คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

อาวุธปืนของกลางเป็นเพียงอาวุธปืนพกชนิด ไทยประดิษฐ์ส่วนกระสุนปืนแม้เป็นชนิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้แต่ก็มีเพียง1นัดไม่ปรากฏว่าจำเลยจะพาอาวุธปืนของกลางและกระสุนปืนไปประกอบอาชญากรรมหรือกระทำการอันมิชอบกลับได้ความว่าจำเลยมีครอบครัวและมีภาระต้องเลี้ยงดูบิดามารดาและมีความประพฤติดีสมควรปรานีเพื่อให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีแต่ควรวางโทษปรับด้วยเพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบและมิให้กลับไปก่อความผิดใดๆขึ้นอีก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2537 เวลา กลางคืนหลัง เที่ยง จำเลย มี อาวุธปืน พก สั้น ไม่มี หมายเลข ทะเบียน 1 กระบอกใช้ ยิง ได้ ไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก นายทะเบียน ท้องที่และ มี กระสุนปืน ขนาด 7.62 มิลลิเมตร (นา โต้) 1 นัด ใช้ ยิง ได้อันเป็น เครื่องกระสุนปืน นอกจาก ที่ กำหนด ใน กฎกระทรวง ซึ่ง นายทะเบียนไม่อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้ ไว้ ใน ครอบครอง อันเป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมายและ จำเลย พา อาวุธปืน กับ เครื่องกระสุนปืน ดังกล่าว ติดตัว ไป ตามถนน มุกดาหาร-ดอนตาล ตำบล ศรีบุญเรือง ซึ่ง เป็น ทางสาธารณะ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ให้ มี อาวุธปืน ติดตัว และ ไม่มี เหตุสมควร ทั้ง มิใช่กรณี ที่ ต้อง มี ติดตัว ไป เมื่อ เหตุจำเป็น และ เร่งด่วน ตาม สมควร แก่พฤติการณ์ และ ไม่ได้ รับ ยกเว้น ตาม กฎหมาย เหตุ เกิด ที่ ตำบล ศรีบุญเรือง อำเภอ เมือง มุกดาหาร จังหวัด มุกดาหาร เจ้าพนักงาน จับ จำเลย ได้พร้อม ด้วย อาวุธปืน และ เครื่องกระสุนปืน ดังกล่าว เป็น ของกลาง ขอให้ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ , 55,72, 72 ทวิ , 78 คำสั่ง ของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 3, 6, 7 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371,91และ ริบของกลาง
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ , 55, 72, 72 ทวิ , 78 คำสั่ง ของคณะปฏิรูป การปกครอง ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 3, 6, 7ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371, 91 ลงโทษ ฐาน มี อาวุธปืน ไม่มี ทะเบียนจำคุก 1 ปี และ ปรับ 6,000 บาท ฐาน มี เครื่องกระสุนปืน ปรับ 1,000 บาทฐาน พา อาวุธปืน ไป ใน เมือง หมู่บ้าน และ ทางสาธารณะ จำคุก 6 เดือนและ ปรับ 2,000 บาท รวม จำคุก 1 ปี 6 เดือน และ ปรับ 9,000 บาทจำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 9 เดือนปรับ 4,500 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ริบของกลาง ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ,72 วรรคหนึ่ง , 72 ทวิ วรรคสอง ตอนแรก ความผิด ฐาน พา อาวุธปืนเป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนซึ่ง เป็น กฎหมาย บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ไม่ ปรับ และ ไม่รอการลงโทษ จำเลย ใน ความผิด ฐาน มี อาวุธปืน ไว้ ใน ครอบครองและ พา อาวุธปืน ไป ตาม ทางสาธารณะ โดย ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต ลงโทษ ฐานมี เครื่องกระสุนปืน นอกจาก ที่ กำหนด ใน กฎกระทรวง จำคุก 2 ปี ลดโทษให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คง จำคุก 1 ปีรวม โทษ ทุกกระทง แล้ว เป็น จำคุก จำเลย 1 ปี 9 เดือน นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ขอให้ รอการลงโทษ นั้นเห็นว่า อาวุธปืน ของกลาง เป็น เพียง อาวุธปืน พก ชนิด ไทย ประดิษฐ์ส่วน กระสุนปืน แม้ จะ เป็น ชนิด ที่นาย ทะเบียน ไม่อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้แต่ ก็ มี เพียง 1 นัด ทั้ง ขณะ เกิดเหตุ จำเลย มี กระสุนปืน ที่ พา ติดตัวไป เพียง นัด เดียว และ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย จะ พา อาวุธปืน ของกลาง นั้น ไปประกอบ อาชญากรรม หรือ กระทำการ อัน มิชอบ กลับ ได้ความ ว่า จำเลยเป็น ผู้ มี ครอบครัว และ มี ภาระ ต้อง เลี้ยงดู บิดา มารดา ซึ่ง มี อายุ มากและ มี ความประพฤติ ดี ตาม หนังสือ รับรอง ความประพฤติ ของ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เมื่อ พิจารณา พฤติการณ์ แห่ง คดี แล้ว ถือได้ว่า มีเหตุอัน สมควร ปรานี ยัง ไม่สมควร ที่ จะ ให้ จำเลย ได้รับ โทษ ถึง จำคุก เพื่อ ให้โอกาส จำเลย กลับ ตัว ประพฤติ เป็น พลเมือง ดี ของ ประเทศชาติ ต่อไปแต่ ควร วางโทษ ปรับ จำเลย อีก โสด หนึ่ง ด้วย เพื่อ ให้ จำเลย เข็ดหลาบและ มิให้ กลับ ไป ก่อ ความผิด ใด ๆ ขึ้น อีก อนึ่ง ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าความผิด ฐาน มี เครื่องกระสุนปืน นอกจาก ที่ กำหนด ไว้ ใน กฎกระทรวง เป็นความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ มาตรา 78 โดย ไม่ ระบุ วรรคไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง และ ให้ ลงโทษ ปรับ จำเลย ด้วย ฐาน มีอาวุธปืน ไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ปรับ 6,000 บาท และ ฐานพา อาวุธปืน ติดตัว ไป ใน เมือง หมู่บ้าน และ ทางสาธารณะ ปรับ 2,000 บาทรวม ปรับ 8,000 บาท จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณามีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง ปรับ 4,000 บาท ให้ รอการลงโทษ จำคุก ไว้ มี กำหนด 2 ปี และ ให้คุมประพฤติ ของ จำเลย ไว้ โดย ให้ จำเลย ไป รายงาน ตัว ต่อ พนักงานคุมประพฤติประจำศาล ชั้นต้น ทุก 2 เดือน จนกว่า จะ พ้น กำหนด รอการลงโทษ จำคุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หาก จำเลย ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share