คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281-282/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกดังนั้นผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไรอันจะทำให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดจึงเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องหาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่การที่โจทก์ที่1และที่2บรรยายฟ้องให้จำเลยที่3รับผิดในฐานะเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแม้จำเลยที่3ให้การยอมรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันดังกล่าวโดยมีจำเลยที่1เป็นผู้ขับขณะเกิดเหตุแต่โจทก์ที่1และที่2มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1มีความสัมพันธ์กับ ม. ผู้เอาประกันภัยและมีนิติสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรอันจะเป็นเหตุให้ ม.ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่1คำฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่3จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็นเจ้าของ และ ผู้ครอบครอง รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 9ย-6196กรุงเทพมหานคร โจทก์ ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน6บ-6145 กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถยนต์โดยสาร เล็กคัน หมายเลข ทะเบียน 11-3540 กรุงเทพมหานคร และ เป็น นายจ้าง ของจำเลย ที่ 1 ผู้ขับ รถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าว ซึ่ง ได้ กระทำ ใน ทางการที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลข ทะเบียน 11-3540 กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่31 ตุลาคม 2530 เวลา กลางวัน จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์โดยสาร เล็กคัน หมายเลข ทะเบียน 11-3540 กรุงเทพมหานคร จาก ทาง บางแค ไป ตาม ถนน เพชรเกษม ด้วย ความประมาท เป็นเหตุ ให้ รถยนต์โดยสาร เล็ก ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ พุ่ง ชน รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 6บ-6145 กรุงเทพมหานครของ โจทก์ ที่ 2 กระเด็น ผ่าน ช่องว่าง ระหว่าง เกาะกลางถนน ไป ขวางทางเดิน รถ อีก ด้าน หนึ่ง ของ ถนน และ เฉี่ยว ชน กับ รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน 9ย-6196 กรุงเทพมหานคร ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง โจทก์ ที่ 1ขับ มา ตาม ถนน ดังกล่าว จาก ทาง หนองแขม มุ่งหน้า ไป ทาง บางแค ทำให้ รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ได้รับ ความเสียหาย เป็น เงิน 70,800บาท และ 85,290 บาท ตามลำดับ จำเลย ที่ 1 กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ที่ 1และ ที่ 2 ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และจำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รถยนต์โดยสาร ที่ จำเลยที่ 1 ขับ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย อัน เกิดจาก การ ละเมิดดังกล่าว ต่อ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันหรือ แทน กัน ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 78,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าวนับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 85,290 บาท ให้ แก่โจทก์ ที่ 2 พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงินจำนวน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ทั้ง สอง สำนวน ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ทั้ง สอง สำนวน ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1ไม่ใช่ เจ้าของ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 9ย-6196 กรุงเทพมหานครโจทก์ ที่ 2 ไม่ใช่ เจ้าของ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 6บ-6145กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลขทะเบียน 11-3540 กรุงเทพมหานคร แต่ ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 2 ได้ ให้ผู้มีชื่อ เช่าซื้อ รถยนต์ คัน ดังกล่าว และ มอบ รถยนต์ นั้น ให้ ผู้เช่าซื้อไป แล้ว จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ ไม่ได้ ปฏิบัติตาม คำสั่ง ที่ ได้รับ มอบหมาย จาก จำเลย ที่ 2 เหตุ รถยนต์ ชนกัน คดี นี้มิได้ เกิดจาก ความประมาท ของ จำเลย ที่ 1 แต่ เกิดจาก ความประมาท ของโจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 เอง จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิด รถยนต์ ของโจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 เสียหาย อย่างมาก คัน ละ ไม่เกิน 3,000 บาทและ ต้อง เสีย เวลา ซ่อม คัน ละ ไม่เกิน 10 วัน โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2เสีย ค่าเช่า รถ ไม่เกิน วัน ละ 150 และ 200 บาท ตามลำดับ รถยนต์ ของโจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่มี การ เสื่อมราคา หาก เสื่อมราคา ก็ ไม่เกิน2,000 บาท และ 1,000 บาท ตามลำดับ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2ฟ้อง จำเลย ที่ 3 ให้ รับผิด ใน ฐานะ เป็น ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลข ทะเบียน 11-3540 กรุงเทพมหานคร แต่ มิได้บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าว ใน ฐานะ อะไรหรือ มี นิติสัมพันธ์ อย่างไร กับ ผู้เอาประกันภัย รถยนต์โดยสาร คันดังกล่าว อัน จะ เป็นเหตุ ให้ ผู้เอาประกันภัย ต้อง ร่วมรับผิด ใน การละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 จึง ไม่แสดง โดยแจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา เมื่อ ฟ้องโจทก์ มิได้ บรรยาย ถึง เหตุ ที่จะ ให้ ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิด แล้ว จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัยค้ำจุน ซึ่ง จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ต่อเมื่อ ผู้เอาประกันภัยต้อง รับผิด จึง ไม่ต้อง รับผิด ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ที่เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 เป็น ฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ ที่ 1 ไม่ใช่ เจ้าของรถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 9ย-6196 กรุงเทพมหานคร โจทก์ ที่ 2ไม่ใช่ เจ้าของ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 6บ-6145 กรุงเทพมหานครจำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง และ กระทำ ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ ผู้มีชื่อมิได้ เป็น ลูกจ้าง และ กระทำ ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลยที่ 3 ได้รับ ประกันภัยค้ำจุน รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลข ทะเบียน11-3540 กรุงเทพมหานคร แต่ จำเลย ที่ 3 จะ รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนใน นาม ของ ผู้เอาประกันภัย เพื่อ ความ วินาศภัย อัน เกิดขึ้น แก่ บุคคลภายนอก ซึ่ง ผู้เอาประกันภัย จะ ต้อง รับผิดชอบ เท่านั้น เมื่อ ผู้ เอาประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ที่ 3 ไม่ต้อง รับผิด จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะผู้รับประกันภัย ก็ ไม่ต้อง รับผิด ด้วย เหตุ รถยนต์ ชนกัน ใน คดี นี้มิได้ เกิดจาก ความประมาท ของ จำเลย ที่ 1 แต่ เกิดจาก ความประมาท ของโจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 เอง รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 9ย-6196กรุงเทพมหานคร และ 6บ-6145 กรุงเทพมหานคร เสียหาย ต้อง ใช้ เงินค่าซ่อม ไม่เกิน 5,000 บาท และ 3,000 บาท ตามลำดับ รถยนต์ ทั้ง สอง คันดังกล่าว ต้อง ใช้ เวลา ซ่อม คัน ละ ไม่เกิน 10 วัน โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2เสีย ค่าเช่า รถ อย่างมาก ไม่เกิน วัน ละ 200 บาท และ รถยนต์ ทั้ง สอง คันดังกล่าว เมื่อ ซ่อมแซม แล้ว ไม่ เสื่อมราคา หาก เสื่อมราคา ก็ ไม่เกินคัน ละ 2,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ร่วมกัน ชำระ เงิน34,800 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 และ 33,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2และ เสีย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ยอดเงิน ดังกล่าวนับ จาก วัน ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 3 ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 และที่ 2 เฉพาะ จำเลย ที่ 3 ด้วย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 1และ ที่ 2 ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ประการ แรก ว่า ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง สำนวนใน ส่วน เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 เคลือบคลุม หรือไม่ ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ว่า ขณะ เกิดเหตุ รถ ชนกัน นั้น จำเลยที่ 1 ขับ รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลข ทะเบียน 11-3540 กรุงเทพมหานครที่ จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย ค้ำจุน ไว้ จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ลูกจ้างของ จำเลย ที่ 2 แต่ เป็น ลูกจ้าง ของ นาย มนัส ชอบสะอาด ซึ่ง เช่าซื้อ รถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าว และ เอา ประกันภัย รถยนต์โดยสาร นั้น ไว้ กับจำเลย ที่ 3 ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 บรรยายฟ้อง ว่าจำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลข ทะเบียน 11-3540กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลขทะเบียน 11-3540 กรุงเทพมหานคร และ เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1ซึ่ง ได้ กระทำ ไป ใน ทางการที่จ้าง จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัยค้ำจุน รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลข ทะเบียน 11-3540 กรุงเทพมหานครคัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ มิได้ บรรยายฟ้อง ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 3 มีนิติสัมพันธ์ กับ ผู้เอาประกันภัย คือ นาย มนัส ชอบสะอาด อย่างไร และ จำเลย ที่ 3 ต้อง ร่วมรับผิด กับ นาย มนัส ชอบสะอาด อย่างไร แม้ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 จะ บรรยายฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 3 รับผิด ใน ฐานะเป็น ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลข ทะเบียน11-3540 กรุงเทพมหานคร อันเป็น รถ คัน ที่ ก่อ ให้ เกิด ความเสียหายครั้งนี้ และ จำเลย ที่ 3 จะ ให้การ ยอมรับ ว่า เป็น ผู้รับประกันภัยค้ำจุน รถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าว โดย มี จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขับ ขณะเกิดเหตุ ก็ ตาม แต่ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 มิได้ บรรยายฟ้อง ให้ ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถ คัน ดังกล่าว โดย มี ความ สัมพันธ์ กับ นาย มนัส ชอบสะอาด ผู้เอาประกันภัย และ มี นิติสัมพันธ์ ต่อ กัน อย่างไร อัน จะ เป็นเหตุ ให้ นาย มนัส ชอบสะอาด ต้อง ร่วมรับผิด ใน การกระทำ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง การ ประกันภัยค้ำจุน นั้น จำเลย ที่ 3ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน จะ ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ก็ ต่อเมื่อ นาย มนัส ชอบสะอาด ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิด เพื่อ ความ วินาศภัย อัน เกิดขึ้น แก่ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 เมื่อ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 มิได้ บรรยายฟ้องให้ ปรากฏว่า นาย มนัส ชอบสะอาด ผู้เอาประกันภัย จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 แล้ว จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัยค้ำจุน ก็ ไม่จำต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ด้วย เหตุ นี้ คำฟ้องของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 จึง เป็นคำฟ้อง ที่ ไม่ได้ แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา และ ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา เช่นว่า นั้น ไม่ชอบ ด้วย ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง สำนวนใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 จึง เป็น ฟ้องเคลือบคลุม ที่ โจทก์ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ว่า แม้ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 จะ มิได้ บรรยาย ว่าผู้ใด เป็น ผู้เอาประกันภัย รถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าว ไว้ กับ จำเลย ที่ 3และ ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 เกี่ยวข้อง กับ ผู้เอาประกันภัย อย่างไรอัน จะ ทำให้ จำเลย ที่ 3 จะ ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ที่ มี ต่อโจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น เพียง รายละเอียด ที่ สามารถ นำสืบ ได้ ในชั้นพิจารณา นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคแรก บัญญัติ ว่า “อัน ว่า ประกันภัยค้ำจุน นั้น คือสัญญาประกันภัย ซึ่ง ผู้รับประกันภัย ตกลง ว่า จะ ใช้ ค่าสินไหมทดแทนใน นาม ของ ผู้เอาประกันภัย เพื่อ ความ วินาศภัย อัน เกิดขึ้น แก่ บุคคล อีกคนหนึ่ง และ ซึ่ง ผู้เอาประกันภัย จะ ต้อง รับผิดชอบ ” เมื่อ กฎหมายบัญญัติ ไว้ ดังนี้ จึง เป็น ที่ เห็น ได้ว่า ผู้ใด เป็น ผู้เอาประกันภัยรถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าว ไว้ กับ จำเลย ที่ 3 และ จำเลย ที่ 1 ผู้กระทำละเมิด เกี่ยวข้อง กับ ผู้เอาประกันภัย อัน จะ ทำให้ จำเลย ที่ 3 จะ ต้องร่วมรับผิด จึง เป็น ข้อบังคับ ที่ สำคัญ ใน เรื่อง การ บรรยายฟ้อง ของโจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 อัน จะ ต้อง แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและ ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว หาใช่เป็น เพียง รายละเอียด ที่ สามารถ นำสืบ ใน ชั้นพิจารณา ดัง ที่ โจทก์ ที่ 1และ ที่ 2 ฎีกา ไม่ ส่วน ที่ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ว่า คำฟ้องเกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ บรรยาย ว่า จำเลย ที่ 3ใน ฐานะ เป็น ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รถยนต์โดยสาร เล็ก คัน หมายเลข ทะเบียน11-3540 กรุงเทพมหานคร คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับขี่ ก่อเหตุ ละเมิดคดี นี้ จึง ต้อง ร่วมรับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ประกอบ กับ จำเลย ที่ 3ให้การ ยอมรับ ว่า เป็น ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าวจึง ไม่ เคลือบคลุม นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 บรรยายฟ้อง ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใน เบื้องต้นดัง วินิจฉัย มา แล้ว ดังนั้น แม้ คำฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2จะ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 3 ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน และ จำเลย ที่ 3จะ ให้การ รับ ว่า เป็น ผู้รับประกันภัย ก็ หา ทำให้ ฟ้องโจทก์ ที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าว ซึ่ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กลับ เป็น คำฟ้อง ที่ชอบ ด้วยกฎหมาย ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นี้ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกาของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น เมื่อ วินิจฉัย เช่นนี้ แล้วปัญหา อื่น ไม่จำต้อง วินิจฉัย ”
พิพากษายืน

Share