คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่โจทก์ออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือในเวลาทำงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่โจทก์ไปสอนหนังสือน้อยครั้งและสอนครั้งละเพียง2ชั่วโมงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ประจำ โดยไม่ เป็นธรรม และ ไม่ บอกกล่าว ล่วงหน้า ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหาย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เอา เวลา ทำงาน ไป ประกอบ ธุรกิจ อื่น เป็นการ เบียดบัง เวลา การ ทำงาน ของ จำเลย จงใจ ทำ ให้ จำเลย ได้ รับความ เสียหาย และ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน เป็นกรณี ร้ายแรง จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ ต้อง จ่าย เงิน ตาม ฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ เป็นธรรมพิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าเสียหาย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า เห็นว่า การ ที่ โจทก์ ได้ออกจาก สำนักงาน เพื่อ ไป สอน หนังสือ ใน เวลา ทำงาน โดย มิได้ รับอนุญาต จาก กรรมการ ผู้จัดการ ซึ่ง เป็น ผู้บังคับบัญชา นั้น ย่อม เป็นการ กระทำ ผิด ต่อ ข้อบังคับ การ ทำงาน ของ จำเลย ตาม เอกสาร หมายล.10 ข้อ 5 วินัย และ การ ลงโทษ ทาง วินัย 5.1 ซึ่ง กำหนด ว่า ไม่ ทิ้งงาน ใน เวลา ทำงาน โดย มิได้ รับ อนุญาต ล่วงหน้า จาก ผู้บังคับบัญชา แต่ การ ที่ โจทก์ เบียดบัง เวลา ทำงาน ของ จำเลย ไป ทำการ สอน เพียงครั้ง ละ 2 ชั่วโมง และ ได้ กระทำ น้อย ครั้ง เพราะ ส่วนมาก โจทก์ จะไป สอน ใน วัน เสาร์ และ วัน อาทิตย์ เช่นนี้ กรณี ยัง ไม่ เพียงพอที่ จะ ถือ ว่า โจทก์ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ การ ทำงาน ของ จำเลย ดังกล่าวเป็น กรณี ร้ายแรง อัน พึง เป็น เหตุ ให้ จำเลย มี สิทธิ เลิกจ้างโจทก์ โดย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ ได้ ส่วน จำเลย จะ ต้อง จ่าย ค่าเสียหาย ให้ แก่โจทก์ ด้วย หรือไม่ นั้น ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า โจทก์ ได้ ปฎิบัติผิด ต่อ ข้อบังคับ การ ทำงาน ของ จำเลย โดย ได้ ออก ไป ทำการ สอน ณที่อื่น ใน เวลา ปฏิบัติ งาน โดย มิได้ รับ อนุญาต จาก ผู้บังคับบัญชาแม้ จะ เป็น กรณี ไม่ ร้ายแรง ดัง ที่ ได้ วินิจฉัย ไว้ ข้างต้น ก็ ตาม การ ที่ โจทก์ ปฏิบัติ เช่นนี้ ก็ ย่อม เป็น เหตุ ให้ จำเลย มี สิทธิเลิกจ้าง โจทก์ ได้ แล้ว กรณี ไม่ อาจ กล่าวอ้าง ได้ ว่า เป็น การเลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง.

Share