แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96พ.ศ.2515ใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1)ประกอบมาตรา108วรรคแรกการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1),108ทวิในทันทีที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในที่เกิดเหตุซึ่งเป็น ที่ดินของรัฐหาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซื้อได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเสียก่อนไม่ ความผิดที่โจทก์ฟ้องเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินของรัฐและจะคงเป็น ความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไปจากที่ดินเกิดเหตุแม้ศาลอุทธรณ์ภาค3จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่าก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุตั้งแต่ปลายปี2532ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริงหาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างกันในฟ้องไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน บุกรุก เข้า ไป ปลูกสร้างอาคาร บ้านพัก และ ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน อันเป็น สาธารณประโยชน์ที่ ประชาชน ใช้ ร่วมกัน และ เป็น ที่ดิน ของรัฐ โดย มิได้ มีสิทธิ ครอบครองและ มิได้ รับ อนุญาต จาก พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตาม กฎหมาย ขอให้ ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108, 108 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สาม มี ความผิดตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1), 108 ทวิ วรรคสองประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ให้ จำคุก คน ละ 6 เดือน และ ปรับ คน ละ6,000 บาท จำเลย ทั้ง สาม ไม่เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน พิเคราะห์พฤติการณ์ แห่ง คดี แล้ว โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 1 ปีไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30ข้อหา อื่น ให้ยก
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ฟัง ข้อเท็จจริง มา ว่าแม้ จำเลย ทั้ง สาม จะ เคย เข้า ไป ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน เกิดเหตุ ก่อน ที่จำเลย ทั้ง สาม จะ ร่วมกัน ปลูกสร้าง บ้าน เมื่อ ปี 2532 แต่ ก็ มี ชาวบ้านอื่น มา ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน เกิดเหตุ เช่นกัน ไม่มี ผู้ใด หวง กัน แสดง ตนเป็น เจ้าของ เพียง ผู้เดียว การ ใช้ ที่ดิน สาธารณประโยชน์ ใน ลักษณะเช่นนี้ ไม่อาจ ถือได้ว่า ผู้ใด ผู้หนึ่ง ยึดถือ ครอบครอง เป็น ของ ตนจน กระทั่ง เมื่อ จำเลย ที่ 1 ลงมือ ปลูกสร้าง บ้าน ขึ้น ใน ที่ดิน เกิดเหตุจึง เป็น การแสดง ออก ว่า จำเลย ที่ 1 จะ ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน เกิดเหตุเป็น ของ ตน แต่เพียง ผู้เดียว จำเลย ที่ 1 ปลูกสร้าง บ้าน เมื่อ ปี 2532การ เข้า ไป ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน เกิดเหตุ ของ จำเลย ที่ 1 เกิดขึ้นหลังจาก มี ประกาศ ใช้ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ซึ่ง ประกาศ ใช้เมื่อ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ดังนั้น ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ในข้อ 2 ก. ประการ แรก ว่า พยานหลักฐาน โจทก์ จำเลย รับฟัง ได้ว่า จำเลยที่ 1 ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน เกิดเหตุ ก่อน มี ประกาศ ใช้ ประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ซึ่ง ประกาศ ใช้ เมื่อ วันที่ 29 กุมภาพันธ์2515 นั้น เป็น ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐานของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สามฎีกา ใน ข้อ เดียว กัน ประการ ต่อมา ว่า การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สามจะ เป็น ความผิด ก็ ต่อเมื่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ซึ่ง ได้รับ มอบหมายจาก พนักงาน เจ้าหน้าที่ ได้ แจ้ง เป็น หนังสือ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ปฏิบัติตาม ระเบียบ ที่ คณะกรรมการ กำหนด เสีย ก่อน เมื่อ จำเลย ทั้ง สามเพิกเฉย หรือไม่ ปฏิบัติ ให้ ถูกต้อง ตาม ระเบียบ และ พนักงาน เจ้าหน้าที่มี คำสั่ง เป็น หนังสือ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ออกจาก ที่ดิน ภายใน ระยะเวลากำหนด แล้ว จำเลย ทั้ง สาม ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่จำเลย ทั้ง สาม จึง จะ มี ความผิด แต่ ฟ้องโจทก์ ไม่ปรากฏ ข้อความ ดังกล่าวจึง ลงโทษ จำเลย ทั้ง สาม ไม่ได้ เพราะ เป็น คำฟ้อง ที่ ขาด องค์ประกอบความผิด นั้น เห็นว่า พนักงาน เจ้าหน้าที่ จะ ต้อง กระทำ ดัง จำเลยทั้ง สาม ฎีกา ก็ ต่อเมื่อ เป็น การ เข้า ไป ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน ของรัฐก่อน วันที่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 พ.ศ. 2515 ใช้ บังคับตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) ประกอบ มาตรา 108วรรคแรก แต่ การ ครอบครอง ที่ดิน ใน ที่เกิดเหตุ ของ จำเลย ทั้ง สามใน คดี นี้ เกิดขึ้น หลังจาก วันที่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ใช้ บังคับ แล้ว ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ฟัง ข้อเท็จจริง มา การกระทำ ของจำเลย ทั้ง สาม ย่อม เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1),108 ทวิ ใน ทันที ที่ จำเลย เข้า ไป ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน ใน ที่เกิดเหตุซึ่ง เป็น ที่ดิน ของรัฐ หา จำต้อง ให้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ กระทำการ ต่าง ๆดัง จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา เสีย ก่อน ไม่
ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ใน ข้อ 2 ข. เป็น ประการ สุดท้าย ว่า ฟ้องโจทก์ ระบุ ว่า จำเลย ทั้ง สาม กระทำผิด ระหว่าง วันที่ 23 สิงหาคม 2533ถึง วันที่ 2 พฤศจิกายน 2533 แต่ โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1 เข้า ไปปลูกสร้าง บ้าน ใน ที่ดิน เกิดเหตุ เมื่อ ปลาย ปี 2532 ซึ่ง เห็น ได้ว่าข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน การ พิจารณา แตกต่าง กับ ข้อเท็จจริงดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้อง ทั้ง ข้อแตกต่าง นั้น ก็ เป็น ข้อ สาระสำคัญ และ จำเลยทั้ง สาม หลงต่อสู้ ด้วย นอกจาก นี้ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ว่าตาม วัน เวลา เกิดเหตุ ใน ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ยัง คง ปลูกสร้าง บ้าน ในที่เกิดเหตุ อยู่ ความผิด ของ จำเลย ทั้ง สาม ยัง คง มี อยู่ ตลอด ระยะเวลาดังกล่าว เป็น ข้อ วินิจฉัย ที่ นอกเหนือ จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน นั้นเห็นว่า ความผิด ที่ โจทก์ ฟ้อง เกิดขึ้น ตั้งแต่ ขณะ จำเลย ทั้ง สามเข้า ไป ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน ใน ที่เกิดเหตุ ซึ่ง เป็น ที่ดิน ของรัฐและ จะ คง เป็น ความผิด เช่นนั้น ตลอด ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม จะ ออก ไปจาก ที่ดิน เกิดเหตุ เมื่อ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน การ พิจารณาฟังได้ ว่า ตาม วัน เวลา เกิดเหตุ ใน ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ยัง คง ยึดถือครอบครอง ที่ดิน เกิดเหตุ ย่อม เป็น ข้อเท็จจริง ที่ ตรง กับ ใน ฟ้องแม้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จะ ฟัง ข้อเท็จจริง ด้วย ว่า ก่อนหน้า วันเกิดเหตุตาม ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ได้ เข้า ไป ยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน เกิดเหตุตั้งแต่ ปลาย ปี 2532 ต่อเนื่อง กัน มา จน ถึง วัน เวลา เกิดเหตุ ตาม ฟ้องก็ เป็น การ ฟัง ข้อเท็จจริง ประกอบ กัน ว่า จำเลย ทั้ง สาม กระทำผิดตาม วัน เวลา ที่ โจทก์ ฟ้อง จริง หาใช่ เป็น การ ฟัง ข้อเท็จจริงแตกต่าง กับ ใน ฟ้อง ไม่ และ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริง ดังกล่าว ก็ ไม่ใช่ เป็น การ วินิจฉัย ที่ นอกเหนือ ไป จากพยานหลักฐาน ใน สำนวน ดัง จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา แต่อย่างใด ที่ ศาลล่างทั้ง สอง พิพากษา ต้อง กัน มา นั้น ต้องด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกาของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ทุก ข้อ ”
พิพากษายืน