คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง มรดก เพิกถอนนิติกรรม
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสองประการแรกว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 เนื่องจากโจทก์มิได้ทำเป็นคำร้องแสดงเหตุที่ไม่อาจระบุพยานได้ แล้วในเวลาต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมฉบับดังกล่าวนั้นชอบหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การระบุบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมดังกล่าว โจทก์ได้ทำเป็นคำแถลงฉบับลงวันที่ 17 มิถุนายน 2539 ทั้งบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมครั้งที่ 2 ได้ระบุสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น แต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ระบุ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตแล้วในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมฉบับดังกล่าวของโจทก์และให้นำสำนวนคดีอาญาดังกล่าวมาผูกพ่วงกับคดีนี้เป็นพยานโจทก์และพยานศาล ให้ทนายความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับทราบคำสั่งศาลนี้ไว้ในคำแถลงฉบับนี้ ปรากฏตามท้ายคำแถลงฉบับลงวันที่ 17มิถุนายน 2539 แต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลได้ให้ฝ่ายจำเลยลงชื่อรับทราบคำสั่งศาลดังกล่าวไว้ ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้ จำเลยทั้งสองชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงไม่ชอบ
++ การที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมดังกล่าว แม้จะเป็นการยื่นที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสาม ดังจำเลยทั้งสองฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมด้วยเหตุผลที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาแล้ว สำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น เป็นสำนวนเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 106/2533 ของศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งสองได้ระบุอ้างไว้ตามบัญชีพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2536 อันดับที่ 19การยื่นบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมนั้นจึงมิได้ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบทั้งสำนวนคดีอาญาที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีจำเป็นจะต้องสืบด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้วศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเช่นนั้นได้ คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว และสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น ทั้งสำนวนย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอีก
++
++ ปัญหาต่อไป ศาลมีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงในสำนวนคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้หรือไม่
++ เห็นว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ 106/2533 เป็นคดีที่นายคลายฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์มีประเด็นโดยตรงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยได้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อให้จำเลยที่ 2หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงอย่างเดียวกับข้อพิพาทในคดีแพ่งนี้แม้ในคดีแพ่งนี้โจทก์จะฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งถือว่าเป็นการกระทำแทนทายาทเมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายจำรัสด้วย ทั้งทรัพย์มรดกของนายคล้อยและนายจำรัสคือที่ดินพิพาทรายเดียวกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัว ดังนั้น จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีอาญากับโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสกับจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งเป็นคู่ความรายเดียวกัน และคดีอาญาดังกล่าวนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2539 ดังนั้น ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ++
++ ปัญหาต่อไปจำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินพิพาทของนายจำรัสเป็นการร่วมกันฉ้อฉลกองมรดกของนายจำรัสหรือไม่ ในปัญหานี้คดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกส่วนของนายจำรัสและนายละมัย จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียว แล้วจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2นำไปจำนองต่อธนาคารกสิกรไทย สาขาสุราษฎร์ธานี เป็นการกระทำโดยทุจริตมีความผิดฐานผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น ในการพิจารณาคดีแพ่งนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
++ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายจำรัสและนายละมัย จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2นำไปจำนองโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์มรดกของนายจำรัส แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะมิใช่เรื่องการฉ้อฉลตามฟ้องก็ตาม แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1หลังจากจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานยักยอกสำเร็จแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 เบียดบังทรัพย์มรดกของนายจำรัสจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำผิดฐานรับของโจรนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวย่อมผูกพันคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2
++ จำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้โอนที่ดินพิพาททรัพย์มรดกของนายจำรัสให้แก่จำเลยที่ 2ดังนั้น การรับโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 แม้จะมิได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะถือว่าเป็นการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนโดยกระทำผิดฐานยักยอกแล้วจึงโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีอำนาจโอนให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทได้
++ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความมรดกและฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนแล้ว ในปัญหานี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองความว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายคล้อยซึ่งนายจำรัสมีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม แต่นายจำรัสได้ถึงแก่ความตายก่อนและการจัดการมรดกของนายคล้อยยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนายคล้อยได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองแล้วจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้กองมรดกของนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกนายคล้อยและสัญญาให้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนายคล้อยให้แก่ตนเองในขณะเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกนายคล้อยทำให้มรดกของนายคล้อยที่จะตกได้แก่กองมรดกนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเสียหาย จึงเป็นคดีจัดการมรดกนายคล้อย มิใช่คดีมรดกนายคล้อยซึ่งต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอ้างอายุความนับตั้งแต่นายจำรัสตายขึ้นต่อสู้ได้และแม้ว่าโจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นการฉ้อฉล แต่เนื้อหาของคำฟ้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องการฉ้อฉล จึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล อายุความการฟ้องคดีจึงไม่นับแต่วันรู้ถึงมูลเหตุให้เพิกถอนดังจำเลยทั้งสองฎีกาแต่กรณีตามคดีนี้เป็นเรื่องการฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทางทะเบียนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่กองมรดกของนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของนายคล้อยดังกล่าวได้
++ ปัญหาต่อไปโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของนายละมัยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของนายคล้อย โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจำรัส คงจัดการได้เฉพาะส่วนมรดกของนายจำรัสเท่านั้น โจทก์ขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาททั้งหมดจึงไม่ชอบนั้น ฎีกาจำเลยทั้งสองถือว่าเป็นข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยทั้งสองชอบที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคสอง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
++ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของนายละมัยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของนายคล้อย และขณะฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการมรดกของนายจำรัสเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ได้ความอีกว่านายจำรัสถึงแก่ความตายขณะเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย โดยนายจำรัสไม่มีบุตรและภริยา มิได้ทำพินัยกรรมไว้ทั้งที่ดินพิพาทมีชื่อนายจำรัสในฐานะผู้จัดการมรดกนายคล้อยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ก่อนที่นายจำรัสจะถึงแก่ความตาย นายจำรัสและนายละมัยจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเมื่อนายจำรัสถึงแก่ความตายทายาททุกคนของนายจำรัสย่อมเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแทนนายจำรัสร่วมกับนายละมัยด้วย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสจึงมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันกับทายาทของนายจำรัสที่จะจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ในฐานะเจ้าของรวม ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก รวมทั้งการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพยสินคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745ประกอบมาตรา 1359 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบดังกล่าวในส่วนของนายละมัยได้ด้วย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิป้องกันแทนกันในฐานะเจ้าของรวม ++

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส พรหมอินทร์ ซึ่งเป็นน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์บิดามารดาของโจทก์ชื่อนายคล้อยและนางจวง พรหมอินทร์ มีบุตรด้วยกัน๗ คน เป็นบุตรชาย ๔ คน และบุตรสาว ๓ คน นางจวงตายเมื่อ ๓๐ ปีเศษแล้ว และบุตรของนางจวงกับนายคล้อยได้เสียชีวิตไปแล้ว ๓ คน และนายคล้อยตายเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ ก่อนตายนายคล้อยได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไว้โดยแต่งตั้งให้นายจำรัสเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ในพินัยกรรมข้อ ๑.๓ ระบุว่า ที่ดินดอนปาบริมถนนยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรชาย ๔ คน คนละเท่า ๆ กัน และข้อ ๑.๘ ระบุว่านาดอนปาบและที่ดินชายนาด้านทิศตะวันออกยกให้นายจำรัส ที่ดินทั้งสองแปลงนี้อยู่ติดกัน หลังจากนายคล้อยตายนายจำรัสได้ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓) เลขที่ ๓๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลทุ่งกง อำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมเป็นแปลงเดียวกันโดยใส่ชื่อนายจำรัสในฐานะผู้จัดการมรดก นายจำรัสตายเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท เมื่อนายจำรัสตาย นายจินดา พรหมอินทร์ เป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อยแทน และโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจำรัสแต่ทั้งนายจำรัสและนายจินดาได้ถึงแก่ความตายก่อนที่จะจัดการทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ ๑ เป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย แล้วจำเลยที่ ๑ ได้จดทะเบียนโอนที่ดินตาม น.ส.๓เลขที่ ๓๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลทุ่งกง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมาเป็นของจำเลยที่ ๑ แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้นจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๒ ทั้งที่มีทายาทอื่นและโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ทั้งนี้โดยจำเลยทั้งสองทราบแล้วไม่มีอำนาจกระทำการ อันเป็นการร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ เป็นเหตุให้กองมรดกของนายจำรัสได้รับความเสียหาย ขอบังคับให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยกับจำเลยที่ ๑ ในฐานะส่วนตัว ให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๑ กับที่ ๒ กลับคืนมายังกองมรดก หากจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน
จำเลยทั้งสองให้การว่า เมื่อประมาณ ๒๐ ปีมาแล้ว นายจำรัสได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่นายจินดากับจำเลยที่ ๒ แล้วจำเลยที่ ๒ กับนายจินดาได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาถึงปัจจุบัน ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์เรียกร้องทรัพย์มรดกเกินกว่า ๑๐ ปี นับแต่นายจำรัสตาย และโจทก์ทราบถึงเหตุอันเป็นมูลเหตุให้เพิกถอนเกินกว่า ๑ ปีแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกและสัญญาให้ที่ดิน น.ส.๓ เลขที่ ๓๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลทุ่งกงอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยกับจำเลยที่ ๑ และระหว่างจำเลยที่ ๑กับที่ ๒ ฉบับลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ หากจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ ๑๐,๐๐๐ บาท
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษายืน ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ๘,๐๐๐ บาท แทนโจทก์
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า นายคล้อย พรหมอินทร์ มีบุตร ๗ คน คือ โจทก์ นางคล้ายนิจจันทร์พันศรี นางสาวจีบ พรหมอินทร์ นางสาวเนื่อง พรหมอินทร์ นายละมัยพรหมอินทร์ นายจำรัส พรหมอินทร์ และนายจินดา พรหมอินทร์ ปี ๒๕๑๒นายคล้อยถึงแก่ความตาย ก่อนตายได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินตามพินัยกรรมข้อ ๑.๓ ให้โจทก์ นายละมัย นายจำรัส และนายจินดากับยกที่ดินตามพินัยกรรมข้อ ๑.๘ ให้แก่นายจำรัส โดยตั้งนายจำรัสเป็นผู้จัดการมรดกตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองเอกสารหมาย จ.๑วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๗ นายจำรัสในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินตามพินัยกรรมข้อ ๑.๓ซึ่งยังมิได้แบ่งปันให้แก่ทายาทกับที่ดินตามพินัยกรรมข้อ ๑.๘ ไปรวมขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับเดียวกันตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.๒ ปี ๒๕๑๔ นายจินดาและจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นภริยานายจินดาได้ปลูกบ้านในที่ดินตามเอกสารหมายจ.๒ และอาศัยครอบครองทำประโยชน์จนถึงปัจจุบัน ปี ๒๕๑๙ นายจำรัสถึงแก่ความตายโดยนายจำรัสไม่มีภริยาและบุตร ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ปี ๒๕๒๖ นายจินดาได้เป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อยแทนนายจำรัสตามสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นเอกสารหมาย ล.๑๓ แล้วนายจินดาในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยได้แบ่งที่ดินตามพินัยกรรมดังกล่าวให้แก่ตนเองและโจทก์ตามส่วนพินัยกรรม คงเหลือที่ดินตามพินัยกรรมข้อ ๑.๓และ ๑.๘ ซึ่งยังไม่ได้แบ่งในส่วนของนายจำรัสและนายละมัยซึ่งเป็นที่ดินพิพาทในคดีนี้ ปี ๒๕๓๐ นายจินดาถึงแก่ความตาย และในปีเดียวกันจำเลยที่ ๑ บุตรของนายจินดาได้เป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อยตามสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นเอกสารหมาย จ.๓ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๐จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเอง และวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ จำเลยที่ ๑ ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นมารดา ในวันเดียวกันนี้ จำเลยที่ ๒ได้จำนองที่ดินพิพาทเพื่อประกันหนี้ต่อธนาคารกสิกรไทย สาขาสุราษฎร์ธานีวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๓ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันยักยอก ตามสำนวนคดีอาญาหมายเลขดำที่ ๑๐๖/๒๕๓๓ ของศาลขั้นต้น ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๖๘/๒๕๓๙วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๔ ศาลแพ่งธนบุรี ได้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจำรัส และวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๓๕ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถอนจำเลยที่ ๑ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย และตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย ตามสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นเอกสารหมาย จ.๘
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสองประการแรกว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ ๒ เนื่องจากโจทก์มิได้ทำเป็นคำร้องแสดงเหตุที่ไม่อาจระบุพยานได้ แล้วในเวลาต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมฉบับดังกล่าวนั้นชอบหรือไม่ เห็นว่า การระบุบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมดังกล่าว โจทก์ได้ทำเป็นคำแถลงฉบับลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๓๙ ทั้งบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมครั้งที่ ๒ ได้ระบุสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๖๖๒/๒๕๓๕ ของศาลชั้นต้น แต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ระบุ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตแล้วในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๙ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมฉบับดังกล่าวของโจทก์และให้นำสำนวนคดีอาญาดังกล่าวมาผูกพ่วงกับคดีนี้เป็นพยานโจทก์และพยานศาล ให้ทนายความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับทราบคำสั่งศาลนี้ไว้ในคำแถลงฉบับนี้ ปรากฏตามท้ายคำแถลงฉบับลงวันที่ ๑๗มิถุนายน ๒๕๓๙ แต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลได้ให้ฝ่ายจำเลยลงชื่อรับทราบคำสั่งศาลดังกล่าวไว้ ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วแม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้ จำเลยทั้งสองชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงไม่ชอบ และเห็นว่า การที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมดังกล่าว แม้จะเป็นการยื่นที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๘๘ วรรคสาม ดังจำเลยทั้งสองฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมด้วยเหตุผลที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๘๗(๒) ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาแล้ว สำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๖๖๒/๒๕๓๕ ของศาลชั้นต้น เป็นสำนวนเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ ๑๐๖/๒๕๓๓ ของศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งสองได้ระบุอ้างไว้ตามบัญชีพยานจำเลยฉบับลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖ อันดับที่ ๑๙การยื่นบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมนั้นจึงมิได้ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบทั้งสำนวนคดีอาญาที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีจำเป็นจะต้องสืบด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้วศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเช่นนั้นได้ คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว และสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๖๖๒/๒๕๓๕ ของศาลชั้นต้น ทั้งสำนวนย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอีก
ปัญหาต่อไป ศาลมีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงในสำนวนคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้หรือไม่ เห็นว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ ๑๐๖/๒๕๓๓ เป็นคดีที่นายคลายฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์มีประเด็นโดยตรงว่า จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยได้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อให้จำเลยที่ ๒หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงอย่างเดียวกับข้อพิพาทในคดีแพ่งนี้แม้ในคดีแพ่งนี้โจทก์จะฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งถือว่าเป็นการกระทำแทนทายาทเมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายจำรัสด้วย ทั้งทรัพย์มรดกของนายคล้อยและนายจำรัสคือที่ดินพิพาทรายเดียวกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัว ดังนั้น จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีอาญากับโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสกับจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งเป็นคู่ความรายเดียวกัน และคดีอาญาดังกล่าวนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๖๘/๒๕๓๙ ดังนั้น ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๖
ปัญหาต่อไปจำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินพิพาทของนายจำรัสเป็นการร่วมกันฉ้อฉลกองมรดกของนายจำรัสหรือไม่ ในปัญหานี้คดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกส่วนของนายจำรัสและนายละมัย จำเลยที่ ๑ ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียว แล้วจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ ๒นำไปจำนองต่อธนาคารกสิกรไทย สาขาสุราษฎร์ธานี เป็นการกระทำโดยทุจริตมีความผิดฐานผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ ๒ให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น ในการพิจารณาคดีแพ่งนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๖ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายจำรัสและนายละมัย จำเลยที่ ๑ ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ ๒นำไปจำนองโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นการยักยอกทรัพย์มรดกของนายจำรัส แม้การกระทำของจำเลยที่ ๑ จะมิใช่เรื่องการฉ้อฉลตามฟ้องก็ตาม แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ ๒ นั้น แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และจำเลยที่ ๒ รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ ๑หลังจากจำเลยที่ ๑ กระทำผิดฐานยักยอกสำเร็จแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ รับโอนโดยรู้ว่าจำเลยที่ ๑ เบียดบังทรัพย์มรดกของนายจำรัสจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ ๒ กระทำผิดฐานรับของโจรนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวย่อมผูกพันคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๒ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยที่ ๑ โดยทุจริตได้โอนที่ดินพิพาททรัพย์มรดกของนายจำรัสให้แก่จำเลยที่ ๒ จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะให้รับฟังได้อีกว่าจำเลยที่ ๒ ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่ ๒ ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ ๑ โดยนายจำรัสยกให้ตามที่จำเลยที่ ๒ ต่อสู้ ดังนั้นการรับโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ ๒ แม้จะมิได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยที่ ๑ ซึ่งจะถือว่าเป็นการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ ๑ ก็ตามแต่จำเลยที่ ๑ ได้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนโดยกระทำผิดฐานยักยอกแล้วจึงโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๒ รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ ๑ ซึ่งไม่มีอำนาจโอนให้แก่จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๒จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทได้
จำเลยทั้งสองฎีกาต่อไปว่า คดีโจทก์ขาดอายุความมรดกและฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนแล้ว ในปัญหานี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองความว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายคล้อยซึ่งนายจำรัสมีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม แต่นายจำรัสได้ถึงแก่ความตายก่อนและการจัดการมรดกของนายคล้อยยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกนายคล้อยได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองแล้วจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ ๒ ทำให้กองมรดกของนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกนายคล้อยและสัญญาให้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ ๑ โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนายคล้อยให้แก่ตนเองในขณะเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย แล้วจำเลยที่ ๑โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ ๒ ในเวลาต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ กระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกนายคล้อยทำให้มรดกของนายคล้อยที่จะตกได้แก่กองมรดกนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเสียหาย จึงเป็นคดีจัดการมรดกนายคล้อยมิใช่คดีมรดกนายคล้อยซึ่งต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๕๔จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอ้างอายุความนับตั้งแต่นายจำรัสตายขึ้นต่อสู้ได้และแม้ว่าโจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นการฉ้อฉล แต่เนื้อหาของคำฟ้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องการฉ้อฉล จึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล อายุความการฟ้องคดีจึงไม่นับแต่วันรู้ถึงมูลเหตุให้เพิกถอนดังจำเลยทั้งสองฎีกาแต่กรณีตามคดีนี้เป็นเรื่องการฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทางทะเบียนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่กองมรดกของนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๐ ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของนายคล้อยดังกล่าวได้
ปัญหาต่อไปโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของนายละมัยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของนายคล้อย โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจำรัส คงจัดการได้เฉพาะส่วนมรดกของนายจำรัสเท่านั้น โจทก์ขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาททั้งหมดจึงไม่ชอบนั้น ฎีกาจำเลยทั้งสองถือว่าเป็นข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๓ จำเลยทั้งสองชอบที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙วรรคสอง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของนายละมัยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของนายคล้อย และขณะฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการมรดกของนายจำรัสเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ได้ความอีกว่านายจำรัสถึงแก่ความตายขณะเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย โดยนายจำรัสไม่มีบุตรและภริยา มิได้ทำพินัยกรรมไว้ทั้งที่ดินพิพาทมีชื่อนายจำรัสในฐานะผู้จัดการมรดกนายคล้อยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ก่อนที่นายจำรัสจะถึงแก่ความตาย นายจำรัสและนายละมัยจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเมื่อนายจำรัสถึงแก่ความตายทายาททุกคนของนายจำรัสย่อมเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแทนนายจำรัสร่วมกับนายละมัยด้วย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสจึงมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันกับทายาทของนายจำรัสที่จะจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ในฐานะเจ้าของรวม ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก รวมทั้งการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพยสินคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๔๕ประกอบมาตรา ๑๓๕๙ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบดังกล่าวในส่วนของนายละมัยได้ด้วย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิป้องกันแทนกันในฐานะเจ้าของรวม ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนและสัญญาให้ที่ดินพิพาทชอบแล้ว ฎีกาจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้นทุกข้อ
พิพากษายืน ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา๘,๐๐๐ บาท แทนโจทก์.

Share