คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ข้อความที่เขียนไว้ในสัญญาระบุว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา100,000บาทโดยโจทก์ได้ชำระราคาจำนวน72,000บาทให้แก่จำเลยส่วนจำเลยได้มอบที่พิพาทพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาสำหรับราคาค่าที่พิพาทส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยในภายหลังเข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ ในการตีความการแสดงเจตนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา171นั้นหมายถึงกรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้งอาจตีความได้หลายนัยจึงให้ตีความการแสดงเจตนาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรแต่สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นสัญญาซื้อขายจึงนำบทบัญญัติดังกล่าวมาบังคับให้ต้องสืบพยานประกอบเพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่

ย่อยาว

สำนวน แรก โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2532 จำเลย ได้ ทำสัญญาจะขาย ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )เลขที่ 788 ตำบล สองห้อง อำเภอ เมือง หนองคาย จังหวัด หนองคาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 100,000 บาท โจทก์ ชำระ เงิน 72,000 บาทใน วัน ทำ สัญญา ส่วน ที่ เหลือ ตกลง ชำระ ใน ภายหลัง ต่อมา วันที่ 9 พฤษภาคม2532 โจทก์ ได้ ชำระ แก่ จำเลย อีก 10,000 บาท ใน วัน ทำ สัญญา จำเลยได้ ส่งมอบ การ ครอบครอง ที่ดิน และ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แก่ โจทก์ต่อมา ประมาณ กลางเดือน ตุลาคม 2532 โจทก์ ได้ นำ เงิน ค่าที่ดินส่วน ที่ เหลือ อีก 18,000 บาท ไป ชำระ แก่ จำเลย แต่ จำเลย ไม่ยอม รับและ ไม่ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน แก่ โจทก์ โจทก์ บอกกล่าว แล้วแต่ จำเลยเพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย รับ เงิน ค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จำนวน 18,000บาท พร้อม ให้ จำเลย ไป ทำการ จดทะเบียน โอน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว แก่ โจทก์ใน 7 วัน นับแต่ วันที่ ศาล มี คำพิพากษา หาก จำเลย ไม่ยอม รับ เงิน และไม่ยอม ไป จดทะเบียน โอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา แทน
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน ตาม ฟ้อง แก่ โจทก์ หนังสือ สัญญา ที่ โจทก์ อ้าง ไม่ใช่สัญญาจะซื้อขาย เนื่องจาก คู่สัญญา ไม่ได้ ตกลง ที่ จะ ไป จดทะเบียน โอน กันใน ภายหน้า โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง สัญญา ที่ โจทก์ อ้าง เป็นสัญญาเช่าซื้อ ที่ดิน โดย โจทก์ ตกลง เช่าซื้อ เป็น เงิน 100,000 บาทไม่ได้ กำหนด เวลา ชำระ ค่าเช่าซื้อ ไว้ โจทก์ ผ่อนชำระ ค่าเช่าซื้อ งวด แรกใน วัน ทำ สัญญา 72,000 บาท จำเลย ได้ มอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ โจทก์ ยึดถือ ไว้ ต่อมา โจทก์ ได้ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ที่ดิน ในเดือน พฤษภาคม 2532 อีก 10,000 บาท หลังจาก นั้น โจทก์ ไม่เคย ชำระค่าเช่าซื้อ ส่วน ที่ เหลือ แก่ จำเลย จำเลย ได้ บอกเลิก สัญญาเช่าซื้อ แล้วสัญญา ท้ายฟ้อง เป็น การ ซื้อ ขาย เสร็จเด็ดขาด ด้วย การ ผ่อนชำระสัญญาซื้อขาย จึง ตกเป็น โมฆะ ขอให้ ยกฟ้อง
