แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 5 ได้รับชำระหนี้ในคดีอื่นไว้นั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไปจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และคำว่า’จำหน่าย’ หามีความหมายเพียงการขายอย่างเดียวไม่แต่ยังหมายถึง ‘จ่าย แจก แลกเปลี่ยน เอาออกใช้หรือให้’ ด้วย การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นการจำหน่ายเงินที่อายัดแล้ว ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินที่อายัดตามข้อ 2 จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
ย่อยาว
กรณีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ในชั้นบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินซึ่งจำเลยที่ ๓ ที่ ๕ ได้รับชำระหนี้จากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์กรุงเทพเคหะจำกัดจำนวน ๓๐๔,๗๖๖.๙๓ บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดจำนวน ๒๔๓,๒๖๘.๖๒ บาท ชำระหนี้แก่โจทก์ครบแล้วและคิดค่าธรรมเนียมอายัดให้อัตราร้อยละ ๓ ครึ่งของจำนวนเงินที่จ่ายชำระหนี้แก่โจทก์ไปเป็นค่าธรรมเนียมอายัด ๘,๕๑๔.๔๐ บาท
จำเลยที่ ๓ ที่ ๕ คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดค่าธรรมเนียมไม่ถูกต้องและที่ถูกต้องคิดในอัตราร้อยละ ๑ ของเงินจำนวน ๒๔๓,๒๖๘.๖๒ บาท ตามตาราง ๕ ข้อ ๔ ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพราะเป็นการอายัดเงินแล้วไม่มีการจำหน่าย ขอให้สั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดค่าธรรมเนียมใหม่ และคืน+คิดเกินไปให้แก่จำเลยที่ ๓ ที่ ๕
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดไว้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขออายัดเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๓ ครึ่งของเงินจำนวน ๒๔๓,๒๖๘.๖๒ บาท ถูกต้องแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ ๓ ที่ ๕
จำเลยที่ ๓ ที่ ๕ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลยที่ ๓ ที่ ๕ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตาราง ๕ ข้อ ๒ และข้อ ๔ ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้มีข้อความว่า+จ่ายเงินที่ยึดหรืออายัดแก่เจ้าหนี้ ร้อยละ ๓ ครึ่งขอจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด” + เมื่อยึดหรืออายัดเงิน หรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ร้อยละ+ ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัดหรือราคาทรัพย์สินที่อายัด” การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินซึ่งจำเลยที่ ๓ ที่ ๕ ได้รับชำระหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ ๔๑๙๘/๒๕๒๓+ศาลแพ่งไว้นั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดจำนวน ๒๔๓,๒๖๘.๖๒ บาท +ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไป จึงต้องคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการจ่ายเงิน+แก่โจทก์เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ ๓ ครึ่งของจำนวนเงิน ๒๔๓,๒๖๘.๖๒ บาท +ที่จำเลยที่ ๓ ที่ ๕ ฎีกาว่า การคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม+ต้องเป็นการอายัดสิ่งของ แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายสิ่งของที่อายัด+จ่ายแก่เจ้าหนี้ ส่วนกรณีคดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินแล้วไม่มีการจำหน่ายเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัด จึงต้องคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามข้อ ๔ นั้น เห็นว่าคำว่า “จำหน่าย” หามีความหมายเพียงการขายอย่างเดียวไม่ แต่ยังหมายถึง “จ่าย แจก แลกเปลี่ยน เอาออกใช้หรือให้” ด้วย การที่เจ้าพนักงานบังคับคดี+ที่อายัดจำนวน ๒๔๓,๒๖๘.๖๒ บาท แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นการจำหน่ายเงินที่อายัดแล้ว ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินที่อายัดตามข้อ ๒ จึง+และชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบด้วยรูปคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ ๓ ที่ ๕ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน