แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็น ทายาทด้วยกันมีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายอำนาจของผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีสองคนในการรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาทก็ไม่อาจจะหา เสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1726ได้และคนใดคนหนึ่งก็ไม่อาจจัดการได้ข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไปฉะนั้นเมื่อผู้ตายไว้วางใจผู้ร้องมากถึงกับต้องการจะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวจึงสมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเพียงผู้เดียวแต่วางเงื่อนไขว่ากรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้นจะต้อง ขออนุญาตจากศาลก่อนเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ผู้คัดค้าน
ย่อยาว
ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ว่า ผู้ร้อง เป็น บุตร ที่ บิดา รับรอง แล้วของ นาย ประเสริฐ ก่อน ตาย นาย ประเสริฐ ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์สิน ที่ มี อยู่ ให้ แก่ ผู้ร้อง เพียง ผู้เดียว และ มีเหตุ ขัดข้อง ใน การ จัดการมรดก ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วยกฎหมาย ของ นาย ประเสริฐ ซึ่ง มี บุตร ด้วยกัน 7 คน ผู้คัดค้าน และ บุตร อีก 7 คน มิได้ ยินยอม ให้ ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ทรัพย์มรดกที่ ระบุ เป็น ของ นาย ประเสริฐ นั้น ความจริง เป็น สินสมรส ระหว่าง ผู้คัดค้าน กับ นาย ประเสริฐ พินัยกรรม ของ นาย ประเสริฐ จะ ถูกต้อง สมบูรณ์ และ จะ เป็น ลายมือชื่อ ของ นาย ประเสริฐ จริง หรือไม่ ผู้คัดค้าน ไม่รับรอง ขณะ ทำ พินัยกรรม นาย ประเสริฐ เป็น อัมพาต อยู่ ขอให้ ยกคำร้อง และ ตั้ง ให้ ผู้คัดค้าน เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย ประเสริฐ หรือ ให้ ผู้คัดค้าน เป็น ผู้จัดการมรดก ร่วม กับ ผู้ร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ ตั้ง ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย ร่วมกัน
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ตั้ง ผู้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย เพียง ผู้เดียว ยก คำคัดค้าน ของ ผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ว่า สมควร ตั้ง ผู้คัดค้าน เป็น ผู้จัดการมรดกร่วม กับ ผู้ร้อง หรือไม่ ผู้คัดค้าน อ้างว่า ผู้ร้อง มี พฤติการณ์ ส่อ ว่าจะ เอา ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย เพียง คนเดียว และ ผู้ร้อง อาจจะ จำหน่ายทรัพย์มรดก ไป อัน จะ เป็นเหตุ ให้ ทายาท อื่น ได้รับ ความเสียหาย ควร ตั้งให้ ผู้คัดค้าน เป็น ผู้จัดการมรดก ร่วม ด้วย ศาลฎีกา เห็นว่าตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้านมี พฤติการณ์ เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ กัน เกี่ยวกับ ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตายซึ่ง การ จัดการ มรดก นั้น ผู้จัดการมรดก มี หน้าที่ สำคัญ ใน การ รวบรวมทรัพย์มรดก เพื่อ แบ่งปัน ให้ ทายาท อำนาจ ของ ผู้จัดการมรดก ใน กรณี ที่ มีสอง คน การ จัดการ จะ ต้อง ดำเนินการ ร่วมกัน ถ้า เกิด เป็น สอง ฝ่าย แล้วกรณี ก็ ไม่อาจ จะ หา เสียง ข้าง มาก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 ได้ คนใด คนหนึ่ง ก็ ไม่อาจ จัดการ ไป ได้ การ จัดการ มรดกตาม คำสั่งศาล ที่ ให้ จัดการ ร่วมกัน ก็ ไม่มี ผล ข้อ ขัดข้อง ใน การ จัดการแบ่งปัน มรดก ก็ คง มี อยู่ ต่อไป ไม่อาจ แบ่งปัน ให้ แก่ ทายาท ได้ ทั้ง ยัง มีข้อโต้แย้ง ว่า ทรัพย์ ที่ ปรากฏ ใน คำร้อง นั้น เป็น ทรัพย์มรดก ของ เจ้ามรดกหรือไม่ โดย เหตุ นี้ ผู้ร้อง หรือ ผู้คัดค้าน คนใด คนหนึ่ง เท่านั้นที่ สมควร เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย โดย พิจารณา ตั้ง ผู้ที่ เหมาะสมมาก กว่า ซึ่ง ใน ข้อ นี้ เมื่อ พิจารณา ตาม พินัยกรรม เอกสาร หมาย ร.9 แล้วเห็นว่า ผู้ตาย ซึ่ง เป็น เจ้ามรดก มี ความ ไว้ วางใจ ผู้ร้อง มาก ถึง กับต้องการ จะ ยก ทรัพย์สิน ของ ตน ให้ แก่ ผู้ร้อง เพียง ผู้เดียว ระหว่างยัง เจ็บป่วย อยู่ ผู้ร้อง ก็ ได้ ดูแล ผู้ตาย ใกล้ชิด กว่า ผู้คัดค้าน การ ให้ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย น่า จะ เป็น ไป ตาม เจตนารมณ์ ของ ผู้ตายมาก กว่า ให้ ผู้อื่น เป็น ผู้จัดการมรดก จึง เห็นสมควร ให้ ผู้ร้องเป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย เพียง ผู้เดียว แต่ เพื่อ มิให้ เป็น การเสียหาย แก่ ผู้คัดค้าน ซึ่ง เป็น ทายาท ด้วย ใน กรณี ที่ ผู้ร้อง จะ จัดการมรดก ไป ใน ทาง จำหน่าย จ่าย โอน หรือ ก่อ ภาระติดพัน กับ ทรัพย์มรดก ที่ มีหลักฐาน ทาง ทะเบียน ให้ แก่ บุคคลภายนอก โดย มิได้ รับ ความเห็น ชอบ จากทายาท ทุกคน นั้น จะ ต้อง ขออนุญาต จาก ศาล ก่อน เป็น กรณี ไป จึง สมควรวาง เงื่อนไข ดังกล่าว ใน คำสั่ง ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตายคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ชอบแล้ว ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน ให้ ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย ประเสริฐ โสตถิกำแหง ผู้ตาย โดย ให้ มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด และ อยู่ ใน เงื่อนไข ที่ ว่า ถ้า จะ จำหน่าย จ่าย โอน หรือ ก่อ ภาระติดพันกับ ทรัพย์มรดก ที่ มี หลักฐาน ทาง ทะเบียน ให้ แก่ บุคคล ที่ มิใช่ ทายาทที่ มีสิทธิ รับมรดก โดย มิได้ รับ ความ ยินยอม จาก ทายาท ทุกคน แล้ว จะ ต้องขออนุญาต ศาล ก่อน เป็น กรณี ไป