แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง ยืม ค้ำประกัน จำนอง ตั๋วเงิน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดและเป็นสถาบันการเงินประเภทบริษัทเงินทุนตามกฎหมาย โจทก์มอบอำนาจให้นางสาวอรสา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์ เป็นผู้ฟ้องคดีนี้แทน จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ ๑ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมหลายรายจำนวน ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๓๒ โดยกู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหธนกิจไทย จำกัด และโจทก์ วงเงินรวม ๑๔๘,๗๐๐,๐๐๐ บาท เป็นการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ๔๙,๓๕๐,๐๐๐ บาท ตกลงดอกเบี้ยในอัตราที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเบิกเงินเกินบัญชี(เอ็ม.โอ.อาร์) บวกด้วยร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือน เริ่มแต่เดือนที่มีการรับเงินตามสัญญา ส่วนเงินต้นกำหนดชำระเป็นรายเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า ๑,๔๕๗,๘๔๕ บาท ภายในสิ้นเดือน เริ่มแต่เดือนมกราคม ๒๕๓๔ จนกว่าจะครบถ้วน แต่ไม่เกิน ๑๐ ปีนับแต่วันทำสัญญา หากผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นถือว่าผิดนัดทั้งหมดโจทก์มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๑๘.๕ ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนเรียกเก็บได้ในขณะที่มีการผิดนัด ในการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์และพวกดังกล่าวนั้น จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ ๑จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๔๒๐, ๓๔๒๑, ๓๔๒๔, ๓๔๔๘, ๓๘๖๙, ๔๓๕๘และ ๔๔๓๐ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร (บ้านบ่อ) จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างไว้แก่โจทก์กับพวก และจำเลยที่ ๑ ได้จำนองเครื่องจักรหมายเลขทะเบียน (รหัส ๓๒ ๓๑๘ ๒๐๑) ๐๐๔๘ ถึง๐๑๘๓, (รหัส ๓๓ ๓๑๘ ๒๐๑) ๐๖๙๑ ถึง ๐๗๙๘ และ (รหัส ๓๓ ๓๒๓๒๐๑) ๐๐๑๔ ถึง ๐๐๗๐ ไว้แก่โจทก์กับพวกด้วย ตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ยอมให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นจนครบถ้วนจำเลยที่ ๑ ได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว ครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๒๖กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ จำเลยที่ ๑ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด และโจทก์ ในวงเงิน ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยแยกเป็นวงเงินปกติ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และวงเงินหมุนเวียน ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตกลงดอกเบี้ยในอัตราที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เรียกเก็บจากลูกหนี้รายใหญ่ชั้นดีประเภทเบิกเงินเกินบัญชี (เอ็ม.โอ.อาร์) หรือในอัตราที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (เอ็ม.แอล.อาร์)หรือในอัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยสูงสุดระหว่างสัปดาห์ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัดให้กู้ยืมแก่ธนาคารอื่น (อินเตอร์แบงก์) แล้วแต่อัตราใดสูงกว่า บวกด้วยร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือนเริ่มแต่เดือนที่มีการรับเงินกู้ตามสัญญา ส่วนเงินต้นตกลงชำระเป็นรายเดือนเดือนละไม่น้อยกว่า ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท ภายในสิ้นเดือน เริ่มแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๕ จนกว่าจะครบถ้วน แต่ไม่เกิน ๙ ปี นับแต่วันทำสัญญา หากผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด โจทก์มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที และจำเลยที่ ๑ ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี หรือในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้เรียกเก็บได้ในขณะที่มีการผิดนัด ในการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์กับพวกดังกล่าวนั้น จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ ๑จำนองลำดับสองที่ดิน ๗ แปลงเดิมพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างไว้แก่โจทก์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด กับจำนองเครื่องจักรหมายเลขทะเบียน (รหัส ๓๔ ๓๑๘ ๒๐๑) ๐๖๓๓ ถึง ๐๖๘๔ และจำนองลำดับสองเครื่องจักรเดิมไว้แก่โจทก์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัดโดยจำเลยที่ ๑ ตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นจนครบถ้วน และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน๒๕๓๖ จำเลยที่ ๑ จำนองลำดับสามที่ดิน ๗ แปลงเดิมไว้แก่โจทก์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหธนกิจไทยจำกัด เพื่อเป็นการเพิ่มเติมหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืม และตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้จนครบถ้วน จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินกู้วงเงินปกติไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๓๔ เป็นเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๒๕มีนาคม ๒๕๓๔ เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน๒๕๓๔ เป็นเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนเงินกู้วงเงินหมุนเวียน จำเลยที่ ๑ได้รับเงินไปเพียง ๒๔,๘๕๘,๐๐๐ บาท โดยจำเลยที่ ๑ ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ตามเงื่อนไขการขอรับเงินกู้ส่วนนี้หลายครั้ง จำเลยที่ ๑ชำระดอกเบี้ยในเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรกและฉบับที่สองให้แก่โจทก์เรื่อยมาจนถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๓๗ แล้วผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๗ ส่วนการชำระเงินต้น จำเลยที่ ๑ ไม่เคยชำระให้แก่โจทก์ โดยตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรกขอเลื่อนกำหนดเวลาชำระไป๒ ครั้ง เริ่มแต่เดือนมกราคม ๒๕๓๔ และเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ สำหรับตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่สองในส่วนที่เป็นวงเงินปกติ ขอเลื่อนกำหนดเวลาชำระไป ๒ ครั้ง เริ่มแต่เดือนตุลาคม ๒๕๓๕ และเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๗แต่ในที่สุดจำเลยที่ ๑ ไม่ชำระเงินต้นแก่โจทก์ และเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม๒๕๓๗ เป็นวันครบกำหนดชำระเงินต้นส่วนที่เป็นวงเงินหมุนเวียน จำเลยที่ ๑ก็ผิดนัด โจทก์บอกกล่าวทวงถาม จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนอง จำเลยทั้งสี่ยังคงเพิกเฉย การที่จำเลยที่ ๑ ไม่ชำระเงินต้นและไม่ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๗ เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสี่ต้องร่วมกันชำระเงินต้นตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรก เป็นเงิน ๔๙,๓๕๐,๐๐๐ บาท และสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่สองวงเงินปกติและวงเงินหมุนเวียน เป็นเงิน ๔๔,๘๕๘,๐๐๐ บาทรวมเป็นเงินต้น ๙๔,๒๐๘,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปีนับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน ๒๔,๒๘๒,๔๓๓.๒๘ บาท รวมเป็นเงิน ๑๑๘,๔๙๐,๔๓๓.๒๘บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน ๑๑๘,๔๙๐,๔๓๓.๒๘ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปีของเงินต้น ๙๔,๒๐๘,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนให้ยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ และหากได้เงินไม่พอ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ตราประทับในหนังสือมอบอำนาจมิใช่ตราประทับสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์และเป็นตราปลอม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐาน จำเลยที่ ๑ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับเพียง ๖๙,๓๕๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ ไม่เคยได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ๓ ฉบับ เป็นเงิน ๒๔,๘๕๘,๐๐๐บาท จากโจทก์ เพราะโจทก์เรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปีเป็นเวลา ๑ ปีเศษ จากเงินต้น ๖๙,๓๕๐,๐๐๐ บาท เป็นการแปลงสภาพจากดอกเบี้ยมาเป็นเงินต้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับจำเลยที่ ๑ได้ชำระหนี้บางส่วนให้แก่โจทก์แล้ว หนี้ที่แท้จริงคงเหลือไม่ถึง ๖๙,๓๕๐,๐๐๐บาท โจทก์ไม่ใช่สถาบันการเงินประเภทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามกฎหมายตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ย มีนายบัณฑร ลิ้วประเสริฐลงลายมือชื่อผู้เดียว และมิได้ประทับตราสำคัญบริษัท ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบัน โจทก์ไม่เคยส่งประกาศให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่ได้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานของโจทก์ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่โจทก์อ้างถูกยกเลิกไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยกรณีผิดนัดอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปีนับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดและเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งตามหนังสือบอกกล่าวทวงถามโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดอัตราร้อยละ ๑๘.๕ ต่อปี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี และคิดก่อนวันที่ ๒๐ มิถุนายน๒๕๓๘ อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่ได้ จำเลยที่ ๔ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินในฐานะเป็นพยาน มิใช่ผู้ค้ำประกัน เพราะโจทก์ไม่ได้ให้จำเลยที่ ๔ ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกต่อท้ายสัญญากู้ยืมด้วยจำเลยที่ ๔ ไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน โจทก์ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๔ ไม่รู้เห็นยินยอม จำเลยที่ ๔ ไม่ได้ตกลงกับโจทก์เกี่ยวกับการแก้ไขวงเงินขายลดเช็คทางการค้าเป็นวงเงินขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเงิน ๒๔,๘๕๘,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๔ ไม่ต้องรับผิดโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรกเป็นเงิน ๔๙,๓๕๐,๐๐๐ บาท และตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่สองเป็นเงิน ๔๔,๘๕๘,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๒๑ ต่อปีของเงินต้น ๙๔,๒๐๘,๐๐๐ บาท นับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง (วันที่ ๒๑ กันยายน๒๕๓๘) ให้ไม่เกิน ๒๔,๒๘๒,๔๓๓.๒๘ บาท หากไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรก ให้บังคับจำนองจากที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๔๒๐, ๓๔๒๑, ๓๔๒๔,๓๔๔๘, ๓๘๖๙, ๔๓๕๘ และ ๔๔๓๐ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร (บ้านบ่อ) จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นอันดับที่ ๑และอันดับที่ ๓ ในวงเงิน ๑๐๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ และบังคับจำนองจากเครื่องจักรพร้อมส่วนควบและอุปกรณ์หมายเลขทะเบียน (รหัส ๓๒ ๓๑๘ ๒๐๑) ๐๐๔๘-๐๑๘๓ ในวงเงิน๑๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และหมายเลขทะเบียน (รหัส ๓๓ ๓๑๘ ๒๐๑)๐๖๙๑-๐๗๖๖, ๐๗๖๘-๐๗๙๑, ๐๓๙๓-๐๗๙๘ และ (รหัส ๓๓ ๓๒๓ ๒๐๑)๐๐๑๔-๐๐๗๐ เป็นอันดับที่ ๑ ในวงเงิน ๕๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท หรือหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่สอง ให้บังคับจำนองจากที่ดินและเครื่องจักรดังกล่าวเป็นอันดับที่ ๒ ในวงเงิน ๖๗,๓๐๐,๐๐๐ บาท และ ๑๔,๖๕๐,๐๐๐บาท ตามลำดับ และบังคับจำนองจากเครื่องจักรพร้อมส่วนควบและอุปกรณ์หมายเลขทะเบียน (รหัส ๓๔ ๓๑๘ ๒๐๑) ๐๖๓๓-๐๖๓๕, ๐๖๓๗-๐๖๘๔ในวงเงิน ๓๘,๐๕๐,๐๐๐ บาท หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ กับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ ๒๕,๐๐๐ บาท
จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๙๔,๒๐๘,๐๐๐ บาท คือ ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรก จำนวน๔๙,๓๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี ของเงินต้นดังกล่าว นับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่สอง จำนวน๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี ของเงินต้นดังกล่าว นับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ และตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน๒๔,๘๕๘,๐๐๐ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี ของเงินต้น๑,๘๖๐,๐๐๐ บาท นับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๑๑.๕ ต่อปี ของเงินต้น ๒๑,๒๑๘,๐๐๐ บาท นับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม๒๕๓๗ และของเงินต้น ๑,๗๘๐,๐๐๐ บาท นับแต่วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๗จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องรวมกันต้องไม่เกิน๒๔,๒๘๒,๔๓๓.๒๘ บาท ตามที่โจทก์ขอ หากไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรกให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๔๒๐, ๓๔๒๑, ๓๔๒๔, ๓๔๔๘,๓๘๖๙, ๔๓๕๘ และ ๔๔๓๐ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร(บ้านบ่อ) จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นลำดับหนึ่งและลำดับสามในวงเงิน ๑๐๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับและบังคับจำนองเครื่องจักรพร้อมส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์หมายเลขทะเบียน (รหัส ๓๒ ๓๑๘ ๒๐๑) ๐๐๔๘ ถึง ๐๑๘๓ เป็นลำดับหนึ่งในวงเงิน๑๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และหมายเลขทะเบียน (รหัส ๓๓ ๓๑๘ ๒๐๑) ๐๖๙๑ถึง ๐๗๖๖, ๐๗๖๘ ถึง ๐๗๙๑, ๐๗๙๓ ถึง ๐๗๙๘ หมายเลขทะเบียน(รหัส ๓๓ ๓๒๓ ๒๐๑) ๐๐๑๔ ถึง ๐๐๗๐ เป็นลำดับหนึ่งในวงเงิน๕๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท หากไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่สองและตั๋วสัญญาใช้เงินให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรพร้อมส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นลำดับสองในวงเงิน ๖๗,๓๐๐,๐๐๐บาท และ ๑๔,๖๕๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับ และบังคับจำนองเครื่องจักรพร้อมส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์หมายเลขทะเบียน (รหัส ๓๔ ๓๑๘ ๒๐๑)๐๖๓๓ ถึง ๐๖๓๕, ๐๖๓๗ ถึง ๐๖๘๔ เป็นลำดับหนึ่งในวงเงิน ๓๘,๐๕๐,๐๐๐บาท หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์จนครบ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม ๕๐,๐๐๐ บาท
จำเลยทั้งสี่ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า เดิมโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด กรรมการ ๒ คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุน ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.๑โจทก์มอบอำนาจให้นางสาวอรสา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์ ดำเนินคดีแทน ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.๒ โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุน ตามสำเนาใบอนุญาตเอกสารหมายจ.๓ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี โดยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างที่จำเลยที่ ๑ทำสัญญากู้ยืมเงินและผิดนัดมีการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยรวม ๕ ฉบับ โดยฉบับที่ ๑ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๘.๕ ต่อปี ฉบับที่ ๒ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๙.๕ ต่อปีและฉบับที่ ๓ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒๑ ต่อปี ส่วนประกาศฉบับที่ ๔และฉบับที่ ๕ กำหนดให้บริษัทเงินทุนกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้โดยบริษัทเงินทุนต้องออกประกาศและปิดประกาศไว้ที่สำนักงาน และต้องส่งหนังสือแจ้งประกาศไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสารหมาย จ.๔ ถึง จ.๘ เมื่อปี ๒๕๓๕ โจทก์ออกประกาศของโจทก์เกี่ยวกับการคิดอัตราดอกเบี้ยโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินร้อยละ ๒๑ ต่อปี ตามประกาศเอกสารหมาย จ.๙ ซึ่งโจทก์ปิดประกาศและส่งสำเนาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามระเบียบแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เคยโต้แย้ง โจทก์เคยสอบถามไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับคำตอบว่าประกาศของโจทก์ยังใช้ได้ โดยเงื่อนไขตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๔ และฉบับที่ ๕ ไม่แตกต่างกัน การออกประกาศฉบับที่ ๕ ยกเลิกฉบับที่ ๔ เป็นการประกาศยกเลิกของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่เกี่ยวกับโจทก์ หากปัจจุบันโจทก์จะเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย โจทก์ต้องออกประกาศของโจทก์ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๓๘ จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ เป็นกรรมการ กรรมการคนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ ๑ มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ ๑ ได้ ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.๑๐ จำเลยที่ ๓ เป็นภริยาของจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๔ เป็นบุตรของจำเลยที่ ๒ กับจำเลยที่ ๓ จำเลยที่ ๑ กู้ยืมเงินไปจากโจทก์กับพวก ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๓๒ กู้ยืมเงินจากโจทก์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหธนกิจไทย จำกัด วงเงิน๑๔๘,๗๐๐,๐๐๐ บาท โดยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ๔๙,๓๕๐,๐๐๐ บาท ตกลงดอกเบี้ยในอัตราที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดี ประเภทเบิกเงินเกินบัญชีบวกด้วย ๑.๕๐ ต่อปี ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า ๑,๔๕๗,๘๔๕ บาท เริ่มแต่เดือนมกราคม๒๕๓๔ หากผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นถือว่าผิดนัดทั้งหมด โจทก์มีสิทธิเรียกหนี้คืนทั้งหมดได้ทันที และจำเลยที่ ๑ ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ ๑๘.๕ ต่อปี หรืออัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ในเวลาที่ผิดนัด ในการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์กับพวกดังกล่าว จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสำเนาสัญญากู้ยืมเงินและค้ำประกันเอกสารหมาย จ.๑๑และจำเลยที่ ๑ จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๔๒๐, ๓๔๒๑, ๓๔๒๔, ๓๔๔๘,๓๘๖๙, ๔๓๕๘ และ ๔๔๓๐ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร(บ้านบ่อ) จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินและเครื่องจักรของจำเลยที่ ๑ ไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินทั้งหนี้ที่มีอยู่และในภายหน้า และตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ ๑ ชำระหนี้จนครบถ้วน ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง และบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่ ๑ กับเอกสารเกี่ยวกับหนังสือสัญญาจำนองเครื่องจักรเอกสารหมาย จ.๑๒ ถึง จ.๑๔ จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมเงินไปครบถ้วนแล้ว ครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ จำเลยที่ ๑ กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด วงเงิน๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นวงเงินปกติจำนวน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และวงเงินหมุนเวียนซึ่งเป็นการขายลดเช็คและตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์กับพวกในอัตราที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเบิกเงินเกินบัญชี หรืออัตราที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีหรืออัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยสูงสุดระหว่างสัปดาห์ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ให้กู้ยืมเงินแก่ธนาคารอื่นแล้วแต่อัตราใดสูงกว่า บวกด้วยร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ภายในสิ้นเดือน เริ่มแต่เดือนที่มีการรับเงินกู้ตามสัญญา และชำระเงินต้นเป็นรายเดือน ภายในสิ้นเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท เริ่มแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๕ หากผิดนัดโจทก์มีสิทธิเรียกหนี้คืนทั้งหมดได้ทันที พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี ในการที่จำเลยที่ ๑ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์กับพวกดังกล่าวนั้น จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔เป็นผู้ค้ำประกัน โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ตามสัญญากู้ยืมเงินและค้ำประกันเอกสารหมาย จ.๑๕ นอกจากนี้จำเลยที่ ๑ จำนองลำดับสองที่ดินทั้ง ๗ แปลงเดิม พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน เครื่องจักรเดิมและเครื่องจักรใหม่ไว้แก่โจทก์กับพวกเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน และจำเลยที่ ๑ ตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ ๑ ชำระหนี้จนครบถ้วน ตามเอกสารเกี่ยวกับการจำนองที่ดินและเครื่องจักรเอกสารหมาย จ.๑๖ ถึง จ.๑๘ และจำเลยที่ ๑ จำนองลำดับสามที่ดินทั้ง ๗ แปลงเดิมไว้แก่โจทก์ บริษัทเงินทุนร่วมเสริมกิจ จำกัด และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหธนกิจไทย จำกัด เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินทั้ง ๒ ครั้งจำเลยที่ ๑ ตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ยอมให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ ๑ จนครบถ้วน ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.๑๙ จำเลยที่ ๑ได้รับเงินกู้ตามวงเงินปกติไปจากโจทก์จำนวน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และรับเงินตามวงเงินหมุนเวียนโดยจำเลยที่ ๑ ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์รวม๖ ครั้ง เป็นเงิน ๒๔,๘๕๘,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ๒ ฉบับแรก ส่วน ๔ ฉบับหลัง จำเลยที่ ๑ ตกลงให้หักชำระดอกเบี้ยก่อน ตามบัญชีลูกหนี้เอกสารหมาย จ.๒๐ โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน๒๕๓๔ เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๒๑ โจทก์ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยเฉพาะตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและใบตอบรับเงินเอกสารหมาย จ.๒๒ ถึง จ.๒๔จำเลยที่ ๑ นำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้ว ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ที่เปิดไว้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เอกสารหมายจ.๒๕ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๒๑ ถึงกำหนดชำระเงินจำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ ๑ ขอเลื่อนเวลาการชำระหนี้โดยเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ ซึ่งจำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระและขอเปลี่ยนในลักษณะเดียวกันเรื่อย ๆ มา ครั้งสุดท้ายจำเลยที่ ๑ ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับเลขที่ ๒๔๑๖/๒๕๓๗ จำนวนเงิน๒๑,๒๑๘,๐๐๐ บาท โดยรวมหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับอื่นด้วย ซึ่งรวมทั้งหมดแล้ว ๔ ฉบับ ตามหนังสือขอต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินและสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๒๖ ถึง จ.๓๑ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๒๙พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ตามสัญญาขายลดและสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๓๒ โจทก์ออกเช็คขีดคร่อมทั่วไปให้แก่จำเลยที่ ๑ ตามสำเนาภาพถ่ายเช็ค และใบตอบรับเงินเอกสารหมาย จ.๓๓ ถึง จ.๓๕ จำเลยที่ ๑ อ้างว่าจะนำเช็คไปชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองที่ดินลำดับสามเฉพาะส่วนของโจทก์เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ คิดเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยจำเลยที่ ๑ นำไปซื้อเป็นแคชเชียร์เช็ค จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินจากบัญชีของโจทก์แล้ว เมื่อถึงกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ ๑ ขอผัดผ่อนและออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้โจทก์หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายรวมอยู่ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เลขที่ ๒๔๑๖/๒๕๓๗ตามหนังสือขอต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงิน และสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๓๐ จ.๓๑ และ จ.๓๖ ครั้งที่สามเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน๒๕๓๖ ตั๋วสัญญาใช้เงินเลขที่ ๔๗๔๖/๒๕๓๖ เป็นเงิน ๘,๔๑๘,๐๐๐ บาทตามสัญญาขายลดและสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๓๗ จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินแล้ว ตามภาพถ่ายเช็คและใบตอบรับเงินเอกสารหมาย จ.๓๘ถึง จ.๔๐ จำเลยที่ ๑ ตกลงให้หักเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับนี้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์หักชำระและออกใบรับเงินแล้ว ตามบัญชีลูกหนี้และสำเนาใบรับเงินเอกสารหมาย จ.๔๑ และ จ.๔๒ จำเลยที่ ๑ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ขอผัดผ่อนชำระและออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้แก่โจทก์ ตามหนังสือต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินและสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๓๐ จ.๓๑ และ จ.๓๖ ครั้งที่สี่เมื่อวันที่ ๑มีนาคม ๒๕๓๗ ตั๋วสัญญาใช้เงินเลขที่ ๐๗๗๙/๒๕๓๗ เป็นเงิน ๒,๖๐๐,๐๐๐บาท ตามสัญญาขายลดและสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๔๓จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินแล้ว ตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและใบตอบรับเงินเอกสารหมาย จ.๔๔ ถึง จ.๔๖ จำเลยที่ ๑ ตกลงให้หักชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์หักชำระและออกใบรับเงินแล้ว ตามสำเนาใบรับเงินเอกสารหมาย จ.๔๗ จำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ขอผ่อนชำระและออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้แก่โจทก์ ตามหนังสือขอต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๓๐ และ จ.๓๑ ครั้งที่ห้าเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ตั๋วสัญญาใช้เงินเลขที่ ๑๗๐๔/๒๕๓๗ เป็นเงิน๑,๗๘๓,๗๖๑.๐๓ บาท ตามสัญญาขายลดและสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๔๘ จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินแล้ว ตามสำเนาภาพถ่ายเช็คเอกสารหมาย จ.๔๙ ส่วนใบตอบรับเงินสูญหายไปในระหว่างการย้ายที่ทำการของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ตกลงให้หักชำระหนี้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์หักชำระและออกใบรับเงินแล้ว ตามสำเนาใบตอบรับเงินเอกสารหมายจ.๕๐ จำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ขอผ่อนและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ ซึ่งมีการหักชำระเงินต้นบางส่วน เป็นเงิน๓,๗๖๑.๐๓ บาท คงเหลือ ๑,๗๘๐,๐๐๐ บาท ตามหนังสือขอต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๕๑ และ จ.๕๒ และครั้งที่หกเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗ ตั๋วสัญญาใช้เงินเลขที่ ๒๖๓๕/๒๕๓๗ เป็นเงิน๑,๘๖๐,๐๐๐ บาท ตามสัญญาขายลดและตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.๕๓และ จ.๕๔ จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินแล้ว ตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและใบตอบรับเงินเอกสารหมาย จ.๕๕ ถึง จ.๕๗ จำเลยที่ ๑ ตกลงให้หักชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์หักชำระและออกใบรับเงินแล้ว ตามสำเนาใบรับเงินเอกสารหมาย จ.