แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
แม้ตาม ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้ กระทำผิดในฐานะ ผู้ดำเนินการตาม ความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่ง เป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ที่บัญญัติว่า “ถ้า การกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม… ต้อง ระวางโทษ…หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตาม ที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตาม มาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัว อาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 44ซึ่ง จะต้องถูกลงโทษตาม มาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้ .
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4, 32, 44, 65, 67, 70 และนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลจดำที่ 4140/2532 ของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีคยามผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พ.ศ. 4, 32, 44, 65, 67, 70 เรียงกระทงลงโทษ ฐานใช้อาคารเพื่อกิจการพาณิชยกรรมซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมใช้โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่ได้ออกใบรับรองและอนุญาตให้ใช้อาคาร ตามมาตรา 4, 32, 65 ประกอบมาตรา 69, 70 ปรับ 20,000 บาทฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 4,32, 44, 67 ประกอบมาตรา 69, 70 ปรับวันละ 10,000 บาท นับแต่วันที่27 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2532 เป็นเวลา 272 วันปรับ 2,720,000 บาท รวมปรับ 2,740,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 1,370,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนมีกำหนด 2 ปี นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 3792/2532 ของศาลชั้นต้น
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ปรับจำเลยข้อหาแรก 10,000 บาทโดยนัยเดียวกับจ้อหาที่สอง คงปรับจำเลยเป็นรายวัน วันละ 5,000 บาทนับแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2532 เป็นเวลา272 วัน เป็นเงิน 1,360,000 บาท รวมปรับทั้งสิ้น 1,370,000 บาทลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงปรับ 685,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแล้ว แม้ไม่ได้อ้างมาตรา 69แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาการ พ.ศ. 2522 มาในคำขอท้ายฟ้องศาลก็ย่อมนำมาตราดังกล่าวมาปรับแก่คดีโดยลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าได้ ดังคำพิพากษาศาลชั้นต้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่าพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2520 มาตรา 69 บัญญัติความว่า”ถ้าการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ” กฎหมายมาตรานี้บัญญัติโทษของผู้ดำเนินการหนักขึ้นกว่ากรณีธรรมดา ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ผู้ดำเนินการ”ไว้ว่า ให้หมายความถึงเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งตกลงรับกระทำการดังกล่าวไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และผู้รับจ้างช่วง แม้ตามฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาท แต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยในฐานะเป็นผู้ดำเนินการ ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการศาลอุทธรณ์เกินคำขอของโจทก์ ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192
สำหรับฎีกาของจำเลย จำเลยฎีกกว่า ในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 44 นั้น ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษด้วย เพราะได้ใช้ปรับกับความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยยังไม่ได้ใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 32 ไปแล้ว และมาตรา 67 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 44 ก็มุ่งเน้นถึงลักษณะการว่าฝืนคำสั่ง มิได้มุ่งเน้นในลักษณะของตัวอาคาร จึงปรับจำเลยในข้อนี้ได้เพียงวันละ 500 บาท เท่านั้น หาใช่วันละ 10,000บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 70 บัญญัติว่า “ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำอันเกี่ยวอับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม… ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ” กรณีตามมาตรา70 นี้ หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 แล้ว และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะนำมาตรา70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้
พิพากษายืน.