แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยซื้อมาจากบุคคลภายนอกนั้นประเด็นข้อพิพาทมีว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองทั้งศาลจะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้เพราะขัดแย้งกับที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เจ้าของร่วม กัน ใน ที่ดิน งอกริมตลิ่ง เนื้อที่ ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา จำเลย ทั้ง สอง ได้บุกรุก แสดง ตน เป็น เจ้าของ บริเวณ ที่งอกริมตลิ่ง ดังกล่าว ขอให้ ศาลพิพากษา ว่า ที่งอกริมตลิ่ง ตาม ฟ้อง เป็น ของ โจทก์ ทั้ง สอง ห้าม จำเลยทั้ง สอง เข้า เกี่ยวข้อง
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ที่งอกริมตลิ่ง ที่พิพาท เป็น ของ จำเลย ที่ 2จำเลย ที่ 2 เข้า ครอบครอง ที่ งอก พิพาท โดย เปิดเผย และ เจตนา เป็นเจ้าของ ตลอดมา โดย โจทก์ ทั้ง สอง มิได้ คัดค้าน โจทก์ ทั้ง สอง นำ คดีมา ฟ้อง หลังจาก จำเลย ที่ 2 เข้า ครอบครอง ที่ งอก พิพาท เกิน 1 ปี แล้วคดี โจทก์ ทั้ง สอง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟัง เป็น ยุติ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เจ้าของ ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก) เลขที่ 278 หมู่ ที่ 1ตำบล สะกอม อำเภอเทพา จังหวัด สงขลา เนื้อที่ ประมาณ 4 ไร่ 10 ตารางวา ทาง ด้าน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของ ที่ดิน มี ที่งอกริมตลิ่งซึ่ง เป็น ที่ดินพิพาท ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สองมี ว่า โจทก์ ทั้ง สอง นำ คดี มา ฟ้อง เมื่อ พ้น กำหนด 1 ปี นับแต่ ถูก แย่งการ ครอบครอง แล้ว หรือไม่ เห็นว่า จำเลย กล่าวอ้าง ใน คำให้การ ว่าที่ งอก พิพาท เป็น ของ จำเลย โดย จำเลย ซื้อ มาจาก บุคคลภายนอก คำให้การของ จำเลย จึง ไม่มี ปัญหา เรื่อง แย่ง การ ครอบครอง ที่ งอก พิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ศาล จะ ยก ประเด็นดังกล่าว ขึ้น วินิจฉัย เอง ไม่ได้ เพราะ ขัดแย้ง กับ ประเด็น ที่ จำเลยต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การ และ ไม่ใช่ ปัญหา เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของประชาชน ซึ่ง ตาม คำฟ้อง และ คำให้การ คง มี ประเด็น ข้อพิพาท ว่า โจทก์ทั้ง สอง หรือ จำเลย ทั้ง สอง เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ใน ที่ งอก พิพาทซึ่ง ใน ประเด็น ข้อ นี้ โจทก์ ทั้ง สอง นำสืบ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ซื้อ ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก) เลขที่ 278 จาก นาย ยงยุทธ ร่มโพธิ์ทอง เมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2522 ขณะ นั้น มี นาย หีม จิตศิริ ปลูก บ้าน อาศัย อยู่ 1 หลัง ซึ่ง โจทก์ ทั้ง สอง ก็ อนุญาต ให้ นาย หีม อาศัย อยู่ ต่อมา จน ถึง ปัจจุบัน และ ได้ อนุญาต ให้ นาง มิตร จิตศิริ บุตร นาย หีม อาศัย อยู่ รวมทั้ง ให้ นาง มิตร ดูแล ที่ งอก พิพาท แทน โจทก์ ด้วย ต่อมา ประมาณ กลาง ปี 2531 โจทก์ ทั้ง สองไป ดู ที่ งอก พิพาท ปรากฏว่า ใน ที่ดิน มี โรงเรือน หลังคา มุง จาก และ มีกรง นก ด้วย นาง มิตร บอก ว่า ให้ ชาว ประมง มา พัก อาศัย ใน หน้า มรสุม และ หยุด ซ่อมแซม เรือ ชั่วคราว หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 2 มา พบ และ บอก ว่าได้ ซื้อ ที่ งอก พิพาท จาก นาย โกมล เตโช พร้อม ทั้ง ได้ ล้อม รั้ว ที่ งอก พิพาท ไว้ ด้วย ส่วน จำเลย ทั้ง สอง นำสืบ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ซื้อ ที่ งอกพิพาท ซึ่ง มี เอกสาร เป็น ใบเสร็จรับเงิน ภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5)จาก นาย โกมล ใน ราคา 200,000 บาท โดย นาย โกมล ส่งมอบ การ ครอบครอง ให้ จำเลย ทั้ง สอง เมื่อ วันที่ 25 พฤษภาคม 2533 โดยเฉพาะ นาย โกมล เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ทั้ง สอง ว่า พยาน ซื้อ ที่ งอก พิพาท มาจากนาง อ่ำ กิจจันทร์หรือหอมจันทร์ ตั้งแต่ 2529 เมื่อ พยาน ซื้อ มา แล้ว ได้ เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ โดย ล้อม รั้ว ปลูก บ้าน อยู่อาศัย สร้างกรง นก เพื่อ เลี้ยง นกเขา และ ได้เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ ตลอดมา ต่อมาจึง ได้ ขาย ที่ งอก พิพาท ให้ จำเลย ทั้ง สอง เห็นว่า คำเบิกความ ของนาย โกมล มีเหตุ ผล สอดคล้อง ต้อง กัน กับ ทางนำสืบ ของ โจทก์ ทั้ง สอง กล่าว คือ นาง มิตร พยานโจทก์ ทั้ง สอง เบิกความ ตอนหนึ่ง ว่า เมื่อ ประมาณ 3 ถึง 4 ปี มา แล้ว นาย โกมล เคย มา ขอ ปลูก บ้าน อยู่อาศัย และ สร้าง กรง นก ใน ที่ งอก พิพาท โดย ขออนุญาต จาก นาย หีม บิดา พยาน แต่ ไม่ได้ ขออนุญาต จาก โจทก์ ทั้ง สอง และ นาย ดลรอหมาน เต๊ะมาหมัด พยานโจทก์ ทั้ง สอง เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ที่ 2 ถาม ค้าน ว่า ที่ งอกพิพาท มี อยู่ ก่อน ที่ พยาน จะขาย ที่ งอก พิพาท ให้ นาย ยงยุทธ ใน ขณะ นั้น มี คน มา ขอ ปลูก เพิง อาศัยอยู่ บริเวณ ที่ งอก พิพาท แต่ ไม่ได้ ขออนุญาตจาก พยาน บุคคล ดังกล่าว ไม่ยอม ออก ไป คง อาศัย อยู่ ใน ที่ งอก พิพาท นานประมาณ 10 ปี นอกจาก นั้น โจทก์ ที่ 1 เอง ยัง เบิกความ ว่า เมื่อ ประมาณกลาง ปี 2531 โจทก์ ทั้ง สอง ไป ดู ที่ งอก พิพาท เห็น มี โรงเรือน หลังคา มุงด้วย จาก กรง นกเขา 1 กรง ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 2 อยู่ ใน ที่ งอก พิพาทคำเบิกความ ของ นาย โกมล จึง มี น้ำหนัก น่าเชื่อ ว่า นาย โกมล ครอบครอง ที่ งอก พิพาท มา ตั้งแต่ ปี 2529 เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ซื้อที่ งอก พิพาท และ รับมอบ การ ครอบครอง จาก นาย โกมล หลังจาก นั้น จำเลย ทั้ง สอง ได้ ครอบครอง ที่ งอก พิพาท โดย เจตนา เป็น เจ้าของ ตลอดมา ถือได้ว่าจำเลย ทั้ง สอง รับโอน การ ครอบครอง จาก นาย โกมล มีผล ให้ นับเวลา ครอบครอง รวมกัน ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตาม มาตรา 1385ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ แสดง เจตนา รับ การ โอน การครอบครอง ที่ งอก พิพาท จาก นาย โกมล ไว้ ใน คำให้การ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ สามารถ นับเวลา การ ครอบครอง ที่ งอก พิพาท ต่อ กัน ได้ นั้น เห็นว่า จำเลยทั้ง สอง ไม่จำต้อง ให้ รวม ถึง เพียงแต่ จำเลย ทั้ง สอง นำสืบ ว่า ได้ครอบครอง ที่ งอก พิพาท ต่อ จาก ผู้ครอบครอง เดิม ก็ เพียงพอ แล้ว แต่อย่างไร ก็ ตาม ใน คำให้การ ของ จำเลย ที่ 2 ได้ บรรยาย ไว้ แล้ว ว่า ผู้ซื้อที่ดินพิพาท ได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ต่อเนื่อง กัน มา ตลอด โดย เปิดเผยเจตนา เป็น เจ้าของ ซึ่ง หมายถึง จำเลย ที่ 2 ได้ ครอบครอง ที่ งอก พิพาทต่อ จาก นาย โกมล ผู้ครอบครอง ที่ งอก พิพาท เดิม เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ทั้ง สอง รับโอน การ ครอบครอง จาก นาย โกมล จำเลย ทั้ง สอง จึง สามารถ นับเวลา การ ครอบครอง ของ นาย โกมล ซึ่ง เป็น ผู้ครอบครอง เดิม รวม เข้า กับ เวลา ครอบครอง ของ จำเลย ทั้ง สอง ได้ จำเลย ทั้ง สอง เป็นผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ งอก พิพาท ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สองฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน