คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2540

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและเพื่อขาย การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ในบ้านเกิดเหตุพร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยที่ก่อนจำเลยทั้งสามจะถูกจับ จำเลยทั้งสามได้ถือถุงออกจากรถยนต์เก๋งคันสีแดงเข้าไปในบ้านเกิดเหตุ ซึ่งในการตรวจค้นและยึดเมทแอมเฟตามีนของกลาง พบเมทแอมเฟตามีนวางอยู่บนโต๊ะรวม 2 กอง โดยมีถุงวางอยู่ 1 ใบ เมื่อตรวจค้นลิ้นชักด้านขวาของโต๊ะ ก็พบถุงผ้า ในถุงผ้ามีเงินสดจำนวน 360,000 บาท และซองใส่เอกสารสีน้ำตาลซึ่งภายในมีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกสีเหลืองจำนวน27 ถุง เมื่อรวมกับบนโต๊ะแล้วมีทั้งหมด 28 ถุง จำนวน 5,600 เม็ด พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มากับจำเลยที่ 1 และรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนดังกล่าว และถูกจับพร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนของกลางฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและเพื่อขาย กับสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดตาม พ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และ 89 กับมาตรา 62วรรคหนึ่ง และ 106 ทวิ มีระวางโทษเท่ากันคือจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 400,000 บาท แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10กำหนดระวางโทษไว้สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ดังนี้เมื่อความผิดตามมาตรา 8และ 10 ดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และ 89 บทหนึ่ง กับประกอบมาตรา 62 วรรคหนึ่งและ 106 ทวิ อีกบทหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวกัน จึงต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ซึ่งกฎหมาย 2 บทดังกล่าวมีโทษเท่ากัน จึงลงโทษตามกฎหมายบทใดบทหนึ่งก็ได้ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 106 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เท่านั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 8 และ 10 ประกอบ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และ 89 บทหนึ่ง กับประกอบมาตรา 62วรรคหนึ่ง และ 106 ทวิ อีกบทหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 ซึ่งกฎหมาย 2 บท ดังกล่าวมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

Share