป็น โรงเรือน ที่ บริษัท โจทก์ให้ คนงาน พัก อาศัย โดย การ เข้า พัก อาศัย นี้ ก็ เพื่อ ประโยชน์ใน การ ประกอบ การ อุตสาหกรรม ของ โจทก์ และ มิใช่ เป็น การ เข้าอยู่ เพื่อ เฝ้า รักษา โรงเรือน ตาม รายการ ที่ 6 แต่ อย่างใด จึง ถือไม่ ได้ ว่า เป็น โรงเรือน ซึ่ง เจ้าของ อยู่ เอง หรือ ให้ ผู้แทน อยู่เฝ้า รักษา อัน จะ ได้ รับ งดเว้น ไม่ ต้อง เสีย ภาษี โรงเรือน ตามความหมาย ของ มาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว แล้ว ส่วน ป้อมยามตาม รายการ ที่ 7 นั้น ก็ เป็น โรงเรือน ที่ บริษัท โจทก์ ให้ คนยามเข้า ใช้สอย ใน การ ปฏิบัติ หน้าที่ เวรยาม เพื่อ ประโยชน์ ใน การประกอบ การ อุตสาหกรรม ของ โจทก์ ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น โรงเรือน ซึ่งเจ้าของ อยู่ เอง หรือ ให้ ผู้แทน อยู่ เฝ้า รักษา ตาม ความหมาย ของมาตรา 10 เช่นกัน ฉะนั้น โรงเรือน รายการ ที่ 6 และ ที่ 7 จึง ไม่ ได้รับ งดเว้น ภาษี โรงเรือน เมื่อ โรงเรือน รายการ ที่ 6 และ ที่ 7ไม่ ได้ รับ งดเว้น ภาษี โรงเรือน แล้ว ปัญหา เรื่อง ดอกเบี้ย เกี่ยวกับเงิน ค่า ภาษี จำนวน 990 บาท จึง ไม่ จำต้อง วินิจฉัย
สำหรับ โรงเรือน ตาม รายการ ที่ 1 ถึง ที่ 5 ซึ่ง ได้ รับ ลดหย่อนค่า รายปี ลง เหลือ 1 ใน 3 นั้น โจทก์ จะ ต้อง เสีย ภาษี โรงเรือนเป็น เงิน 14,240 บาท แต่ พนักงาน เก็บ ภาษี ของ จำเลย ที่ 1 ได้เรียกเก็บ ไป เป็น เงิน 42,720 บาท จึง ต้อง คืน ให้ แก่ โจทก์28,480 บาท
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง โจทก์ เฉพาะ โรงเรือน รายการ ที่6 และ ที่ 7 ค่า ฤชาธรรมเนียม ใน ชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share