แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พฤตติการณ์ที่เรียกว่าเป็นการกระทำในวาระเดียวกันเข้าไปในเล้าทำให้สุกรตายในเล้าแล้ว เอาไปเป็นความผิดกะทงเดียว พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.2461 ม.3 แก้น้อย ศาลเดิมจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ลดฐานปราณีคงจำคุก 1 ปี เป็นแก้น้อยฎีกาไม่ได้ดุลยพินิจ การลดโทษเป็นดุลยพินิจของศาลและไม่ใช่ข้อกฎหมาย
ย่อยาว
ได้ความว่าจำเลยเข้าไปในเล้าทำให้สุกรตายในเล้าแล้วเอาไปและเอาเนื้อรับประทานกับสุราแ+ซึ่งมีขึ้นโดยมิได้รับอนุญาต
ศาลเดิมลงโทษจำเลยตาม ม.๒๙๓ -๒๙๔ จำคุก ๑ ปี ๖ เดือน กะทงหนึ่งให้ปรับตามพ.ร.บ.ฆ่าโคกระบืออีกกะทงหนึ่ง แลให้ปรับ พ. ตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นในอีกกะทงหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษจำเลยตาม ม.๒๙๔ วรรค ๒ ซึ่งเป็นบทหนักบทเดียว แลให้ลดโทษ ข. ๑ ใน ๓ คงจำคุก ๑ ปี
โจทก์ฎีกาว่าศาลควรลงโทษจำเลย ๒ กะทงแลว่าศาลอุทธรณ์ไม่ควรลงโทษให้ ข.จำเลย
ศาลฎีกาเห็นว่าการลักแลการฆ่าสุกรเป็นการกระทำอันเดียวกันแยกกันมิได้ตามมาตรา ๗๐ ให้ใช้บทที่หนักลงโทษแก่มัน จำเลยจึงควรรับโทษฐานลักทรัพย์แต่บทเดียวตามฎีกาที่ ๕๗๙/๒๔๖๒
ส่วนเรื่องลดโทษเห็นว่าการกำหนดโทษเป็นดุลยพินิจของศาลไม่ใช่ปัญหากฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ต้องห้ามตามพ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์มาตรา ๓ จึงพิพากษายืนตาม