คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ก่อนโจทก์ปลูกสร้างอาคาร ที่ดินที่ปลูกสร้างอาคารดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้ติดกับทางสาธารณะซึ่งด้านทิศเหนือมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตรทิศใต้กว้างประมาณ 2.20 เมตร ถึง 3 เมตร และตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 72 วรรค 2 ได้กำหนดไว้ว่าตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร แต่โจทก์ได้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นแนวตะเข็บกว้างประมาณ 0.80 เมตร ไปตลอดแนวเขตกั้นไว้ระหว่างที่ดินแปลงที่จะปลูกสร้างอาคารกับทางสาธารณะก่อนยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างประมาณ 20 วัน เห็นได้ชัดว่าโจทก์ทำเพื่อหลีกเลี่ยงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครมิฉะนั้นจะต้องถอยร่นแนวอาคารทั้งสองด้านห่างทางสาธารณะประมาณ 4.50 เมตรถึง 5 เมตร จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะอ้างว่าที่ทำแนวตะเข็บดังกล่าวเพื่อขยายทางสาธารณะ และทางจำเลยที่ 1 ขยายทางสาธารณะแล้วก็ตาม โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร โดยต้องถอยร่นแนวอาคารให้ห่างทางสาธารณะที่ขยายแล้วด้วย แม้เขตพระนครจะเคยอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคาร 4 ชั้นแล้วในการพิจารณาคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเติมอาคารเป็น 11 ชั้น จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิพิจารณาถึงการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาท จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

Share