คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เอกสารที่ทำขึ้นใช้ถ้อยคำแสดงว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันและข้อความต่อมาก็ระบุในรายละเอียดให้เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ลงชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าวขอรับรองการเข้ามาทำงานของจำเลยที่1ในกรณีที่จำเลยที่1ยักยอกหรือทุจริตเงินของโจทก์ให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายแก่จำเลยที่1และจำเลยที่2ได้ทันทีดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่2ได้ค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดจากการทำงานของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ทำหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือให้ไว้แก่โจทก์แม้จะไม่มีข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่2ยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้เมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่2ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้เพราะเมื่อจำเลยที่2ยินยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วความรับผิดจะมีขึ้นตอนไหนเพียงใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายไม่จำต้องระบุถึงความรับผิดดังกล่าวซ้ำอีกถึงได้ใช้คำว่า”ผู้ค้ำประกัน”อันเป็นถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ11ว่าด้วยค้ำประกันจำเลยที่2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้รับ จำเลย ที่ 1 เข้า ทำงาน มี จำเลย ที่ 2เป็น ผู้ทำสัญญา ค้ำประกัน การ ทำงาน ของ จำเลย ที่ 1 ใน ความเสียหาย ใด ๆที่ จำเลย ที่ 1 อาจ ก่อ ให้ เกิดขึ้น ใน ระหว่าง ทำงาน กับ โจทก์ ต่อมาจำเลย ที่ 1 กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ กล่าว คือ จำเลย ที่ 1 ได้รับ เงินค่า โดยสาร จาก พนักงานเก็บเงิน ค่า โดยสาร รถยนต์ ประจำทาง จำนวน 51 คนแล้ว ไม่ส่ง มอบ เงิน ที่ ได้รับ ไว้ นั้น แก่ โจทก์ กลับ เบียดบัง ยักยอก เงินไป เป็น ประโยชน์ ส่วนตัว รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 615,114 บาท โจทก์ทวงถาม จำเลย ทั้ง สอง แล้ว แต่ จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ขอให้ บังคับจำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 669,396 บาท แก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1ไม่ชำระ ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระ แทน กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 615,114 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า เมื่อ จำเลย ที่ 1 ได้รับ เงิน จาก พนักงานเก็บ เงิน ค่า โดยสาร รถยนต์ ประจำทาง ของ โจทก์ แล้ว จำเลย ที่ 1 ก็ ได้นำ เงิน ส่งมอบ ให้ โจทก์ รับ ไป ทั้งหมด ทุกวัน โจทก์ ไม่เคย คัดค้าน เอกสารท้ายฟ้อง เป็น เอกสาร ที่ โจทก์ ทำ ขึ้น เอง ฝ่ายเดียว หลังจาก ที่ จำเลย ที่ 1ออกจาก งาน ไป แล้ว จำเลย ที่ 1 มิได้ รู้เห็น ยินยอม ด้วย เป็น เอกสาร เท็จขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ยักยอก เงิน ของ โจทก์จำเลย ที่ 2 ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพราะ จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ค้ำประกันการ ทำงาน ของ จำเลย ที่ 1 หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ตาม เอกสาร ท้ายฟ้องหมายเลข 4 เป็น เพียง หนังสือ ที่ จำเลย ที่ 2 รับรอง ความประพฤติ ของจำเลย ที่ 1 เท่านั้น มิใช่ สัญญาค้ำประกัน ความเสียหาย ตาม ที่ โจทก์กล่าวอ้าง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 669,396 บาทและ ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 615,114 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คดี สำหรับ จำเลย ที่ 2ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ระบุ ว่า “หนังสือสัญญาค้ำประกัน ” และ มี ข้อความ ต่อมา ว่า “ข้าพเจ้า นาย เอนก สงขกุล (จำเลย ที่ 2) ขอรับ รอง ว่า นาง ภาวนา สงขกุล ซึ่ง สมัคร เข้า ทำงาน ตำแหน่ง เสมียน ฝ่าย การเงิน ของ บริษัท เพชรพิจิตรยานยนต์ จำกัด เป็น ผู้ มี ความประพฤติ เรียบร้อย หาก ไม่ปฏิบัติ งาน ให้ เป็น ไป ตามระเบียบ ของ ทาง บริษัท ฯ ทำ ทรัพย์สิน ของ ทาง บริษัท ฯ เสียหาย ยักยอกหรือ ทุจริต เงิน ของ ทาง บริษัท ฯ หาก หนี ไป หรือ กระทำการ อื่น ๆ ที่ นำความ เสื่อมเสีย ชื่อเสียง มา สู่ บริษัท ฯ ทาง บริษัท จะ ดำเนินการ ตามกฎหมาย ทันที
ข้าพเจ้า ได้ อ่าน ข้อความ ดังกล่าว ข้างต้น และ รู้ ระเบียบ ดี แล้วจึง ลงลายมือชื่อ ไว้ เป็น หลักฐาน
ลงชื่อ ภาวนา สงขกุล ผู้ สมัคร
ลงชื่อ เอนก สงขกุล ผู้ค้ำประกัน เห็นว่า ใน เอกสาร หมาย จ. 3 ใช้ ถ้อยคำ แสดง ว่า เป็น หนังสือ สัญญาค้ำประกัน และ ข้อความ ต่อมา ก็ ระบุ ใน รายละเอียด ให้ เป็น ที่ เข้าใจได้ว่า จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ที่ ลงชื่อ ไว้ ใน เอกสาร ดังกล่าวขอรับ รอง การ เข้า มา ทำงาน ของ จำเลย ที่ 1 ใน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ยักยอกหรือ ทุจริต เงิน ของ โจทก์ ให้ โจทก์ ดำเนินการ ตาม กฎหมาย แก่ จำเลย ที่ 1และ จำเลย ที่ 2 ได้ ทันที ดังนี้ เป็น กรณี ที่ จำเลย ที่ 2 ได้ ค้ำประกันความเสียหาย ที่ จะ เกิดจาก การ ทำงาน ของ จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2ทำ หลักฐาน การ ค้ำประกัน เป็น หนังสือ ให้ ไว้ แก่ โจทก์ แม้ จะ ไม่มี ข้อความใน เอกสาร หมาย จ. 3 ระบุ ว่า จำเลย ที่ 2 ยอม ผูกพัน ตน รับผิด ต่อ โจทก์เพื่อ ชำระหนี้ เมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ หนี้ ก็ ไม่ทำ ให้ ความรับผิด ในฐานะ ผู้ค้ำประกัน ของ จำเลย ที่ 2 ที่ มี อยู่ เปลี่ยนแปลง ไป ทั้งนี้ เพราะเมื่อ จำเลย ที่ 2 ยินยอม ผูกพัน ตน รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกันแล้ว ความรับผิด จะ มี ขึ้น ตอน ไหน เพียงใด ย่อม เป็น ไป ตาม กฎหมาย ไม่จำต้องระบุ ถึง ความรับผิด ดังกล่าว ซ้ำ อีก ถึง ได้ ใช้ คำ ว่า “ผู้ค้ำประกัน “อันเป็น ถ้อยคำ ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3ลักษณะ 11 ว่าด้วย ค้ำประกัน จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่าจำเลย ที่ 2 ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ถ้า จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ เงิน จำนวน669,396 บาท แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ชำระ เงินจำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์ แทน และ ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วม กับ จำเลย ที่ 1ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 615,114 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share