คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา14จะห้ามมิให้บุคคลใด ยึดถือครอบครองที่ดินในเขต ป่าสงวนแห่งชาติ แต่ก็ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎรแต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่นและย่อมมีสิทธิขายการ ครอบครองให้แก่บุคคลอื่นได้ไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและเมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ครอบครองทำกินในที่ดินดังกล่าวอยู่จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำการครอบครองที่ดินไปขายให้โจทก์เมื่อโจทก์เข้าครอบครองที่ดินไม่ได้จำเลยจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำ สัญญา ขาย ที่ดิน (มือเปล่า ) จำนวน 100 ไร่แก่ โจทก์ ใน ราคา 100,000 บาท โจทก์ ชำระ เงิน ใน วัน ทำ สัญญา 50,000 บาทจำเลย มอบ ที่ดิน ให้ โจทก์ ครอบครอง ทำประโยชน์ ปรากฏว่า ที่ดิน ดังกล่าวไม่ใช่ ของ จำเลย แต่ เป็น ของ นาย แห่ว ขอให้ จำเลย ชำระ เงิน 57,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 50,000 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ มา ฟ้อง เรียกเงิน คืน เมื่อ วันที่ 13มีนาคม 2534 พ้น กำหนด หนึ่ง ปี นับแต่ วัน ซึ่ง โจทก์ รู้ ว่า ตน มีสิทธิเรียกคืน ฟ้อง ของ โจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 57,500บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 50,000 บาทนับ จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกา จำต้อง ฟัง ข้อเท็จจริงตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ซึ่งศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ฟัง ว่า จำเลย ทำ สัญญา ขาย ที่ดินพิพาท ซึ่ง อยู่ ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติ โดย ส่งมอบ การ ครอบครอง ให้ โจทก์ ได้รับ เงิน ค่าที่ดินไป แล้ว 50,000 บาท แต่เมื่อ โจทก์ เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ปรากฏว่ามี นาย แห่ว ขวัญสูตร กับนายหัน บุตรชาย นาย แห่ว ขัดขวาง โดย ที่ดินพิพาท มี นาย หัน เป็น ผู้ครอบครอง ทำกิน มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา จำเลย ว่าการ ที่ โจทก์ จ่ายเงิน ค่าซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง ๆ ที่ ทราบ ว่า เป็น ที่ดิน อยู่ ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ นั้นจะ มีสิทธิ เรียกเงิน ดังกล่าว คืน ได้ หรือไม่ และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2วินิจฉัย นอกประเด็น หรือไม่ เห็นว่า ตาม ฎีกา ข้อ แรก นั้น แม้พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 14 จะ บัญญัติ ว่า ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้าม มิให้ บุคคล ใด ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน และ มีบท กำหนด โทษ ทางอาญา แก่ ผู้ฝ่าฝืน ไว้ ใน มาตรา 31 แต่ บทบัญญัติดังกล่าว ก็ ใช้ บังคับ ระหว่าง รัฐ กับ ราษฎร ซึ่ง เป็น ผล ให้ ราษฎร ที่เข้า ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน ไม่ได้ สิทธิ ครอบครอง โดยชอบ ด้วย กฎหมายทั้ง ไม่อาจ อ้าง สิทธิ ใด ๆ ใช้ ยัน รัฐ ได้ แต่ ใน ระหว่าง ราษฎร ด้วยกันผู้ที่ ครอบครอง ใช้ ประโยชน์ อยู่ ก่อน ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ไม่ ถูก รบกวนโดย บุคคลอื่น ผู้ที่ ครอบครอง นั้น ย่อม มีสิทธิ ขาย การ ครอบครองให้ แก่ บุคคลอื่น ได้ ไม่เป็น นิติกรรม ที่ มี วัตถุประสงค์ ต้องห้ามชัดแจ้ง โดย กฎหมาย ดัง ที่ จำเลย อ้าง แต่อย่างใด ดังนั้น หาก ฟัง ว่าจำเลย ครอบครอง ที่ดิน ตาม สัญญาซื้อขาย ย่อม โอน การ ครอบครองให้ โจทก์ ได้ แม้ จะ เป็น ที่ดิน ซึ่ง อยู่ ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ ก็ ตามเมื่อ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า บุคคลอื่น เป็น ผู้ครอบครองทำกิน ใน ที่ดินพิพาท จำเลย ย่อม ไม่มี สิทธิ ที่ จะ นำ การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ไป ขาย ให้ โจทก์ เมื่อ สัญญาซื้อขาย เป็น สัญญาต่างตอบแทนการ ที่ โจทก์ เข้า ครอบครอง ที่ดิน ตาม สัญญาซื้อขาย นั้น ไม่ได้ จำเลยจึง ต้อง คืนเงิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ปัญหา ตาม ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ที่ ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัยนอกประเด็น หรือไม่ เห็นว่า ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น พิพาท ตาม รายงานกระบวนพิจารณา วันที่ 13 พฤษภาคม 2534 ใน ข้อ ที่ 1 ว่า จำเลย ผิดสัญญาซื้อ ขาย ท้ายฟ้อง จน เป็นเหตุ ให้ โจทก์ มีสิทธิ เรียกเงิน ตาม ฟ้อง คืนได้ หรือไม่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่า จำเลย ผิดสัญญาเพราะ นำ ที่ดิน ซึ่ง ตน ไม่มี สิทธิ ขาย ไป ทำ สัญญาซื้อขาย และ รับ เงินตาม สัญญา จาก โจทก์ จึง เป็น การ วินิจฉัย ตาม ประเด็น ที่พิพาท ส่วน ที่ศาลชั้นต้น ยก ข้อกฎหมาย เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ขึ้น วินิจฉัยว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียกเงิน ตาม สัญญาซื้อขาย เพราะ สัญญาซื้อขายขัด ต่อ กฎหมาย ชัดแจ้ง และ โจทก์ ชำระ เงิน ค่าที่ดิน ให้ จำเลย โดย รู้ ว่าตน ไม่มี ความผูกพัน ที่ จะ ต้อง ชำระ ก็ เป็น อำนาจ ที่ ศาลชั้นต้น มี อยู่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) แต่ หาก ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่เห็น พ้อง กับ คำวินิจฉัย ของ ศาลชั้นต้น แล้ว วินิจฉัย คดี ไปตาม ประเด็น พิพาท ดังกล่าว จึง มิใช่ วินิจฉัย นอกประเด็น แต่อย่างใดฎีกา จำเลย ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share