แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ตกลงยินยอมให้ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ตกลงกันเดิมมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงอันจะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จำเลยก่อสร้างบ้านของโจทก์มีส่วนสูงน้อยกว่าที่กำหนดไว้ประมาณ.16ถึง.18เมตรแต่เมื่อไม่กระทบถึงความคงทนของตัวบ้านก็หาทำให้บ้านเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ไม่จึงมิใช่การผิดสัญญาในข้อสำคัญถึงขนาดโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดก็มีเพียง สิทธิเรียกร้องให้จำเลย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเท่านั้น
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 342,783 บาทให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ เงิน จำนวน342,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า การ นำสืบ ว่า มี การ ตกลงให้ แก้ไข เปลี่ยนแปลง แบบแปลน เอกสาร หมาย จ. 3 เป็น การ นำพยาน บุคคลมา สืบ หักล้าง เปลี่ยนแปลง เอกสาร ต้องห้าม ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 94 นั้น เห็นว่า การ ที่ จำเลย นำสืบ ว่า โจทก์ ตกลงยินยอม ให้ จำเลย ก่อสร้าง ผิด จาก แบบแปลน เอกสาร หมาย จ. 3 ที่ ตกลง กันเดิม นั้น มิใช่ เป็น กรณี ที่ กฎหมาย บังคับ ให้ ต้อง มี พยานเอกสาร มา แสดงอัน จะ ต้องห้าม มิให้ นำพยาน บุคคล มา สืบ เปลี่ยนแปลง ข้อความ ใน เอกสารนั้น ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา แต่อย่างใด ไม่ ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ จึง ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ผิดสัญญา โดย ก่อสร้าง บ้าน ของ โจทก์ให้ มี ความ สูง ของ บ้าน จาก พื้น ชั้นล่าง ถึง หลังคา บ้าน น้อยกว่า ใน แบบแปลนโจทก์ มีสิทธิ บอกเลิก สัญญา และ ได้ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา แล้ว จำเลยจึง ต้อง คืนเงิน ค่าจ้าง ที่ ได้รับ ไป จาก โจทก์ จำนวน 292,000 บาทกับ ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ อีก 50,000 บาท นั้น ใน ปัญหา นี้โจทก์ มี ตัว โจทก์ เบิกความ เป็น พยาน ว่า จำเลย ปลูกสร้าง บ้าน ผิด แบบแปลนโดย ส่วน สูง ของ บ้าน จาก พื้น ชั้นล่าง ถึง หลังคา ตาม แบบแปลน สูง 7.20 เมตรแต่ จำเลย ปลูกสร้าง สูง เพียง 6.90 เมตร จำเลย มิได้ นำสืบ หักล้างพยานหลักฐาน ดังกล่าว ของ โจทก์ จึง ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ ปลูกสร้าง บ้านของ โจทก์ โดย มี ส่วน สูง ของ บ้าน จาก พื้น ชั้นล่าง ถึง หลังคา น้อยกว่าที่ กำหนด ไว้ ใน แบบแปลน .30 เมตร ซึ่ง แม้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ดังได้ วินิจฉัย มา แล้ว ว่า โจทก์ ได้ ตกลง ยินยอม ให้ จำเลย ใช้ คาน ตัว ที แทนคาน พื้น เรียบ สำหรับ พื้น ชั้นล่าง ซึ่ง คาน ตัว ที มี ความ สูง มาก กว่าคาน พื้น เรียบ ประมาณ 12 ถึง 14 เซนติเมตร ทำให้ พื้น ชั้นล่าง ของบ้าน โจทก์ มี ความ สูง มาก กว่า ที่ กำหนด ไว้ ตาม แบบแปลน 12 ถึง 14เซนติเมตร ตาม ความ สูง ของ คาน ตัว ที ก็ ตาม แต่ ก็ ยัง มี ส่วน สูง ของ บ้านจาก พื้น ชั้นล่าง ถึง หลังคา บ้าน น้อยกว่า ที่ กำหนด ไว้ ใน แบบแปลน อีก.16 ถึง .18 เมตร โดย ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ ตกลง ยินยอม ให้ จำเลยก่อสร้าง บ้าน ของ โจทก์ ให้ มี ความ สูง น้อยลง อีก เช่นนั้น การ ที่ จำเลยก่อสร้าง บ้าน ของ โจทก์ โดย มี ส่วน สูง ของ บ้าน น้อยกว่า ที่ โจทก์ ได้ตกลง ยินยอม ให้ แก้ไข จาก แบบแปลน แล้ว อีก ประมาณ .16 ถึง .18 เมตรเช่นนี้ ย่อม ถือได้ว่า จำเลย ผิดสัญญา โดย มิได้ ทำการ ก่อสร้าง บ้านของ โจทก์ ให้ ถูกต้อง ตรง ตาม สัญญา แต่เมื่อ ได้ความ จาก นาย ฉลาด พยานโจทก์ ว่าการ ก่อสร้าง ผิด แบบแปลน โดย ความ สูง ของ บ้าน ผิด ไป จากแบบแปลน ประมาณ 1 ฟุต คือ.30 เมตร นั้น จะ ไม่ กระทบ ถึง ความ คง ทน ของตัว บ้าน การ ที่ จำเลย ก่อสร้าง บ้าน ของ โจทก์ มี ส่วน สูง น้อยกว่า ที่กำหนด ไว้ ใน แบบแปลน และ ที่ ได้ ตกลง แก้ไข กัน ประมาณ .16 ถึง .18 เมตรดังกล่าว จึง หา ทำให้ บ้าน นั้น เป็น อัน ไร้ประโยชน์ แก่ โจทก์ ไม่ การผิดสัญญา ของ จำเลย จึง มิใช่ การ ผิดสัญญา ใน ข้อสำคัญ ถึง ขนาด ที่ จะ ทำให้โจทก์ มีสิทธิ บอกเลิก สัญญา แก่ จำเลย ได้ หาก การ ผิดสัญญา ดังกล่าวของ จำเลย ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย อย่างใด โจทก์ ก็ มี เพียง สิทธิที่ จะ เรียกร้อง ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ ความเสียหาย นั้นให้ แก่ โจทก์ ได้ เท่านั้น โจทก์ ไม่มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา และ เรียกค่าเสียหาย จาก จำเลย ตาม ฟ้อง ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ นั้นชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน