คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

แม้ในคดีอาญาศาลจะฟังว่าจำเลยที่5ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้รถชนกันส่วนจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทก็ตามแต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวโจทก์จึงไม่ถูกผูกพันโดยคำพิพากษาคดีอาญาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46โจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานว่าจำเลยที่1ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้รถชนกันได้. การที่เหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยที่1และที่5ซึ่งจำเลยที่6ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่5ต้องร่วมรับผิดด้วยนั้นแม้จำเลยที่7จะรับประกันภัยค้ำจุนรถที่จำเลยที่5ขับโดยมีว.เป็นผู้เอาประกันภัยก็ตามแต่โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบให้รับฟังได้ว่าว.มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่5อันจะเป็นเหตุให้ว.จะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่5ดังนั้นจำเลยที่7ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ขับ รถ โดย ประมาท เป็น เหตุให้ รถ ทั้ง สอง คัน ชน กัน และ ชน รถ ของ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหายจำเลย ที่ 2 เป็น นิติ บุคคล และ เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1จำเลย ที่ 3 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 2 ส่วน จำเลย ที่6 เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 5 จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้รับ ประกันภัยรถ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ส่วน จำเลย ที่ 7 เป็น ผู้รับ ประกันภัยรถ คัน ที่ จำเลย ที่ 5 ขับ ต้อง ร่วม รับผิด กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่5 ต่อ โจทก์ ด้วย
จำเลย ที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 5 ขาดนัด ยื่น คำให้การ ระหว่าง พิจารณาโจทก์ ที่ 2 ถอน ฟ้อง จำเลย ทั้ง เจ็ด
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ให้การ ว่า เหตุ รถ ชนกัน เกิดจาก ความ ประมาทของ จำเลย ที่ 5
จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 5 ไม่ ได้ ประมาท ด้วย
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 5 ขาดนัด พิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 ร่วมกัน ชำระเงิน จำนวน 79,200 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ที่ 1 ให้ ยกฟ้องจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4
โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ฝ่าย หนึ่ง จำเลย ที่5 และ ที่ 6 อีก ฝ่าย หนึ่ง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย กับ ดอกเบี้ยให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ตาม จำนวน ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด และ ร่วมกัน ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สอง ศาล แก่ โจทก์ ที่ 1 ฝ่าย ละ ครึ่ง ให้ ยกฟ้องจำเลย ที่ 7
โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 6 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ตาม ที่ โจทก์ ที่ 1จำเลย ที่ 4 ที่ 6 และ ที่ 7 นำสืบ และ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง รับ ฟังมา ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้รับ ประกันภัย รถยนต์ เก๋ง หมายเลข ทะเบียน น.ฐ. 11232 ไว้ จาก โจทก์ ที่ 2 เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2522 เวลา13 นาฬิกา เศษ นาย สังเวียน สุขอุ่นเรือน ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าวจาก กรุงเทพมหานคร ไป ตาม ถนน เพชรเกษม มุ่งหน้า ไป ทาง จังหวัด นครปฐมเวลา 14 นาฬิกา เศษ ขับ ไป ถึง ระหว่าง หลัก กิโลเมตร ที่ 49-50ตำบล ธรรมศาลา อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม จำเลย ที่ 1 ลูกจ้างของ จำเลย ที่ 2 มี จำเลย ที่ 3 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ได้ ขับรถยนต์ บรรทุก 6 ล้อ หมายเลข ทะเบียน 7 น-2144 ซึ่ง เอา ประกันภัยไว้ กับ จำเลย ที่ 4 แล่น ตาม หลัง รถยนต์ บรรทุก 10 ล้อ หมายเลขทะเบียน ส.ส. 01103 ซึ่ง เอา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ที่ 7 มี จำเลยที่ 5 เป็น ผู้ ขับ สวนทาง มา เมื่อ ถึง ที่ เกิดเหตุ รถ คัน ที่ จำเลยที่ 1 ขับ และ คัน ที่ จำเลย ที่ 5 ขับ ได้ เกิด ชนกัน ขึ้น รถ ที่จำเลย ที่ 1 ขับ เสียหลัก แล่น ข้าม ถนน ไป ชน รถ คัน ที่ นาย สังเวียนขับ ซึ่ง แล่น สวนมา ที่ ถนน อีก ฟาก หนึ่ง เป็น เหตุ ให้ รถ ทั้ง สองคัน ได้ รับ ความ เสียหาย มี คน บาดเจ็บ และ ตาย ขณะ เกิดเหตุ รถทั้ง สาม คัน อยู่ ระหว่าง อายุ สัญญา ประกันภัย หลัง เกิดเหตุ แล้วจำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 หลบหนี ไป ต่อมา ได้ เข้า มอบ ตัว ต่อ พนักงานสอบสวน และ ถูก ฟ้อง ศาล ศาล พิพากษา ลงโทษ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5ฐาน หลบหนี ไม่ หยุด ช่วยเหลือ และ แจ้ง เหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่และ ลงโทษ จำเลย ที่ 5 ฐาน ขับ รถ โดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ ผู้อื่นถึง แก่ ความตาย และ บาดเจ็บ และ ทรัพย์สิน ของ ผู้อื่น เสียหาย ด้วยคดี ถึงที่สุด ตาม คดี อาญา หมายเลข แดง ที่ 100/2524 ของ ศาล ทหารกรุงเทพ (ศาล จังหวัด นครปฐม) และ โจทก์ ที่ 1 ได้ จ่าย ค่า สินไหมทดแทนตาม กรมธรรม์ ประกันภัย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ไป แล้ว เป็น เงิน 79,200บาท โจทก์ ที่ 1 จึง รับ ช่วง สิทธิ มา ฟ้อง คดี นี้
ประเด็น ข้อ แรก ที่ จะ วินิจฉัย มี ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ขับ รถโดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ รถ ชนกัน หรือ ไม่ ปัญหา ดังกล่าว จำเลย ที่1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ฎีกา ว่า คดี นี้ เป็น คดี แพ่ง ที่เกี่ยวเนื่อง กับ คดี อาญา ใน การ พิพากษา คดี นี้ ศาล จำต้อง ถือข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา คือ คดี อาญาหมายเลข แดง ที่ 100/2524 ของ ศาล ทหาร กรุงเทพ (ศาล จังหวัด นครปฐม)ซึ่ง ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ ได้ ขับ รถ โดย ประมาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าโจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้รับ ประกันภัย รถยนต์ เก๋ง หมายเลข ทะเบียนน.ฐ. 11232 ซึ่ง ถูก ชน ได้ รับ ความเสียหาย โจทก์ ที่ 1 ไม่ ได้ เป็นผู้เสียหาย หรือ คู่ความ ใน คดี อาญา หมายเลข แดง ที่ 100/2524 ของศาล ทหาร กรุงเทพ (ศาล จังหวัด นครปฐม) ด้วย โจทก์ ที่ 1 จึง ไม่ ถูกผูกพัน โดย คำพิพากษา คดี ดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โจทก์ ที่ 1 มี สิทธิ นำ สืบ พยาน ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถโดย ประมาท ขับ รถ ด้วย ความ เร็ว สูง บริเวณ ทาง ร่วม ทาง แยก เป็นเหตุ ให้ รถ ชนกัน และ ศาลอุทธรณ์ มี อำนาจ รับฟัง ข้อเท็จจริง ตามที่ โจทก์ ที่ 1 นำสืบ มา นั้นไ ด้ คำพิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 914/2520ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 อ้าง มา ข้อเท็จจริง ไม่ ตรงกับ คดี นี้
ประเด็น ข้อ ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 จะ ต้อง ร่วมกับจำเลย ที่ 5 รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 หรือ ไม่ ปัญหา นี้ จำเลย ที่ 6ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 6 ไม่ ได้ เป็น เจ้าของ ผู้ ครอบครอง รถยนต์ บรรทุก10 ล้อ หมายเลข ทะเบียน ส.ส. 01103 และ ไม่ ได้ เป็น นายจ้าง ของ จำเลยที่ 5 พิเคราะห์ แล้ว โจทก์ ที่ 1 มี นาย เลอพงศ์ ชวาลตันพิพัทธ์รับ มอบอำนาจ เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 6 เป็น เจ้าของ และ ผู้ ครอบครองรถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ส.ส. 01103 ที่ จำเลย ที่ 6 เบิกความ ว่าได้ ขาย รถยนต์ คัน นี้ ให้ แก่ นาย วิบูลย์ แซ่จิว พี่ชาย จำเลย ที่6 ไป แล้ว ขัด ต่อ เหตุผล ได้ ความ ตาม คำ จำเลย ที่ 6 ว่า จำเลย ที่6 เช่าซื้อ รถยนต์ คันนี้ มา จาก บริษัท เพชรบุรี มอเตอร์ จำกัดขณะ เกิดเหตุ บริษัท เพชรบุรี มอเตอร์ จำกัด ยัง ไม่ ได้ โอน ทะเบียนรถยนต์ ให้ แก่ จำเลย ที่ 6 เลย หลักฐาน การ ซื้อขาย ก็ ไม่ ได้ ทำ กันไว้ หลัง เกิดเหตุ มี การ ตกลง เรื่อง ค่าเสียหาย เกี่ยวกับ รถ ชนกันครั้งนี้ ตาม บันทึก การ ตกลง ค่า ทำ ศพ ค่า รักษา พยาบาล และค่าเสียหาย เอกสาร หมาย ป.จ.จ. 1 ก็ ระบุ ว่า นาย วิบูลย์ เป็น ผู้รับ มอบอำนาจ จาก เจ้าของ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ส.ส. 01103 ให้ ไปตกลง แทน แสดงว่า ขณะนั้น รถยนต์ คันนี้ ก็ ยัง เป็น ของ จำเลย ที่6 อยู่ ที่ จำเลย ที่ 6 เบิกความ ว่า ให้ นาย วิบูลย์ ไป ตกลง แทนเพราะ หลักฐาน ทาง ทะเบียน ยัง เป็น ของ จำเลย ที่ 6 อยู่ ไม่ เป็นข้ออ้าง ที่ ฟัง ได้ ชั้น สอบสวน จำเลย ที่ 5 ก็ ให้การ ว่า วันเกิดเหตุ ได้ รับ คำสั่ง จาก จำเลย ที่ 6 เจ้าของ รถ ให้ ขับ รถ บรรทุกทราย ที่ ท่าเรือ จังหวัด กาญจนบุรี ไป ส่ง ที่ หมู่บ้าน เสรีกรุงเทพมหานคร และ ให้การ ว่า เป็น ลูกจ้าง ขับ รถ ของ จำเลย ที่ 6มา 1 ปี เศษ แล้ว ได้ รับ ค่าจ้าง เดือนละ 2,300 บาท เกิดเหตุ แล้วจำเลย ที่ 5 ก็ หลบหนี ไป ที่ บ้าน จำเลย ที่ 6 แจ้ง เรื่องราว ที่เกิดขึ้น ให้ จำเลย ที่ 6 ทราบ เชื่อ ได้ ว่า ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่6 เป็น เจ้าของ ผู้ ครอบครอง รถยนต์ บรรทุก หมายเลข ทะเบียน ส.ส. 01103 และ จำเลย ที่ 5 เป็น ลูกจ้าง ขับ รถ ใน ทาง การ ที่ จ้าง ของ จำเลยที่ 6 จำเลย ที่ 6 จึง ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 5 รับผิด ต่อ โจทก์ที่ 1 แต่ ที่ โจทก์ ที่ 1 ฎีกา ขอ ให้ จำเลย ที่ 7 รับผิด ร่วมด้วยนั้น ได้ ความ ว่า จำเลย ที่ 7 รับประกันภัย ค้ำจุน รถยนต์ บรรทุกหมายเลข ทะเบียน ส.ส. 01103 ไว้ จาก นาย วิบูลย์ แซ่จิว โจทก์ ที่1 ไม่ ได้ บรรยาย ฟ้อง หรือ นำสืบ ให้ รับฟัง ได้ ว่า นาย วิบูลย์ผู้เอา ประกันภัย มี นิติสัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 5 อัน จะ เป็น เหตุให้ นาย วิบูลย์ จะ ต้อง ร่วม รับผิด ใน การ กระทำ ละเมิด ของ จำเลยที่ 5 จำเลย ที่ 7 ใน ฐานะ ผู้ รับ ประกันภัย จึง ไม่ ต้อง ร่วมกับจำเลย ที่ 5 และ ที่ 6 รับ ผิด ต่อ โจทก์ ที่ 1
พิพากษายืน

Share