คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสของโจทก์จากจำเลยที่2จึงไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476วรรคหนึ่งระบุไว้ในอนุมาตรา1ถึงอนุมาตรา8แต่ประการใดและในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งสามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายฉะนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์บรรทุก ซึ่ง ใช้ ใน ราชการของ จำเลย ที่ 2 ไป ตาม ถนน สาย พิษณุโลก -หล่มสัก โดย มุ่งหน้า ไป ทางอำเภอ หล่มสัก ด้วย ความ เร็ว เมื่อ ถึง ระหว่าง หลัก กิโลเมตร ที่ 38-39ซึ่ง เป็น ทาง ขึ้น เนิน จำเลย ที่ 1 ได้ ห้ามล้อ และ หัก หลบ ไป ทาง ขวาเนื่องจาก มี กิ่ง ไม้ ขวาง ช่อง เดินรถ ทำให้ รถยนต์บรรทุก เสีย หลัก ลื่นเข้า ไป ใน ช่อง เดินรถ ตรงข้าม และ ชน รถยนต์ ของ โจทก์ ซึ่ง แล่น สวน มาจน ตก ถนน ทำให้ รถยนต์ ของ โจทก์ เสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ชำระ เงิน 507,081.88 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องเพราะ ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จาก สามี ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม จำเลย ที่ 1ได้ ขับ รถยนต์ ด้วย ความระมัดระวัง แต่ เนื่องจาก ฝนตก และ มี พายุ พัดต้น ไม้ ขวาง ทาง กะทันหัน ทำให้ รถยนต์ ลื่น ไป เฉี่ยว รถยนต์ ของ โจทก์แต่ ไม่เสีย หาย จน ไม่สามารถ ซ่อมแซม ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน382,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงินดังกล่าว นับแต่ วัน ทำละเมิด (วันที่ 4 พฤษภาคม 2533) เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า จำเลย ที่ 2 เป็นนายจ้าง จำเลย ที่ 1 ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์บรรทุก ไป ใน ทางการที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ชน รถยนต์ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย มี ปัญหา จะ ต้องวินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ที่ 2 ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม หรือไม่ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์บรรทุก โดยประมาท เลินเล่อหรือไม่ และ ค่าเสียหาย มี เพียงใด ปัญหา แรก ที่ ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้องหรือไม่ นั้น คดี นี้ แม้ ข้อเท็จจริง จะ ปรากฏว่า ขณะ โจทก์ ยื่นฟ้องโจทก์ เป็น หญิง มี สามี และ ไม่มี หนังสือ ให้ ความ ยินยอม จาก สามี ก็ ตาม แต่ข้อเท็จจริง ตาม ทางนำสืบ ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 รับ ว่า รถยนต์คัน หมายเลข ทะเบียน ก-3851 พิษณุโลก ตาม ฟ้อง เป็น สินสมรส ระหว่างโจทก์ กับ นาย สุรศักดิ์ รักษ์สุจิตรัตน์ สามี โจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ ระบุ ให้ คู่สมรส สามารถ จัดการ สินสมรสที่ จะ ต้อง ได้รับ ความ ยินยอม จาก อีกฝ่าย ก็ แต่ ใน กรณี เป็น การ จัดการสินสมรส ที่ เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน ตาม ที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ระบุ ไว้ ใน อนุมาตรา 1 ถึง อนุมาตรา 8 เท่านั้นซึ่ง เมื่อ ได้ พิจารณา จาก คำฟ้อง ของ โจทก์ ใน คดี นี้ แล้ว จะ เห็น ได้ว่าเป็น การ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ที่ จำเลย ที่ 1 ลูกจ้าง จำเลย ที่ 2ได้ ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ สินสมรส ของ โจทก์ จาก จำเลย ที่ 2ไม่ เข้า กรณี หนึ่ง กรณี ใด ใน อนุมาตรา 1 ถึง อนุมาตรา 8 ดัง ที่ กฎหมายบัญญัติ ไว้ ดังกล่าว ข้างต้น แต่ ประการใด และ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังกล่าว ข้างต้น นี้ เอง ใน วรรคสอง กลับได้ ระบุ ไว้ ชัดเจน ว่า การ จัดการ สินสมรส นอกจาก กรณี ที่ บัญญัติ ไว้ใน วรรคหนึ่ง สามี หรือ ภริยา จัดการ ได้ โดย มิต้อง ได้รับ ความ ยินยอมจาก อีกฝ่าย อันเป็น การ ยืนยัน ให้ กระทำ ได้ อีก ด้วย ฉะนั้น โจทก์ จึงมีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ได้ โดย ไม่จำต้อง ได้รับ ความ ยินยอม จาก สามี ”
พิพากษายืน

Share