คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับ ต. แม้ไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456วรรคแรก ก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) เป็นหลักฐาน เจ้าของที่ดินจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อ ต.ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ส.บิดาโจทก์ ถือว่า ต.ได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377, 1378 แล้ว เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยบิดายกให้ โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้ขณะซื้อขายที่ดินพิพาทมีข้อตกลงว่าเมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว จึงจะมีการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ก็เป็นเรื่องประสงค์จะให้มีหลักฐานทางทะเบียนภายหลังจากที่ได้โอนสิทธิครอบครองแล้วเท่านั้น เพราะในขณะที่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทนั้น ต.ได้จำนองที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาทไว้กับ พ.ไม่อาจทำการโอนทางทะเบียนได้ จึงมิใช่เงื่อนไขในสัญญาซื้อขายอันจะมีผลทำให้สัญญาซื้อขายดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกลายเป็นสัญญาจะซื้อขาย

Share