แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์ฟ้องโดยไม่นำตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องจึงสั่งไม่ประทับฟ้องและจำหน่ายคดีเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 91,265, 268, 335(1), 357 วรรคสอง ริบ แผ่น ป้าย ทะเบียน ปลอม ของกลางและ นับ โทษ จำเลย ต่อ จาก โทษ จำคุก ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 7943/2534ของ ศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ประทับ ฟ้อง ต่อมา ปรากฏ ต่อ ศาลชั้นต้นว่าคดี นี้ พนักงานสอบสวน ขอฝากขัง ครั้งสุดท้าย ครบ กำหนด วันที่ 24เมษายน 2534 ถึง กำหนด ไม่มี การ ขอฝากขัง หรือ ฟ้อง จำเลย ต่อ ศาลจึง ไม่มี การ ควบคุม จำเลย ไว้ ต่อไป ต่อมา โจทก์ ฟ้อง จำเลย เมื่อ วันที่2 มิถุนายน 2535 โดย ไม่นำ ตัว จำเลย ส่ง ศาล พร้อม ฟ้อง โดย ระบุ ในคำฟ้อง ว่า จำเลย ต้อง ขัง อยู่ ใน คดี หมายเลขดำ ที่ 1922/2534 หมายเลขแดงที่ 7943/2534 ของ ศาลชั้นต้น ต่อมา จำเลย ได้รับ อนุญาต ให้ ปล่อยชั่วคราว ใน ระหว่าง อุทธรณ์ ใน คดี ดังกล่าว ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่ง ว่าโจทก์ ฟ้อง จำเลย โดย ไม่นำ ตัว จำเลย ส่ง ศาล พร้อม ฟ้อง และ จำเลย ไม่อยู่ใน อำนาจ ของ ศาล การ ที่ ศาล สั่ง ประทับ ฟ้อง ไป จึง เป็น การ สั่ง โดยผิดหลง จึง ให้ เพิกถอน คำสั่ง ประทับ ฟ้อง เสีย เป็น ไม่ ประทับ ฟ้องจำหน่ายคดี
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า โจทก์ ฟ้องจำเลย โดย ไม่นำ ตัว จำเลย มา ส่ง ศาล พร้อม ฟ้อง และ จำเลย ไม่อยู่ ในอำนาจ ของ ศาล จึง สั่ง ไม่ ประทับ ฟ้อง และ จำหน่ายคดี เมื่อ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อม มีผล เท่ากับ ว่า ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ จึง ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17)พ.ศ. 2532 ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา ของ โจทก์ มา โดย ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา โจทก์