สำนวน หลัง โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2532 จำเลยได้ ทำ สัญญาเช่าซื้อ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )เลขที่ 788 ตำบล สองห้อง อำเภอ เมือง หนองคาย จังหวัด หนองคาย จาก โจทก์ ราคา 100,000 บาท ไม่ได้ กำหนด เวลา ผ่อนชำระ ค่าเช่าซื้อ ไว้จำเลย ตกลง จะ ผ่อนชำระ ค่าเช่าซื้อ ให้ เสร็จ ใน 3 งวด จำเลย ได้ ชำระค่าเช่าซื้อ งวด แรก ใน วัน ทำ สัญญา เป็น เงิน 72,000 บาท และ โจทก์ ได้ มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของ ที่ดิน ให้ จำเลย ยึดถือ ไว้ ต่อมา เดือนพฤษภาคม 2532 จำเลย ได้ มา ชำระ ค่าเช่าซื้อ แก่ โจทก์ อีก 10,000 บาทหลังจาก นั้น จำเลย ไม่ชำระ ค่าเช่าซื้อ แก่ โจทก์ อีก โจทก์ บอกกล่าวจำเลย แล้ว แต่ จำเลย เพิกเฉย โจทก์ จึง ได้ บอกเลิก สัญญา แก่ จำเลยและ ให้ จำเลย คืน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดิน แก่ โจทก์ แต่ จำเลยเพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย คืน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )เลขที่ 788 ตำบล สองห้อง อำเภอ เมือง หนองคาย จังหวัด หนองคาย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ได้ ทำ สัญญาเช่าซื้อ ที่ดิน ตาม ฟ้องจาก โจทก์ แต่ จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน จาก โจทก์ เป็น เงิน100,000 บาท จำเลย ได้ ชำระ ราคา ที่ดิน แก่ โจทก์ ใน วัน ทำ สัญญา 72,000 บาทส่วน ที่ เหลือ ได้ ชำระ เมื่อ วันที่ 9 พฤษภาคม 2532 เป็น เงิน 10,000 บาทโจทก์ ได้ มอบ การ ครอบครอง ที่ดิน และ หนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่ จำเลย จำเลย ได้ เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ตลอดมา ต่อมา จำเลย ได้ นำเงิน ค่าที่ดิน ที่ เหลือ ไป ชำระ แก่ โจทก์ แต่ โจทก์ ไม่ยอม รับ โจทก์ จึงเป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ไม่มี อำนาจฟ้อง และ ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น สั่ง รวม พิจารณา และ พิพากษา เข้า ด้วยกัน โดย ให้ เรียกนาย สงกรานต์ พะปะเสน ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน สำนวน แรก และ เป็น จำเลย ใน สำนวน หลัง ว่า โจทก์ และ เรียก นาย เสริม พลเวียง ซึ่ง เป็น จำเลย ใน สำนวน แรก และ เป็น โจทก์ ใน สำนวน หลัง ว่า จำเลย
หลังจาก สืบพยานโจทก์ ไป บ้าง แล้ว ศาล สอบ ทนายจำเลย แถลงรับ ว่าไม่มี การ ทำ สัญญาเช่าซื้อ ฉบับ อื่น นอกจาก หนังสือ สัญญา เอกสาร หมาย จ. 1ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ โดย ไม่จำต้อง ทำการ สืบพยานโจทก์และ จำเลย จึง ให้ งดสืบพยาน โจทก์ ที่ เหลือ และ พยาน จำเลย แล้ว พิพากษาให้ โจทก์ ชำระ เงิน 18,000 บาท แก่ จำเลย คำขอ อื่น ของ โจทก์ และจำเลย ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์ ทั้ง สอง สำนวน