๕๘ รวมเป็นเงินที่จำเลยที่ ๑ ได้รับไปจากโจทก์๙๔,๒๐๘,๐๐๐ บาท โดยเป็นหนี้เงินกู้ ๖๙,๓๕๐,๐๐๐ บาท และเป็นหนี้จากการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ๒๔,๘๕๘,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๓๗ ค้างชำระตั้งแต่เดือนกรกฎาคม๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ ไม่เคยชำระเงินต้นให้แก่โจทก์ แต่ขอเลื่อนการชำระเงินต้นด้วยการทำบันทึกต่อท้ายสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.๕๙ ถึงจ.๖๒ โดยขอเลื่อนการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับไปเริ่มชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ แต่จำเลยที่ ๑ ผิดนัด โจทก์มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนอง จำเลยทั้งสี่ได้รับแล้ว ตามหนังสือมอบอำนาจ หนังสือบอกกล่าวและบังคับจำนอง และใบไปรษณีย์ตอบรับเอกสารหมาย จ.๖๓ ถึง จ.๗๑ จำเลยทั้งสี่ต้องร่วมกันชำระเงิน ๙๔,๒๐๘,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี นับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน ๒๔,๒๘๒,๔๓๓.๒๘ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น๑๑๘,๔๙๐,๔๓๓.๒๘ บาท
จำเลยทั้งสี่นำสืบว่า เมื่อปี ๒๕๓๑ ถึง ๒๕๓๒ ธุรกิจสิ่งทอเจริญเติบโตมาก ทางรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน จำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ไปขอกู้ยืมเงินเพื่อทำธุรกิจดังกล่าว พนักงานของโจทก์วิเคราะห์แล้วว่า หากตั้งโรงงานปั่น ทอ ย้อมผ้า ต้องใช้เงินทุน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ถึง๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โจทก์อนุมัติวงเงินกู้ ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยแยกเป็นส่วนของโจทก์ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในการทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรกพนักงานของโจทก์ได้นำเอกสารหลายฉบับมาให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ลงลายมือชื่อโดยไม่ได้อ่าน จำเลยที่ ๓ เข้าใจว่าลงลายมือชื่อในฐานะเป็นกรรมการของจำเลยที่ ๑ และให้ความยินยอม และพนักงานของโจทก์บอกให้จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๔ ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันเนื่องจากเป็นธรรมเนียมปฏิบัติและจำเลยที่ ๔ เป็นกรรมการของจำเลยที่ ๑ ต่อมาจำเลยที่ ๑ ประสบปัญหาในการดำเนินกิจการ ต้องใช้เงินหมุนเวียนเพิ่มจำเลยที่ ๒ กู้ยืมเงินเพิ่มจากโจทก์ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นวงเงินกู้๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และขายลดเช็ค ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยได้รับเงินกู้ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาทส่วนการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินได้รับเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ ที่เหลือ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ หักชำระดอกเบี้ยแบบทบต้นสำหรับการขายลดเช็คไม่มีการขาย แต่กิจการยังขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจต้องใช้เงินอีกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ ขณะเดียวกันเกิดวิกฤติการณ์การค้าทั่วโลกตกต่ำ เป็นเหตุให้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่โจทก์ จึงทำสัญญาตกลงให้วงเงินขายลดเช็คการค้าเป็นวงเงินขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน โจทก์หักชำระดอกเบี้ยค้างจ่าย๑๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ ได้รับเงินเพียง ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ต้องนำไปชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับประมาณ ๗๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาทเศษ เป็นดอกเบี้ยทบต้น โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี เป็นการไม่ถูกต้องและผิดข้อตกลง จำเลยที่ ๔ ไม่ได้ตกลงในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินโดยผ่อนเวลาการชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงวงเงินขายลดเช็คเป็นวงเงินขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราประทับของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ต่อกรมทะเบียนการค้าตามเอกสารหมาย ล.๑ มีลักษณะคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับตราประทับในหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.๒ โจทก์อาจทำตราประทับไว้หลายอัน ตามเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวอาจเป็นตราประทับคนละอันกัน
พิเคราะห์แล้ว ปัญหาต้องวิน