คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ความผิดฐานบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362มี2ตอนตอนหนึ่งคือ เข้าไปเพื่อถือการครอบครองอีกตอนหนึ่งคือเข้าไปทำการ รบกวนการครอบครองของเขาจำเลยเข้าไปและครอบครองที่พิพาทของโจทก์ร่วมตลอดเวลาต่อๆมานั้นการกระทำอันหนึ่งคือการเข้าไปแม้จะล้อมรั้วและครอบครองตลอดมาก็เป็นการกระทำอีกขั้นหนึ่งการกระทำในส่วนหลังเป็นการกระทำผิดโดยลำพังแต่ประการเดียวไม่ได้เมื่อการเข้าไปอันเป็นการกระทำส่วนแรกยุติเสร็จสิ้นลงแล้วการกระทำในส่วนหลังต่อๆมาก็ ไม่เป็น ความผิดต่อเนื่องติดต่อเกิดขึ้นตลอดเวลาได้เพราะความผิดฐานบุกรุกได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปกระทำการดังกล่าวส่วนการครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 365
ระหว่าง พิจารณา นางสาว สายสมร อาจหาญ ผู้เสียหาย ยื่น คำร้อง ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362, 365 ลงโทษ จำคุก 6 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง ข้อหา ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า การกระทำ ของ จำเลยเป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย หรือไม่ ใน การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จะ ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริงตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 1ฟัง ว่า ที่ดินพิพาท เนื้อที่ ประมาณ 97 ตารางวา อันเป็น ส่วน หนึ่งของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1756ตำบล พังเคน อำเภอเขมราฐ จังหวัด อุบลราชธานี เป็น ของ โจทก์ร่วม เมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2537 เวลา ประมาณ 13 นาฬิกา จำเลย เข้า ไปล้อม รั้ว ใน ที่ดินพิพาท เพื่อ ถือ การ ครอบครอง และ รบกวน การ ครอบครองที่ดินพิพาท ของ โจทก์ร่วม โดยปกติสุข และ ครอบครอง ที่ดินพิพาท มา ก่อนที่ โจทก์ ฎีกา ว่า การกระทำ ของ จำเลย ที่ เข้า ไป ล้อม รั้ว และ รบกวน การครอบครอง ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ร่วม ยัง คง มี อยู่ ตลอด เวลา ตั้งแต่วันเกิดเหตุ จน ถึง วันฟ้อง จึง เป็น การกระทำ ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365(3) โดย เป็น ความผิด ฐาน บุกรุก อย่าง ต่อเนื่อง ไม่ ขาดตอน กันทั้ง กลางวัน และ กลางคืน นั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362บัญญัติ ว่า “ผู้ใด เข้า ไป ใน อสังหาริมทรัพย์ ของ ผู้อื่น เพื่อ ถือการ ครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ นั้น ทั้งหมด หรือ แต่ บางส่วน หรือ เข้า ไปกระทำการ ใด ๆ อันเป็น การ รบกวน การ ครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ ของ เขาโดยปกติสุข ” เห็น ได้ว่า ความผิด ฐาน บุกรุก อสังหาริมทรัพย์ ตามบท กฎหมาย ดังกล่าว มี ความ เป็น 2 ตอน ตอนหนึ่ง คือ เข้า ไป เพื่อถือ การ ครอบครอง อีก ตอนหนึ่ง คือ เข้า ไป ทำการ รบกวน การ ครอบครอง ของ เขาจำเลย เข้า ไป และ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ร่วม ตลอด เวลา ต่อ ๆ มา นั้นการกระทำ อัน หนึ่ง คือ การ เข้า ไป แม้ จะ ล้อม รั้ว และ ครอบครอง ตลอดมาก็ เป็น การกระทำ อีก ขั้น หนึ่ง เมื่อ การ เข้า ไป ยุติ เสร็จสิ้น ลงตั้งแต่ แรก แล้ว แม้ จะ มี การ ครอบครอง ล้อม รั้ว อันเป็น การ รบกวน การครอบครอง อยู่ ต่อ ๆ มา การกระทำ ใน ส่วน หลัง นี้ ก็ เป็น การกระทำ ผิด ขึ้นตลอดมา โดย ลำพัง แต่ ประการ เดียว ไม่ได้ เมื่อ การ เข้า ไป อันเป็น การกระทำส่วน แรก ยุติ เสร็จสิ้น ลง แล้ว การกระทำ ใน ส่วน หลัง ต่อ ๆ มา ก็ ไม่เป็นความผิด ต่อเนื่อง ติดต่อ เกิดขึ้น ตลอด เวลา ได้ ดังนั้น การ ที่ จำเลยเข้า ไป ล้อม รั้ว ใน ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ร่วม ความผิด ฐาน บุกรุกได้ เกิดขึ้น และ สำเร็จ แล้ว เมื่อ จำเลย เข้า ไป กระทำการ ดังกล่าวส่วน การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ต่อมา เป็น เพียง ผล ของ การ บุกรุก การกระทำของ จำเลย ไม่เป็น ความผิด ต่อเนื่อง ดัง ที่ โจทก์ ฎีกา ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1วินิจฉัย ว่า การกระทำ ของ จำเลย ไม่เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 และ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ลงโทษ จำคุก จำเลย โดย ไม่ รอ การลงโทษ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี ไม่ ร้ายแรง นักโจทก์ร่วม และ จำเลย เป็น พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน การ ให้ โอกาสจำเลย กลับ ตัว เป็น พลเมือง ดี จะ เป็น ประโยชน์ แก่ ตัว จำเลย และ สังคมมาก กว่า ประกอบ กับ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อนกรณี มีเหตุ สมควร รอการลงโทษ จำคุก ให้ จำเลย แต่ เพื่อ ให้ จำเลย หลาบจำเห็นควร ลงโทษ ปรับ จำเลย อีก สถาน หนึ่ง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ปรับ จำเลย 1,500 บาท อีก สถาน หนึ่งโทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share