คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2487

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยตั้งร้านค้าขายมีสินค้าราคาประมาน 2000 บาท และเปนผู้ออกอาชญาบัตรค่าสุกร มีเหรียนกสาปน์ไว้ไนครอบครองเปนเงิน 162 บาท ดังนี้ ไม่เปนการเกินสมควน ฯลฯ อันจะถือว่าเปนการค้า
จำเลยมีสตางค์แต่ไม่ทอนไห้ลูกค้ายังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาค่าเหรียนกสาปน์
เหตุเกิดก่อนวันไช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉินลงวันที่ 30 เมสายน 2486 จะนำพระราชกำหนดนั้นมาบังคับไม่ได้

ย่อยาว

โจทฟ้องว่าเจ้าพนักงานค้นเหรียนกสาปน์ได้จากจำเลยซึ่งสมคบกันทีไว้ในครอบครอง ๒๑๓๑ อัน เปนเงิน ๑๖๒ บาท ขอไห้ลงโทส
ได้ความว่าจำเลยเปนสามีภรรรยากันตั้งร้านค้าขาย สินค้าไนร้านมีประมาน ๒๐๐๐ บาท นายประสิทธิจำเลยเปนผู้ไหย่บ้านและกรมการอำเพอได้มอบไห้เปนผู้ออกอาชญาบัตรค่าสุกร เจ้าพนักงานค้นได้สตางค์ชนิดอันละ ๕ อันละ ๑ สตางค์ รวม ๕ บาทเสสไนลิ้นชักที่มิได้ไส่กุญแจ และได้สตางค์และเหรียนสลึกไนลิ้นชักที่ไส่กุญแจอีกเปนจำนวน ๑๐๐ กว่าบาท จำเลยขายสินค้าได้เฉลี่ยนวันละ ๕๐-๖๐ บาทและยังรับซื้อสินค้าเบ็ดเตล็ดเช่น ถั่วและมะพร้าวอีก นอกจากนี้ยังได้รับเงินค่าอาชญาบัตรจากราสดรอีก ๑๖๐ บาท ซึ่งเปนธนบัตรบ้าง เหรียนสลึกและสตางค์บ้าง
สาลชั้นต้นพิพากสายกฟ้องโดยวินิฉัยว่ายังสันนิถานไม่ได้ว่าจำเลยมีไว้เกินสมควนแก่การมีไว้โดยปรกติธุระ หรือเกินความจำเปนไนการไช้จ่ายปรกติอันถือได้ว่าจำเลยเปนผู้ค้าเหรียนกสาปน์
สาลอุธรน์พิพากสายืน แต่มีความเห็ฯแย้งว่า คดีนี้แม้จะเกิดก่อนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราลงวันที่ ๓๐ เมสายน ๒๔๘๖ ที่เปลี่ยนมาตรา ๓ ตรี ซึ่งมีข้อสันนิถานว่าถ้าบุคคลผู้ประกอบการค้าหรืออุสาหกัม มีเหรียนกสาปน์ชนิดราคา ๒๐ สตางค์หรือต่ำหว่าไว้ไนครอบครองเกินกว่า ๓๐ บาท ไห้สันนิถานไว้ก่อนว่ามีไว้เปนจำนวนเกิดสมควน ฯลฯ และกดหมายนี้เปนวิธีสบัญญัติ สาลย่อมยกมาไช้ได้ เปนหน้าที่จำเลยต้องสืบหักล้าง จำเลยสืบหักล้างไม่ได้ ควนลงโทสและอนุญาตไห้ดีกาได้
โจทดีกา สาลดีกาเห็นว่า คดีนี้จะยกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราลงวันที่ ๓๐ เมสายน ๒๔๘๖ มาไช้บังคับไม่ได้ตามกดหมายลักสนะอาญามาตรา ๘ เพราะเหตุเกิดก่อนวันไช้พระราชกำหนดนี้ และความไนพระราชกำหนดนี้ มีข้อสันนิถานได้โทสแก่จำเลย โดยมีบทไห้เปนหน้าที่จำเลยนำสืบและเอาผิดแก่จำเลย ส่วข้อเท็ดจิงที่ได้ความไนทางพิจารนา สาลล่างทั้งสองก็ฟังว่า การที่จำเลยมีเหรียนกสาปน์ไว้นี้ ไม่เปนการเกินสมควน ฯลฯ อันจะถือเปนการค้า ไม่มีเหตุที่จะแก้ไข ส่วนการที่นางหยินจำเลยมีสตางค์แต่ไม่ทอนนั้น เหตุเพียงเท่านี้ก็ยังไม่พอไห้ถือว่าจำเลยมีเจตนาค้าเหรียนกสาปน์เช่นเดียวกัน จึงพิพากสายืน.

Share