แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
สิทธิในการ เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการ ปลงศพเป็นสิทธิของทายาทที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้กระทำละเมิดทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายส่วนสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแก่ทรัพย์สินของเจ้ามรดกเนื่องจากการกระทำละเมิดก็เป็นสิทธิของเจ้ามรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทเช่นกันฉะนั้นเมื่อ ส. ได้รับรองโจทก์ที่2และที่3ว่าเป็นบุตรแล้วและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1627ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกของ ส. โจทก์ที่2ที่3จึงมีสิทธิฟ้อง เรียกค่าปลงศพ ส. และค่าที่รถจักรยานยนต์ของ ส.เสียหายได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น บิดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของนาย สมชาต ศรีหยวก โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย สมชาย ซึ่ง เกิดจาก โจทก์ ที่ 4 โจทก์ ที่ 2 อายุ 12 ปี โจทก์ ที่ 3 อายุ 7 ปี อยู่ ใน ความ อุปการะ เลี้ยงดู ของ โจทก์ ที่ 4โจทก์ ที่ 4 เป็น ภริยา ของ นาย สมชาย โดย อยู่กิน กัน ฉัน สามี ภรรยา ไม่ได้ จดทะเบียนสมรส จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น สามี ภรรยา กัน และเป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง นาย การะเวก เจตะนะเสน ผู้เยาว์ อายุ 18 ปี แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ ปกครอง ดูแล ปล่อยปละละเลย ให้ นาย การะเวก ขับ รถจักรยานยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 2ช-4385 ไปทำละเมิด โจทก์ ที่ 4 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จึง ต้อง ร่วมรับผิด ใน ผลแห่ง การ ละเมิด ที่นาย การะเวก ได้ ก่อ ให้ เกิดขึ้น ตาม กฎหมาย กล่าว คือ เมื่อ วันที่ 13 พฤษภาคม 2531 ขณะที่ นาย สมชาย ขับ รถจักรยานยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน อุทัยธานี ข-9324 โดย มี โจทก์ ที่ 4 นั่ง ซ้อน ท้ายไป ตาม ถนน สาย ป่าพุทรา-ระหาน นาย การะเวก ขับ รถจักรยานยนต์ แล่น สวน มา ด้วย ความ เร็ว สูง ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ปราศจาก ความระมัดระวัง เข้า มา ใน ช่อง เดินรถ ของ นาย สมชาย และ เฉี่ยว ชน รถจักรยานยนต์ ที่นาย สมชาย ขับ อยู่ พลิกคว่ำ ได้รับ ความเสียหาย นาย สมชาย ถึงแก่ความตาย โจทก์ ที่ 4 ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส ทำให้ โจทก์ ทั้ง สี่ เสียหาย ต้อง ขาด ไร้ ผู้อุปการะ เลี้ยงดู ต้อง เสียค่าใช้จ่าย ใน การ ปลงศพ โจทก์ ที่ 4 ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การรักษา พยาบาล ต้อง ขาด ประโยชน์ ทำ มา หา ได้ และ รถจักรยานยนต์ คัน ที่นาย สมชาย ขับ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน ค่า ขาดไร้อุปการะ เลี้ยงดูแก่ โจทก์ ทั้ง สี่ รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 366,600 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ที่ 1 ไม่ได้ เป็นบิดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย สมชาย โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3ไม่ได้ เป็น บุตร ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย สมชาย และ โจทก์ ที่ 4ไม่ได้ เป็น ภรรยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย สมชาย จำเลย ทั้ง สอง ดูแล นาย การะเวก อย่างดี ไม่ได้ ปล่อยปละละเลย ตาม ฟ้อง ไม่ต้อง ร่วมกัน รับผิด ใน ผล แห่ง ละเมิด หาก นาย การะเวก ทำ ลง ไป เหตุ คดี นี้ เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ นาย สมชาย ที่ ขับ รถจักรยานยนต์ มา ด้วย ความ เร็ว ล้ำ เข้า มา ใน ช่อง เดินรถ ของ นาย การะเวก เป็นเหตุ ให้ ชน กับ รถจักรยานยนต์ ที่นาย การะเวก ขับ มา ทำให้ นาย การะเวก ถึง แก่ ความตาย และ รถจักรยานยนต์ ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ ที่ 1 ไม่มี สิทธิเรียก ค่าเสียหาย โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่มี สิทธิ เรียกค่า ขาดไร้อุปการะ โจทก์ ที่ 4 เสีย ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 5,000 บาทและ ไม่ได้ ประกอบ อาชีพ จึง ไม่ ขาด รายได้ จำเลย ทั้ง สอง ใน ฐานะ บิดา มารดาผู้แทนโดยชอบธรรม ของ นาย การะเวก เสีย ค่าซ่อม รถจักรยานยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 2ช-4385 เป็น เงิน 16,530 บาทเสีย ค่า ปลงศพ นาย การะเวก เป็น เงิน 30,000 บาท และ ค่า ขาด ไร้ อุปการะ เป็น เงิน 750,000 บาท แต่ ขอ เรียก ค่าเสียหาย จาก โจทก์ ทั้ง สี่เพียง 200,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง และ บังคับ ให้ โจทก์ ทั้ง สี่ ร่วมกันหรือ แทน กัน ชำระ เงิน 200,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ จำเลย ทั้ง สอง
โจทก์ ทั้ง สี่ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ทำนอง เดียว กับ คำฟ้อง และ ให้การต่อไป อีก ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ มิได้ เป็น ผู้รับมรดก และ มิได้ เป็น ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ของ นาย สมชาย จึง ไม่ต้อง รับผิด ตาม ฟ้องแย้ง ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน 10,000 บาทแก่ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 12 พฤษภาคม 2531 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ กับ ชำระ เงินจำนวน 40,000 บาท แก่ โจทก์ ที่ 4 พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันที่ 12 พฤษภาคม 2531 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ส่วน คำขออื่น และ ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 กับ ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สี่ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 โจทก์ ที่ 1 ถึงแก่กรรมนางสาว สาว ศรีหยวก ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของ โจทก์ ที่ 1ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน 30,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันที่ 22 สิงหาคม 2531 จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 กับ ชำระ เงิน จำนวน 40,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 22 สิงหาคม 2531 จนกว่า ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ ที่ 4 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา เป็น ปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น บุตร นอก กฎหมาย ที่ บิดา รับรอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ไม่มี สิทธิ เรียก ค่า ปลงศพและ ค่าเสียหาย แก่ รถจักรยานยนต์ นั้น เห็นว่า สิทธิ ใน การ เรียกค่าสินไหมทดแทน เกี่ยวกับ ค่า ปลงศพ ตาม มาตรา 443 วรรคแรก เป็น สิทธิของ ผู้ที่ เป็น ทายาท จะ เรียกร้อง เอา แก่ ผู้ที่ กระทำ ละเมิด ทำให้เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ภายใต้ บังคับ มาตรา 1649 ส่วน สิทธิ ใน การเรียก ค่าสินไหมทดแทน อัน เกิด แก่ ทรัพย์สิน ของ เจ้ามรดก เนื่องมาจากการกระทำ ละเมิด ก็ เป็น สิทธิ ของ เจ้ามรดก ที่ จะ ตกทอด แก่ ทายาทตาม มาตรา 1599 และ 1600 เช่นกัน เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่านาย สมชาย ได้รับ รอง โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ว่า เป็น บุตร และ ตาม มาตรา 1627 ให้ ถือว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับ บุตร ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย สมชาย ย่อม มีสิทธิ รับมรดก ของ นาย สมชาย ตาม มาตรา 1629(1) โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียก ค่า ปลงศพ นาย สมชาย และ ค่า ที่ รถจักรยานยนต์ ของ นาย สมชาย เสียหาย ได้ ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ไว้ ชอบแล้วฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน