คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่โจทก์นำกรมธรรม์ประกันภัยมาสืบประกอบพยานอื่นในข้อรับช่วงสิทธิโดยมิได้นำสืบบังคับตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยตรงแม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้. จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมแม้รถยนต์ของโจทก์จะเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลซึ่งต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้รับจ้างบรรทุกสินค้าของผู้อื่นก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้เพราะการที่โจทก์นำรถยนต์ไปรับจ้างโดยผิดกฎหมายหรือไม่เป็นคนละเรื่องกับการกระทำละเมิด.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของ ผู้ ครอบครอง รถ บรรทุก 10ล้อ หมายเลข ทะเบียน น.ม.24115 ซึ่ง ได้ เอา ประกันภัย ไว้ กับ โจทก์ที่ 2 โดย โจทก์ ที่ 1 และ บริษัท ชานนท์ มอเตอร์ จำกัด จำเลย ที่ 2เป็น เจ้าของ ผู้ ครอบครอง รถยนต์ บรรทุก หมายเลข ทะเบียน ล.บ.17503และ เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ส่วน จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 2 ไว้ ใน ลักษณะ ประกันภัย ค้ำจุนเมื่อ วันที่ 21 สิงหาคม 2521 จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ ดังกล่าวใน ทาง การ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ไป ตาม ถนน มิตรภาพ จาก อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ไป ทาง จังหวัด สระบุรี ครั้น มา ถึง หลักกิโลเมตร ที่ 113 – 114 ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ เมือง จังหวัด สระบุรีจำเลย ที่ 1 ขับ รถ ด้วย ความ ประมาท ด้วย ความเร็ว สูง ใน ขณะ ที่ฝน ตก ถนน ลื่น ทำ ให้ รถ แฉลบ ล้ำเส้น กึ่งกลาง ถนน อย่าง กะทันหันและ กระชั้นชิด เข้า ไป ใน ช่องทาง วิ่ง ของ รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง นาย คำมูล เกียรตินุกูล ขับขี่ สวนทาง มา จำเลย ที่ 1 หัก รถกลับ เข้า เส้นทาง แต่ ไม่ พ้น เป็น เหตุ ให้ ท้าย รถ ปาด ปะทะ ด้านขวา ของ รถ โจทก์ ที่ 1 ได้ รับ ความ เสียหาย พนักงาน สอบสวนเปรียบเทียบ ปรับ จำเลย ที่ 1 แล้ว โจทก์ ที่ 2 ซ่อม รถ ของ โจทก์ ที่1 เป็น เงิน 33,500 บาท และ ค่า ลากรถ 600 บาท รวม 34,100 บาท โจทก์ที่ 1 เสีย เวลา ซ่อมแซม รถ 78 วัน ขาด รายได้ จาก การ ใช้ รถ วันละ1,000 บาท เป็น เงิน 78,000 บาท รถ เสื่อม ราคา 20,000 บาท ค่า ลากรถ600 บาท จ่าย ให้ โจทก์ ที่ 2 ทุกครั้ง ที่ เกิด อุบัติเหตุ ตาม สัญญาประกันภัย 1,000 บาท รวม ค่าเสียหาย โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 99,600บาท รวม ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เงิน 133,700 บาท ขอให้บังคับ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย
โจทก์ ถอน ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ศาล อนุญาต
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน น.บ.24115 ไม่ ใช่ของ โจทก์ แต่ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ ห้างหุ้นส่วน จำกัด ชานนท์ มอเตอร์โจทก์ ที่ 1 ไม่ มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 1 ไม่ ใช่ ลูกจ้าง และ ไม่ ได้กระทำ ใน ทาง การ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ ต้องรับผิด ร่วมกับ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 มิได้ ขับ รถ ด้วย ความ ประมาท รถยนต์คัน ดังกล่าว เสียหาย เฉพาะ บังโคลน ด้าน หน้า แถบ ขวา ซ่อมแซม เพียงเล็กน้อย ใช้ เวลา ไม่เกิน 10 วัน โจทก์ ที่ 1 นำ รถ หา ประโยชน์มี รายได้ ไม่เกิน วันละ 100 บาท ค่า ลากรถ เรียก ซ่อม กับ โจทก์ ที่1 ขอ ให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ทำนอง เดียว กับ จำเลย ที่ 2 และ เพิ่มเติม ว่าฟ้อง โจทก์ เคลือบคลุม เพราะ ไม่ บรรยาย ว่า รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1ได้ รับ ความ เสียหาย อย่างใด การ ใช้ รถ ของ โจทก์ ที่ 1 ผิด เงื่อนไขใน กรมธรรม์ ประกันภัย จำเลย ที่ 3 รับ ประกันภัย รถยนต์ หมายเลขทะเบียน ล.บ.17503 จาก บุคคล อื่น มิใช่ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 นำรถยนต์ ไป รับจ้าง หรือ ให้ เช่า ผิด เงื่อนไข ใน กรมธรรม์ ประกันภัยจำเลย ที่ 3 ต้อง รับผิด ชดใช้ ให้ บุคคล ภายนอก ไม่เกิน 50,000 บาทขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 เป็น เงิน 48,000 บาท และ 34,100บาท ตาม ลำดับ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่ากรมธรรม์ ประกันภัย เอกสาร หมาย จ.3 ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ โจทก์ ที่2 มิได้ ปิด อากรแสตมป์ จึง ฟัง ไม่ ได้ ว่า โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้รับประกันภัย โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง นั้น เห็นว่า ประเด็นที่ ต้อง พิจารณา มี เพียง ว่า โจทก์ ที่ 2 รับ ช่วง สิทธิ จาก โจทก์ที่ 1 หรือไม่ เมื่อ โจทก์ ที่ 2 นำสืบ พยานบุคคล ฟัง ได้ ว่า โจทก์ที่ 1 เป็น ผู้ เอา ประกันภัย โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้รับ ประกันภัย รถยนต์หมายเลข ทะเบียน น.ม.24115 การ นำสืบ เอกสาร หมาย จ.3 มิได้ นำสืบบังคับ ตาม กรมธรรม์ ประกันภัย เพียง แต่ เป็น พยาน ประกอบ พยาน อื่นว่า โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้รับ ช่วง สิทธิ จาก โจทก์ ที่ 1 เท่านั้นโจทก์ ที่ 2 จึง มี อำนาจ ฟ้อง
ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่า รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1 เป็น รถยนต์ บรรทุกส่วน บุคคล ซึ่ง ต้องห้าม ตาม กฎหมาย มิให้ ใช้ รับจ้าง บรรทุก สินค้าของ ผู้อื่น โจทก์ ที่ 1 จึง ไม่ อาจ อ้าง ได้ ว่า ตน ขาด ประโยชน์จาก การ ใช้ รถ เพราะ ผลประโยชน์ ดังกล่าว เป็น ผลประโยชน์ ที่ ไม่ ชอบด้วย กฎหมาย นั้น เห็นว่า เมื่อ โจทก์ ที่ 1 ได้ รับ ความ เสียหาย จากการ กระทำ ละเมิด ของ ฝ่าย จำเลย เป็น เหตุ ให้ โจทก์ ที่ 1 มี สิทธิที่ จะ เรียกร้อง ค่า ขาด ประโยชน์ จาก การ ใช้ รถยนต์ ระหว่าง ซ่อมแล้ว การ ที่ โจทก์ ที่ 1 จะ นำ รถยนต์ ดังกล่าว ไป รับจ้าง โดย ผิดกฎหมาย หรือไม่ เป็น คนละ เรื่อง กับ การ ทำ ละเมิด ไม่ ทำ ให้ จำเลยที่ 3 พ้นจาก ความ รับผิด ที่ จะ ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ให้ โจทก์
พิพากษา ยืน.

Share