คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้จำเลยที่1ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนการกระทำดังกล่าวแม้จะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86แต่มาตรา94แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวก็บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดฉะนั้นการได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์จึงไม่เสียเปล่าทั้งหมดยังมีผลตามกฎหมายอยู่ จำเลยที่3รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่2โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตการที่โจทก์มอบให้จำเลยที่1เป็นตัวแทนลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนตนเป็นเวลานานจนจำเลยที่1ไปขอออกใบแทนโฉนดแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่2และจำเลยที่2นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ต่อธนาคารจนธนาคารเร่งรัดหนี้และต่อมาจำเลยที่2ได้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่1ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโจทก์จึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยที่1และที่2ซึ่งเสมือนเป็นตัวแทนของโจทก์และได้ขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่1และที่2เป็นตัวแทนของโจทก์ได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา806

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกัน โดย เรียกนาย ทอง สุริยบูรพกูล เป็น โจทก์ นาย สมฤทธิ์หรือสัมฤทธิ์ สุริยบูรพกูล เป็น จำเลย ที่ 1 นางสาว สมจิตต์ หรือมณฑนา บุญศศิวิมล เป็น จำเลย ที่ 2 และ นาย พงษ์ศักดิ์ ตามธีรนนท์ เป็น จำเลย ที่ 3
สำนวน แรก โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 769 จำเลย ที่ 1 บิดา ของ จำเลย ที่ 2ได้ ปลูก เพิง 1 หลัง ใน ที่ดิน ของ โจทก์ โดย ไม่มี สิทธิ ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง รื้อถอน เพิง เก็บ สินค้า พร้อม ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ห้าม จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้องใน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ20,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และ ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท
จำเลย ที่ 1 สำนวน แรก ให้การ ว่า ที่ดินพิพาท ไม่ใช่ ของ โจทก์แต่ เป็น ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น คนต่างด้าว แต่ ให้ จำเลย ที่ 2ลงชื่อ แทน แล้ว ต่อมา จำเลย ที่ 2 และ โจทก์ ฉ้อฉล จำเลย ที่ 1 โดย โอนที่ดินพิพาท เป็น ของ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาทโดยชอบ ด้วย กฎหมาย และ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย ที่ 1 ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 2ศาลชั้นต้น อนุญาต และ จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 2
สำนวน หลัง โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น คนต่างด้าวได้ ซื้อ ที่ดินพิพาท โดย ให้ ลงชื่อ จำเลย ที่ 1 ถือ กรรมสิทธิ์ แทน ต่อมาจำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ฉ้อฉล โอน ที่ดินพิพาท เป็น ของ จำเลย ที่ 3 ขอให้เพิกถอน การ จดทะเบียน ทั้งหมด ของ ที่ดินพิพาท และ ให้ จำเลย ที่ 1จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท คืน แก่ โจทก์ มิฉะนั้น ได้ ถือเอาคำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สาม
จำเลย ที่ 1 สำนวน หลัง ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณาและ ต่อมา จำเลย ที่ 1 ถูก ฟ้อง เป็น คดีล้มละลาย ถูก ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้ ยื่น คำร้องขอ ให้ศาลชั้นต้น จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 1 ศาลชั้นต้น จำหน่ายคดี เฉพาะจำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 2 สำนวน หลัง ให้การ ว่า โจทก์ เป็น คนต่างด้าว ไม่มี สิทธิซื้อ ที่ดิน โจทก์ ไม่เคย ครอบครอง ที่ดินพิพาท จำเลย ที่ 2 ซื้อ ที่ดินจาก จำเลย ที่ 1 โดยสุจริต และ โอน ขาย แก่ จำเลย ที่ 3 โดยสุจริตขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 สำนวน หลัง ให้การ ว่า ได้ ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก จำเลยที่ 2 โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน กับ จดทะเบียน การ โอน โดยสุจริตขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 (จำเลย ทั้ง สอง ในสำนวน แรก ) รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง พร้อม กับ ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออก ไป จาก ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 3 (โจทก์ ใน สำนวน แรก ) คือ โฉนด ที่ดินเลขที่ 769 ให้ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่จำเลย ที่ 3 เดือน ละ 15,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา ให้ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทน จำเลย ที่ 3 โดย กำหนด ค่า ทนายความ เป็น เงิน 2,000 บาท คำขอ ของจำเลย ที่ 3 ใน สำนวน คดี แรก นอกจาก นี้ ให้ยก และ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ใน สำนวน หลัง
โจทก์ อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ถึงแก่กรรม นาย สมศักดิ์ สุริยบูรพกูล ทายาท ของ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ใน สำนวน คดี แรก และพิพากษากลับ สำนวน คดี หลัง ให้ เพิกถอน นิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาททั้งหมด ระหว่าง จำเลย ทั้ง สาม
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่าการ ได้ มา ซึ่ง ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ฝ่าฝืน ต่อ ประมวลกฎหมายที่ดิน ตกเป็นโมฆะ การ ที่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 ลงชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท แทน จึง เกิดขึ้น ไม่ได้ เห็นว่า การกระทำ ดังกล่าว แม้ จะ ตกเป็น โมฆะตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 แต่ มาตรา 94 แห่ง ประมวล กฎหมายดังกล่าว บัญญัติ ให้ คนต่างด้าว จัดการ จำหน่าย ที่ดิน ภายใน เวลา ที่อธิบดี กรมที่ดิน กำหนด ฉะนั้น การ ได้ มา ซึ่ง ที่ดิน ของ โจทก์ จึงไม่เสีย เปล่า ทั้งหมด ยัง มีผล ตาม กฎหมาย อยู่ ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริงว่า จำเลย ที่ 3 รับโอน ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 2 โดยสุจริตเสีย ค่าตอบแทน และ จดทะเบียน โดยสุจริต การ ที่ โจทก์ มอบ ให้ จำเลย ที่ 1เป็น ตัวแทน ลงชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท แทน ตน เป็น เวลา นานจน จำเลย ที่ 1 ไป ขอ ออก ใบแทน โฉนด แล้ว โอน กรรมสิทธิ์ ให้ จำเลย ที่ 2และ จำเลย ที่ 2 นำ ที่ดินพิพาท ไป จดทะเบียน จำนอง ประกันหนี้ ต่อธนาคาร กรุงเทพ จำกัด จน ธนาคาร เร่งรัด หนี้ และ ต่อมา จำเลย ที่ 2ได้ โอน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ที่ 3 การกระทำ ของ โจทก์ ดังกล่าว เป็นเรื่อง ตัวการ ไม่เปิดเผย ชื่อ ยอม ให้ จำเลย ที่ 1 ผู้เป็น ตัวแทน ทำการออก นอก หน้า เป็น ตัวการ ว่า เป็น ผู้ มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท โจทก์จึง หา อาจ ทำให้ เสื่อมเสีย ถึง สิทธิ ของ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอกที่ มี ต่อ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ซึ่ง เสมือน เป็น ตัวแทน ของ โจทก์ และได้ ขวนขวาย ได้ สิทธิ มา ก่อน ที่ จะ รู้ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น ตัวแทนของ โจทก์ ได้ไม่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 โจทก์ จึงไม่มี สิทธิ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดินพิพาท ได้
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำนวน หลัง ให้ โจทก์ (หรือ จำเลย ที่ 1ใน สำนวน คดี แรก ) รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง พร้อม กับ ขนย้าย ทรัพย์สิน และบริวาร ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ใช้ ค่าเสียหาย แก่ จำเลย ที่ 3(หรือ โจทก์ ใน สำนวน คดี แรก ) เดือน ละ 15,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา คำขอ ของ จำเลย ที่ 3 นอกจาก นี้ ให้ยก

Share