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา ทั้ง สอง สำนวน โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดีใน ศาลชั้นต้น รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ว่า เมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2532 โจทก์ จำเลย ได้ ทำหนังสือ สัญญา เอกสาร หมาย จ. 1 ต่อ กัน แล้ว จำเลย ได้ ส่งมอบ ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 788 ตำบล สองห้อง อำเภอ เมือง หนองคาย ให้ โจทก์ ครอบครอง ทำประโยชน์ ตั้งแต่ วัน ทำสัญญา จน ถึง ปัจจุบัน และ ส่งมอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของ ที่ดิน(น.ส.3 ก. ) ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 ให้ แก่ โจทก์ ด้วย คดี มี ข้อ วินิจฉัยตาม ฎีกา จำเลย ว่า สัญญา ที่ โจทก์ จำเลย ทำ กัน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1เป็น สัญญาเช่าซื้อ หรือไม่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ จำเลย มี เจตนา ทำสัญญาเช่าซื้อ แต่ ไม่มี แบบพิมพ์ ทำ สัญญาเช่าซื้อ จึง ได้ ใช้ แบบพิมพ์สัญญาซื้อขาย แทน เห็นว่า การ ทำ สัญญา จะ ใช้ แบบพิมพ์ สัญญา ประเภท ใดไม่ใช่ ข้อสำคัญ หาก แต่ ความ สำคัญ อยู่ ที่ ว่า ข้อความ ที่ ทำ กัน ไว้ใน แบบพิมพ์ สัญญา ดังกล่าว เข้า ลักษณะ เป็น สัญญา ประการใด ศาลฎีกาได้ พิเคราะห์ ข้อความ ใน สัญญา ที่ โจทก์ จำเลย ทำ กัน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1แล้ว มี ข้อความ ที่ เขียน ไว้ ใน สัญญา ว่า จำเลย ขาย ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ใน ราคา 100,000 บาท โดย โจทก์ ได้ ชำระ ราคา จำนวน 72,000 บาท ให้ แก่จำเลย ส่วน จำเลย ได้ มอบ ที่พิพาท พร้อม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ แก่ โจทก์ ใน วัน ทำ สัญญา สำหรับ ราคา ค่า ที่พิพาท ส่วน ที่ เหลือ โจทก์จะ ชำระ ให้ แก่ จำเลย ใน ภายหลัง เห็นว่า ข้อความ ที่ เขียน ไว้ ใน สัญญาดังกล่าว เข้า ลักษณะ เป็น สัญญาซื้อขาย หาใช่ สัญญาเช่าซื้อ ดัง ที่จำเลย ฎีกา ไม่ ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171 บัญญัติ ไว้ ว่า ใน การ ตีความ การแสดง เจตนา นั้น ให้ เพ่งเล็งถึง เจตนา อัน แท้จริง ยิ่งกว่า ถ้อยคำ สำนวน หรือ ตัวอักษร เมื่อ โจทก์จำเลย มี เจตนา ทำ สัญญาเช่าซื้อ กัน จึง ต้อง ฟัง ว่า เป็น สัญญาเช่าซื้อตาม เจตนา ของ โจทก์ จำเลย นั้น เห็นว่า บทบัญญัติ มาตรา ดังกล่าว หมายถึงใน กรณี นิติกรรม ที่ ทำ กัน ไว้ มี ข้อความ ไม่ ชัดแจ้ง อาจ ตีความ ได้ หลาย นัยจึง ให้ ตีความ การแสดง เจตนา โดย เพ่งเล็ง ถึง เจตนา อัน แท้จริง เป็น สำคัญยิ่งกว่า ถ้อยคำ สำนวน หรือ ตัวอักษร แต่ สัญญา ที่ โจทก์ จำเลย ทำ กัน ไว้ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 มี ข้อความ ชัดแจ้ง ว่า เป็น สัญญาซื้อขาย ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ประกอบ กับ โจทก์ ก็ ฟ้อง กล่าวอ้าง ว่า สัญญา ที่ โจทก์ จำเลยทำ กัน ไว้ เป็น สัญญาซื้อขาย และ ให้การ ปฏิเสธ ใน คดี ที่ จำเลย ฟ้อง ว่าไม่ใช่ สัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ จึง นำ บทบัญญัติ ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 171 มา บังคับ ให้ ต้อง สืบพยาน ประกอบ เพื่อ ตีความถึง เจตนา อัน แท้จริง ของ คู่สัญญา หาได้ไม่ คดี ฟังได้ ว่า สัญญา ที่ โจทก์จำเลย ทำ กัน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ไม่ใช่ สัญญาเช่าซื้อ ศาลล่างทั้ง สอง พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share